ภาพยนตร์เรื่องแรกของ ส.ป.ก. “แผ่นดินทอง เพื่อผองไทย”
ภาพยนตร์เรื่องแรกของ ส.ป.ก. “แผ่นดินทอง เพื่อผองไทย”
การปฏิรูปที่ดินนั้น หากเราได้ศึกษาประว้ติความเป็นมา เราจะพบว่า…การปฏิรูปที่ดิน เป็นกลยุทธทางเศรษฐกิจ การเมือง ในการปกครองประเทศซึ่งได้ถูกนำมาใช้ตั้งแต่สมัยโบราณ เป็นการจัดสรรระบบการถือครองกรรมสิทธิ์ในที่ดินแบบประนีประนอม และมิได้มีการดำเนินการอย่างจริงจังมากนัก ดังนั้น วิธีการปฏิรูปที่ดิน จึงเป็นแต่เพียงมาตราการที่ช่วยเหลือผ่อนปรนความกดดัน ทางการเมือง และช่วยให้ผู้ปกครองประเทศ ได้รับการสนับสนุนแนวคิดเกี่ยวกับการปฏิรูปที่ดินในประเทศไทย โดยปรากฏหลักฐานตั้งแต่ หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในปี 2476 นายปรีดี พนมยงค์ ได้เสนอแนวคิด ในการจัดระบบการถือครองที่ดิน โดยให้รัฐบาลซื้อที่ดินจากประชาชน ที่ต้องการขาย แลัวนำมาพัฒนาทำคูทำคันนา จัดทำเป็นที่ดินประกอบ การเกษตรของรัฐ เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนา และมีการใช้วิชาการสมัยใหม่ จากนั้นให้ราษฎร มาเป็นลูกจ้าง ประกอบการเกษตร ของรัฐบาล แต่แนวคิดนี้ถูกคัดค้านเป็นอย่างมาก ต่อมา มีการเรียกร้องให้รัฐบาล แก้ไขปัญหาที่ทำกินจากบุคคลหลายกลุ่ม
มีทั้งข้าราชการ นักการเมือง ชาวไร่ ชาวนา ดร.ไชยยงค์ ชูชาติ ซึ่งเป็นรองอธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน ได้ศึกษาปัญหาการถือครองที่ดิน และจัดรูปที่ดิน เพื่อพิจารณากำหนดเป็นนโยบายของรัฐบาล ซึ่งการเคลื่อนไหวในครั้งนั้น ทำให้รัฐบาลสนใจปัญหาที่ดินทำกิน ของเกษตรกรผู้ยากจน และมีการจัดตั้ง กองทุนเพื่อจัดหาที่ดินให้เกษตรกร เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2513 เพื่อใช้ในการจัดหาที่ดินแปลงใหญ่ที่เหมาะสม มาจัดสรรให้เกษตรกร ผ่อนส่ง ภายในระยะเวลา 15 – 20 ปี โดยคิดดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 10 ต่อปี และยังได้แต่งตั้งคณะทำงาน เพื่อพิจารณาเรื่องการปฏิรูปที่ดินด้วย ภายหลังปี พ.ศ.2516 ในช่วงที่แรงผลักดันทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น ชาวนา ชาวไร่ นัดชุมนุมกันหลายครั้ง เพื่อเรียกร้องขอความข่วยเหลือจากรัฐบาล เนื่องจากความเดือดร้อนไม่มีที่ดินทำกิน รัฐบาลในขณะนั้น โดย ฯพณฯ สัญญา ธรรมศักดิ์ นายกรัฐมนตรี ได้ตัดสินใจแก้ไขปัญหา โดยวิธีการปฏิรูปที่ดิน และได้เสนอร่างพระราชบัญญัติ การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ จนประกาศใช้บังคับเป็นกฎหมายเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2518 ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2517 มาตรา 81 ความว่า “ให้รัฐพึงส่งเสริมให้เกษตรกรมีกรรมสิทธิ์ และสิทธิในที่ดิน เพื่อประกอบเกษตรกรรมอย่างทั่วถึง โดยการปฏิรูปที่ดิน และวิธีการอื่นๆ
ทั้งนี้ มีผู้เแสดงในภาพยนตร์เรื่องนี้ทั้งจากหน่วยงานส.ป.ก.และดารานักแสดงมากมาย อาทิ – นายสรพงศ์ ชาตรี – นางสาวเหมือนฝัน บัณฑิตสกุล
– นายสมุย ไกรสุข
– นายเอนก อินทร์เมือง
– รศ.ดร.สุรพร เสี้ยนสลาย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
– นายธนู มีแสงเงิน อดีตผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อดีตรองเลขาธิการ ส.ป.ก. และอดีตปฏิรูปที่ดินจังหวัดสระบุรี
– นาย พีระเดช โรจนะสิริ อดีตปฏิรู
ปที่ดินจังหวัดสระบุรี
– นางขวัญตา บุญเชิด นักวิชาการเผยแพร่ 6 ว ฝ่ายเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ สำนักเลขานุการกรม ผู้เขียนบทภาพยนตร์
– นายไพน้อย แซ่เตียว อดีตนักวิชาการช่างศิลป์ 6 อดีตปฏิรูปที่ดินจังหวัดเพชรบุรีและอดีตปฏิรูปที่ดินจังหวัดเชียงใหม่
– นายมานิต เอี่ยมสกุล อดีตเจ้าพนักงานโสตทัศนศึกษา 5
-นายธีระ สิทธิธรรม อดีตเจ้าหน้าที่โสตทัศนศึกษา 5
คณะผู้ประสานงานการถ่ายทำภาพยนตร์
– นายเสรี ทองรื่น
อดีตหัวหน้าฝ่ายเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ สำนักเลขานุการกรม อดีตปฏิรูปที่ดินจังหวัดเพชรบุรี
ผู้อำนวยการผลิต
– นายสุทิน มูลพฤกษ์ อดีตรองเลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ที่ปรึกษาคณะกรรมการประชาสัมพันธ์
– สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม(ส.ป.ก.) ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์
และความทรงจำที่มิอาจมองข้ามคุณความดี และความมีมิตรไมตรีของคุณสรพงศ์ ชาตรี ดาราอาวุโส ศิลปินแห่งชาติ ซึ่งเป็นบุคคลผู้เป็นที่เคารพรักของทุกคนทั้งในวงการและนอกวงการบันเทิง คุณสรพงษ์ ชาตรี บ้านเกิดของท่านอยู่ตำบลบ้านใหม่ อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นลูกศิษย์วัดสุวรรณาราม วัดเดียวกับคุณเสรี ทองรื่น คบหาเป็นเพื่อนสนิทมาตั้งแต่วัยเยาว์
ตอนที่คุณเสรี ทองรื่น เป็นหัวหน้าฝ่ายเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ สำนักเลขานุการกรม ส.ป.ก. ท่านมีแนวทางและความตั้งใจจัดทำสารคดีเชิงละคร เรื่อง”แผ่นดินทองเพื่อผองไทย ” ได้ติดต่อเชิญชวน คุณสรพงษ์ ชาตรี ดารานักแสดงชื่อดังในขณะนั้น มาเป็นพระเอก เชิญชวนคุณเหมือนฝัน บัณฑิตสกุล มาเป็นนางเอก และคุณธนู มีแสงเงิน คุณสุรพร เสี้ยนสลาย ได้รับการทาบทามมาร่วมแสดงนำด้วย
สำหรับการถ่ายทำ ใช้สถานที่แสดงถึงความเป็นอยู่ของชาวบ้านฐานะยากจน พื้นที่แห้งแล้ง ในอำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี เป็นหลัก การบันทึกเทปสารคดี เป็นไปด้วยความเรียบร้อยบริบูรณ์
การเผยแพร่ ผ่าน สถานีโทรทัศน์ช่องต่างๆ และเผยแพร่ในโอกาสสำคัญของ ส.ป.ก. เพื่อให้ความรู้ สร้างความเข้าใจ ภารกิจงานของ ส.ป.ก.ในแง่มุมหนึ่ง และสร้างสัมพันธ์อันดีกับกลุ่มเป้าหมาย อันถือได้ว่าประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง
โอกาสนี้ ขอให้ดวงวิญญาณ คุณ สรพงษ์ ชาตรี สู่สุคติในสัมปรายภพที่ดี ตลอดไป….