22/11/2024

ประเทศไทย – การค้าและบริโภคสัตว์ป่าผิดกฎหมายสร้างความเสี่ยงในการแพร่โรคระบาด

ประเทศไทย – การค้าและบริโภคสัตว์ป่าผิดกฎหมายสร้างความเสี่ยงในการแพร่โรคระบาด

ประเทศไทยออกนโยบายการจัดการปัญหาการลักลอบและบริโคภสัตว์ป่าผิดกฎหมาย ซึ่งการลักลอบสัตว์ป่านั้นเป็นการนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านด้วย โดยที่สัตว์ป่านั้นสามารถแพร่เชื้อโรคทำให้เกิดโรคระบาดได้ นายรัฐพล พิทักษ์เทพสมบัติ จาก UNDP กล่าวว่าสัตว์ป่าทำให้เกิดการติดต่อของเชื้อโรคได้ โดยเชื้อโรคนั้นสามารถแพร่จากสัตว์สู่คนได้ และได้กล่าวเตือนอีกว่าจะทำให้เกิดผลเสียหายอย่างรุนแรง ส่วนผลการสำรวจของ ดร.เพชร มโนปวิตร จากสมาคมสัตววิทยาแห่งลอนดอน (ZSL) นั้นทำให้ทราบว่าคนไทยโดยเฉพาะที่อาศัยอยู่ในเขตเมือง และอายุระหว่าง 18-30 ปีนั้นชอบลองกินเนื้อสัตว์ป่า และได้กล่าวเพิ่มเติมว่าได้เปิดตัวโครงการรณรงค์ที่ชื่อว่า “กินกอดโลก” เพื่อส่งเสริมการบริโภคอย่างยั่งยืนและเพื่อให้ประชาชนทราบถึงต้นเหตุของการเกิดโรคระบาด

ดร.กณิตา อุ่ยถาวร ผู้อำนวยการศูนย์นิติวิทยาศาสตร์สัตว์ป่า กรุงเทพ ประเทศไทย บอกนักข่าวว่า “ภารกิจของเรานะคะก็คือการตรวจพบพันธุกรรมของสัตว์ป่านะคะ ในกรณีที่ของกลาง [สัตว์ป่า] ที่เข้ามาแล้วไม่สามารถตรวจสอบชนิดพันธุ์จากดูรูปร่างภายนอกหรือสัณฐานวิทยาได้เนี่ย เราจะมีการนำเข้ามาตรวจสอบดีเอ็นเอเพื่อให้ทราบว่าเป็นชนิดพันธุ์ใด เมื่อเราทราบว่าเป็นชนิดพันธุ์ใดแล้วเนี่ย เราก็จะมาดูว่ามันเป็นชนิดพันธุ์ที่ผิดกฎหมายไหม เป็นสัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครองตาม พรบ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าหรือไม่ค่ะ ถ้ามันผิดก็ถือว่านำผลนี้ไปใช้ในการบังคับใช้ทางกฎหมายในการสอบสวนหรือนำสู่ชั้นศาลต่อไป”

นายประเสริฐ สอนสถาพรกุล ผู้อำนวยการกองคุ้มครองพันธุ์สัตว์ป่าและพืชป่าตามอนุสัญญา กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช บอกว่า “ก็ต้องยอมรับนะครับว่าเรื่องการลักลอบค้าสัตว์ป่ามันเกิดขึ้นทั้งในระดับประเทศและระดับต่างประเทศ เราให้ความสำคัญของการให้ประสิทธิภาพในของการปฏิบัตงานด้านการป้องกันและปราบปรามการลักลอบค้าสัตว์ป่านะครับ ซึ่งมันเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน เช่น กรมศุลกากร สำนักงานแห่งชาตินะครับ ที่เราทำงานประสานร่วมมือกันนะครับ มีหลายกรณี อาจจะมีลักลอบค้าจากประเทศเพื่อนบ้านมาส่งประเทศไทย หรืออาจจะส่งไปประเทศที่สาม แต่ผ่านประเทศไทย ก็มีหลายกรณี เพราะว่าเรามีด่านตรวจสัตว์ป่าทั่วประเทศที่ดูแลกำกับเรื่องนี้อยู่ ซึ่งที่ผ่านมาเราก็ค้นเจอหลาย ๆ คดี เช่น คดีลิ่น นก สัตว์เลื้อยคลานต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เป็นการซ่อนลักลอบเข้ามา แล้วก็ในกรณีที่เป็นทางผ่าน ตัวอย่างเช่นส่งจากประเทศต้นทางเพื่อส่งประเทศอื่น เช่น จีน ก็เข้ามาผ่านประเทศไทย ด้วยเหตุผลในการเดินทาง เพราะว่าการลักลอบเนี่ย เขาก็จะพยายามทำซิกแซกให้มากที่สุดเพื่อหลบเลี่ยงการตรวจสอบ”

นายรัฐพล พิทักษ์เทพสมบัติ ผู้จักการโครงการ – การค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมาย สำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) บอกว่า “ข้อตกลงนานาชาติหรืออนุสัญญาการค้าสัตว์ป่า มีข้อกังวลเรื่องพวกนี้อยู่แล้วว่าการที่จะนำเข้าส่งออกหรือค้าขายสัตว์ป่า สัตว์เหล่านั้นต้องได้รับการพิสูจน์ในทางวิทยาศาสตร์และทางสุขภาพ เพราะฉะนั้นแน่นอนถ้าเป็นเรื่องของการลักลอบค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมายไม่ต้องพูดถึงเรื่องของการพิสูจน์พวกนี้ แล้วบางอย่างเนี่ยเวลาลักลอบพวกนี้เองเขาก็การขนย้ายการจัดการมันมีโอกาสที่เชื้อจะกระจาย แล้วเชื้อไวรัสเหล่านี้เวลาเข้ามาสู่ โฮสต์โดยตรงทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่าการก้าวกระโดดหรือการก้าวข้ามจะสัตว์โดยตรงมาถึงมนุษย์เลย แล้วมันทำให้ภาวะการณ์มันรุนแรงระบาด มีความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของคน ก็จากข้อมูลนะครับถ้างาช้างก็แน่นอนจีน เวียดนาม ถ้าเป็นสัตว์ป่าที่บริโภคก็จีนอีกเช่นกัน เวียดนาม ลาว ก็อาจจะไปทางยุโรปบ้าง ซึ่งก็จะเป็นพวกงาช้าง ซึ่งมีความเชื่อว่างาช้างเป็นสิ่งที่มีคุณค่าจะไม่ได้ดูว่าแหล่งมันมาจากไหน”


ดร.เพชร มโนปวิตร ที่ปรึกษา สมาคมสัตววิทยาแห่งลอนดอน (ZSL) เพิ่มว่า “ผลการสำรวจที่ที่น่าตกใจนะครับที่เราพบก็คือว่าคนไทยโดยเฉพาะคนไทยที่อาศัยในเขตเมืองเนี่ยแล้วก็กลุ่มคนที่อายุไม่เยอะนะครับ 18 ถึง 30 ปีเนี่ย ซึ่งก็ถือว่าเป็นคนรุ่นใหม่ มีค่านิยมที่ยังอยากที่จะลองบริโภคเนื้อสัตว์ป่าอยู่ เป็นส่วนหนึ่งของประสบการณ์โดยเฉพาะเวลาที่มีการเดินทางท่องเที่ยวนะครับแล้วก็มีการเฉลิมฉลองอะไรอย่างนี้ เราก็มีการออกแคมเปญนะครับ การรณรงค์ Kind Dining หรือว่ากินกอดโลกเนี่ยนะครับ โดยแนวคิดหลักก็คือส่งเสริมให้มีการบริโภคอย่างยั่งยืนนะครับ แล้วก็ความจริงแล้วเนี่ยเราคิดว่าบันไดขั้นแรกของการบริโภคอย่างยั่งยืนอย่างก็คือการหลีกเลี่ยงบริโภคเนื้อสัตว์ป่าที่ผิดกฎหมาย โดยที่เลือกผู้นำความคิดในแต่ละสาขานะครับที่เราพบจากการสำรวจแล้วก็วิจัยเบื้องต้นว่าจะเป็นคนกลุ่มคนที่สามารถส่งสารได้ดีนะครับ ออกมาให้ข้อมูลการบริโภคสัตว์ป่าผิดกฎหมายเนี่ยมันมีความเสี่ยงอย่างไรนะครับ แล้วก็คงไม่มีใครอยากที่จะทำให้เกิดความเสี่ยง ทำให้เกิดโรคระบาด”

ที่มา A24 News Agency

ข่าวที่น่าติดตาม