“รมว.เฮ้ง” มอบ “ผู้ช่วยฯ” ต้อนรับ “ทูตแคนนาดา” หารือมาตรการรองรับการจ้างงานจากผลกระทบโควิด-19
“รมว.เฮ้ง” มอบ “ผู้ช่วยฯ” ต้อนรับ “ทูตแคนนาดา” หารือมาตรการรองรับการจ้างงานจากผลกระทบโควิด-19
วันที่ 22 มีนาคม 2565 นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มอบหมายให้ นายสุรชัย ชัยตระกูลทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน ให้การต้อนรับ H.E. Dr. Sarah Taylor เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งแคนาดาประจำประเทศไทยและคณะ ในโอกาสที่เยี่ยมคาราวะรวมถึงหารือผลกระทบของโควิด – 19 ต่อการจ้างงาน รวมถึงแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย โดยเฉพาะแรงงานเมียนมา แผนพัฒนาทักษะให้แก่แรงงานไทยรวมถึงแรงงานตรีภายใต้ยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0 และข้อมูลแรงงานไทยในแคนาดา และแรงงานแคนาดาที่ทำงานอยู่ในประเทศไทย โดยมีพลอากาศตรี เฟื่องศักดิ์ เรืองกล ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน ดร.ทองอยู่ คงขันธ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน นางบุปผา พันธุ์เพ็ง รองปลัดกระทรวงแรงงาน และผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงแรงงาน ร่วมให้การต้อนรับ ณ ห้องจัตุมงคล ขั้น 6 อาคารกระทรวงแรงงาน
นายสุรชัย กล่าวว่า กระทรวงแรงงานยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ประเทศไทยและแคนาดา มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันมาอย่างยาวนาน 60 ปี ทั้งนี้ รัฐบาลไทยและกระทรวงแรงงานพร้อมร่วมมือและสนับสนุนการทำงานของท่านเอกอัครราชทูตอย่างเต็มที่ เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ในด้านแรงงานระหว่างประเทศไทยและแคนาดาให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของทั้งสองประเทศ และร่วมมือกันในการฝ่าฟันกับภาวะวิกฤต โควิด – 19 ไปด้วยกัน ซึ่งที่ผ่านมา โควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่อการจ้างงานในประเทศไทย จึงเป็นอีกความท้าทายที่ทางกระทรวงแรงงานต้องดูแล เนื่องจากมีการแพร่ระบาดในกลุ่มแรงงานต่างด้าวจำนวนมาก รัฐบาลจึงมีมาตรการตรวจสอบคัดกรองหาเชื้อโควิด – 19 ในกลุ่มแรงงานดังกล่าวที่ทำงานอยู่ในพื้นที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรค รวมถึงดำเนินการปรับเปลี่ยนระเบียบ นโยบาย มาตรการต่าง ๆ ให้สอดรับกับสถานการณ์อย่างต่อเนื่องตามมติคณะรัฐมนตรี เพื่อบรรเทาปัญหาการขาดแคลนแรงงานต่างด้าว และช่วยเหลือให้แรงงานข้ามชาติโดยเฉพาะกลุ่มแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว เมียนมา) ที่ทำงานในประเทศ แต่ไม่สามารถดำเนินการได้ให้อยู่ในราชอาณาจักรเพื่อทางานได้ต่อไป หรือการผ่อนผันให้ แรงงานข้ามชาติที่มีสถานะไม่ถูกต้องตามกฎหมายให้สามารถอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว เพื่อการทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมายต่อไป พร้อมกับควบคุมป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาด
นายสุรชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับแผนพัฒนาทักษะให้แก่แรงงานไทยรวมถึงแรงงานสตรีภายใต้ยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0 กระทรวงแรงงาน โดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ได้ดำเนินการจัดทาแผนปฏิบัติราชการที่เกี่ยวข้องกับ การพัฒนาทักษะให้แก่แรงงานไทยรวมถึงแรงงานสตรี ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาสมรรถนะแรงงานใหม่ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงานในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจ ยกระดับฝีมือแรงงานสู่แรงงาน 4.0 การพัฒนาศักยภาพคนตลอดชีวิต โครงการฝึกอบรมแรงงานกลุ่มเป้าหมายเฉพาะเพื่อเพิ่มโอกาสในการประกอบอาชีพ กิจกรรมพัฒนาฝีมือแรงงานสตรีเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต นอกจากนี้ยังได้ดำเนินความร่วมมือกับองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization (ILO)) ในการพัฒนาทักษะฝีมือให้แก่แรงงานสตรีอีกด้วย
“กระทรวงแรงงานขอขอบพระคุณท่านเอกอัครราชทูตฯ และคณะ ที่ให้ความสำคัญสนใจหารือ ความร่วมมือกับกระทรวงแรงงานและได้มาเยี่ยมคารวะในวันนี้ โดยนับเป็นสายสัมพันธ์ด้านแรงงานระหว่างประเทศที่ดียิ่ง” นายสุรชัย กล่าวทิ้งท้าย