22/11/2024

เชียงใหม่-รมช.ศธ.ลงพื้นที่ ตรวจเยี่ยมการขับเคลื่อนการศึกษา “โครงการวิทยาศาสตร์พลังสิบ” ภาคเหนือตอนบน

เชียงใหม่-รมช.ศธ.ลงพื้นที่ ตรวจเยี่ยมการขับเคลื่อนการศึกษา “โครงการวิทยาศาสตร์พลังสิบ” ภาคเหนือตอนบน

 

วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2565 คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมช.ศธ.) เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุมขับเคลื่อนโรงเรียนเครือข่ายในโครงการวิทยาศาสตร์พลังสิบ ภาคเหนือตอนบน โดย สำนักบริหารงานความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่ ในการนี้ นายวรญาณ บุญณราช รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวต้อนรับ ดร.ภูริวรรษ คำอ้ายกาวิน ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวรายงาน ผู้บริหารระดับเขตพื้นที่การศึกษา ผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ครู นักเรียน ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจากโรงเรียนโครงการวิทยาศาสตร์พลังสิบ เครือข่ายภาคเหนือตอนบน และท่านที่รับชมผ่านการถ่ายทอดสด ณ หอประชุมอาคารศูนย์วิทยบริการดารารัศมี โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย

ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า การนิเทศติดตามเชิงประจักษ์ และตรวจเยี่ยมเพื่อให้เห็นสภาพจริงของการขับเคลื่อนการศึกษาโครงการวิทยาศาสตร์พลังสิบ กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานที่ขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานของประเทศไทย โดยมีเป้าหมายที่จะพัฒนา ส่งเสริม และสนับสนุนการจัดการศึกษาให้ประชากรวัยเรียนทุกคน ได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพ โดยเน้นการพัฒนาผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อให้ผู้เรียน มีความรู้ มีคุณธรรมจริยธรรม มีความสามารถตามมาตรฐาน

 

การศึกษาขั้นพื้นฐานและการพัฒนาสู่คุณภาพระดับสากล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อีกทั้งยังมุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะตามเป้าหมายของการศึกษาและการพัฒนาทักษะสำหรับปี 2030 (The Future of Education
and Skills 2030) ตามที่กลุ่มประเทศ OECD ได้กำหนดไว้เพื่อมุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะแห่งศตวรรษที่ 21 ในทุกมิติ ทั้งด้านความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skils) และเจตคติและคุณค่า (Attitudes and Values) สิ่งเหล่านี้เป็นวิธีการสำคัญที่ช่วยสนับสนุนการพัฒนาการศึกษาอย่างยั่งยืนและสร้างความผาสุกระดับบุคคลและสังคม
ทั้งนี้การขับเคลื่อนและดำเนินการเพื่อให้บรรลุวัถุประสงค์และเป้าหมายดังกล่าวของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของการพัฒนาคุณภาพวิทยาศาสตร์ศึกษา

เพื่อสร้างกำลังคนคุณภาพที่มีสมรรถนะทางด้านวิทยาศาสตร์ทั่วไปและระดับสูงจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาและยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีทั้งระบบ โดยพัฒนาหลักสูตร กิจกรรมการเรียนรู้ พัฒนาครูสนับสนุนอุปกรณ์เครื่องมือและห้องปฏิบัติการ ให้กับโรงเรียนในโครงการเพื่อให้นักเรียนทุกพื้นที่ของประเทศไทยมีโอกาสการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีที่เน้น การปฏิบัติจริงเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวัน มีโอกาสใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ที่การทดลองและ

ห้องปฏิบัติการที่ทันสมัยเหมาะสมกับกระบวนการเรียนรู้ตามหลักสูตรวิทยาศาสตร์พลังสิบที่เน้นการพัฒนาทักษะและสมรรถนะทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี เน้นการเรียนรู้ฐานสมรรถะและการใช้วิธีการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อสร้างโอกาสการเรียนรู้ให้นักเรียนทุก
คนสามารถพัฒนาตนเองด้วยการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างมีความสุข เกิดสมรรถะที่สำคัญในการใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เชื่อมโยงแก้ปัญหา พัฒนาคุณภาพชีวิต สร้างคุณค่าให้กับตนเองและสังคมต่อไป

สำหรับการเยี่ยมชมนิทรรศการความพร้อมในการขับเคลื่อนโครงการวิทยาศาสตร์พลังสิบ ผลงานนักเรียน ในวันนี้ ทำให้ เห็น ถึงความมีจิตสาธารณะ ของเด็ก ที่ตั้งใจนำความรู้ ด้านวิทยาศาสตร์ มาแก้ปัญหา ของชุมชน เป็น กิจกรรม ที่กระตุ้นให้คนไทยเห็นการขับเคลื่อน การเรียนรู้ ในอนาคต ที่คาดเดาไม่ได้ จึงขอชื่นชม ทุกภาค ส่วน ที่ร่วมมือกันเตรียม กำลัง คนเพื่ออยู่ในศตวรรษ ที่ 21 อย่างภาคภูมิใจ

ดร.ภูริวรรษ คำอ้ายกาวิน ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวว่า ตามที่ คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 เห็นชอบให้กระทรวงศึกษาธิการโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานดำเนินโครงการวิทยาศาสตร์พลังสิบ เพื่อพัฒนาส่งเสริมศักยภาพผู้เรียน และสร้างโอกาสทางการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์
คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีให้กับผู้เรียนในทุกพื้นที่ โดยความร่วมมือระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ร่วมกันขับเคลื่อนโครงการวิทยาศาสตร์พลังสิบในทุกมิติ ทั้งด้านหลักสูตร กิจกรรมการเรียนรู้ การพัฒนาผู้บริหาร ครู นักเรียน และการสนับสนุนอุปกรณ์เครื่องมือต่าง ๆ ให้กับโรงเรียนในโครงการ เพื่อให้นักเรียนทุกพื้นที่ของประเทศไทยได้มีโอกาสการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีที่เน้นการปฏิบัติจริงเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวัน มีโอกาสใช้เครื่องมืออุปกรณ์ในการทดลองและห้องปฏิบัติการที่ทันสมัยเหมาะสมกับกระบวนการเรียนรู้ตามหลักสูตรวิทยาศาสตร์พลังสิบที่ เน้นการพัฒนาทักษะและสมรรถนะทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี

ดังนั้น เพื่อให้การขับเคลื่อนโครงการวิทยาศาสตร์พลังสิบเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและบรรลุตามเป้าหมาย จึงได้มีการขับเคลื่อนการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ศึกษา โครงการวิทยาศาสตร์พลังสิบ เพื่อสร้างโอกาสการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ทุกพื้นที่อย่างเท่าเทียมด้วยการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แนวใหม่ โดยกำหนดลงพื้นที่โรงเรียนในกลุ่มจังหวัดเชียงใหม่และเครือข่ายภาคเหนือตอนบน โดยมีผู้เข้าร่วมงาน ประกอบไปด้วยผู้บริหารระดับสูงของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ครู นักเรียน ผู้ปกครอง
และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจากโรงเรียนโครงการวิทยาศาสตร์พลังสิบในจังหวัดเชียงใหม่และเครือข่ายภาคเหนือตอนบน จำนวนทั้งสิ้น 540 คน

ทั้งนี้ได้ดำเนินการถ่ายทอดสดผ่านทางระบบออนไลน์ให้กับผู้บริหรสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้บริหารสถนศึกษา คณะกรรมการสถนศึกษาชั้นพื้นฐานและผู้รับผิดชอบโครงการได้รับชมพร้อมกันทั่วประเทศ เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการวิทยาศาสตร์พลังสิบ นำไปสู่การเตรียมความพร้อม และวางแผนการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนในโครงการวิทยาศาสตร์พลังสิบได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ต่อไป

นายพูลศักดิ์ จิตสว่าง ผู้อำนวยการโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย กล่าวว่าในนามโรงเรียนแม่ข่ายและโรงเรียนศูนย์ในโครงการวิทยาศาสตร์พลังสิบ เครือข่ายภาคเหนือตอนบน ขอขอบพระคุณ ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นอย่างสูงที่กรุณามาเป็นประธานและมอบนโยบายในการประชุมขับเคลื่อนโรงเรียนเครือข่ายในโครงการวิทยาศาสตร์พลังสิบ ภาคเหนือตอนบนในครั้งนี้
การขับเคลื่อนรูปแบบการจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นการพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีที่บูรณาการองค์ความรู้ไปสู่แนวทาง STEAM Education นับเป็นนโยบายสำคัญที่จะส่งเสริมการพัฒนาผู้เรียนให้เกิดทักษะการคิด การสร้างสรรค์และการแก้ไขปัญหา อันจะนำไปสู่การพัฒนานวัตกรรมในอนาคต

ซึ่งโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย มีนโยบายในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางดังกล่าวมโดยตลอด ส่งผลให้ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ในฐานะศูนย์ทางวิชาการจำนวนหลายโครงการ เช่น ศูนย์ พสวท. และ พสวท. สู่ความเป็นเลิศแม่ข่ายโรงเรียนในโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมศูนย์ สอวน. คอมพิวเตอร์ ศูนย์สะเต็มศึกษาภาคเหนือตอนบน หรือโรงเรียนศูนย์โครงการ English Program และ International Program เป็นต้น ด้วยบทบาทสำคัญในการทำหน้าที่ศูนย์วิชาการด้านต่าง ๆ ดังกล่าว ทำให้ในห้วงที่ผ่านมาโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย

จึงมีโอกาสในขับเคลื่อนการพัฒนาร่วมกับโรงเรียน สถาบันการศึกษาและหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในรูปแบบของเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ อาทิ เครือข่ายโรงเรียนในโครงการพิเศษด้านต่าง ๆ โรงเรียนเครือข่ายสะเต็มศึกษา หรือกระทั่งเครือข่ายการทำงานด้านสังคมศาสตร์ ภาษาศาสตร์และศิลปศาสตร์อีกด้วย โดยโรงเรียนเป็นแกนนำในการจัดกิจกรรมทางวิซาการร่วมกับโรงเรียนเครือข่ายเป็นประจำทุกปี เช่น การจัดงาน Thailand STEM Festival การจัดงาน National STEM Forum และงานประชุมวิชาการสำหรับโรงเรียนในโครงการห้องเรียนพิเศษต่าง 1 ซึ่งเป็นเครือข่ายการทำงานทั้งในระดับภูมิภาค ระดับประเทศจนถึงระดับนานาชาติ

 

สำหรับการจัดงานประชุมในครั้งนี้ โรงเรียนยุพราชวิทยาลัยได้รับความไว้วางใจให้ทำหน้าที่โรงเรียนศูนย์วิทยาศาสตร์พลังสิบประจำจังหวัดเชียงใหม่ และโรงเรียนแม่ข่าย ในเครือข่ายภาคเหนือตอนบน ซึ่งโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยมีความมุ่งมั่นที่จะนำประสบการณ์ในการขับเคลื่อนเครือข่ายทางวิชาการที่ดำเนินการมาอย่างยาวนานมาปรับใช้เพื่อทำงานร่วมกับโรงเรียนศูนย์และโรงเรียนเครือข่ายในโครงการวิทยาศาสตร์พลังสิบให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโครงการต่อไป

การที่โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย มีโอกาสขับเคลื่อนการทำงานในลักษณะดังกล่าว ส่งผลให้เกิดการพัฒนาคุณภาพการศึกษาทั้งในระดับโรงเรียน ระดับภูมิภาคและส่งผลต่อภาพรวมของระดับประเทศอีกด้วย ดังจะเห็นได้ว่านักเรียนของโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง นักเรียนมีผลการทดสอบระดับชาติสูงกว่าค่าเฉลี่ยในระดับประเทศจำนวนนักเรียนที่ผ่านการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในระบบโควต้า สูงที่สุดในภาคเหนือ เป็นอาทิ จนทำให้ถูกจัดเป็นโรงเรียนแข่งขันสูงและเป็นโรงเรียนที่มีคุณภาพสูงในระดับโรงเรียนชั้นนำของประเทศ

พัฒนชัย/เชียงใหม่

ข่าวที่น่าติดตาม