สตูล ฟาร์มเมล่อนออเดอร์สั่งเพียบ ราคาขายอยู่ที่กิโลกรัมละ 99 บาท หลังทหารพัฒนาฯ นพค.45 พร้อมสนับสนุนเกษตรกรสู่เทคโนโลยี เกษตรแม่นยำ
สตูล ฟาร์มเมล่อนออเดอร์สั่งเพียบ ราคาขายอยู่ที่กิโลกรัมละ 99 บาท หลังทหารพัฒนาฯ นพค.45 พร้อมสนับสนุนเกษตรกรสู่เทคโนโลยี เกษตรแม่นยำ
วันนี้ 28 มีนาคม 2565 ที่บ้านทางงอ บ้านเลขที่ 138 หมู่ที่ 5 ตำบลควนสตอ อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล ที่นี่มีการทำโรงเรือนปลูกเมล่อนและแตงโมปลอดภัยภายในโรงเรือนแบบปิด (เพื่อป้องกันและกำจัดโรคและแมลงด้วยชีวภัณฑ์ซึ่งมีความปลอดสารพิษ 100%) ของฟาร์มเอสแอนด์เจฟาร์ม ของนางจีรนันท์ ยาสิน และ นายสิกชัย ยาสิน วัย 40 ปีสองสามีภรรยาที่ออกจากพนักงานของรัฐ 13 ปีมาทำเกษตรแม่นยำซึ่งเป็นฟาร์มต้นแบบของ “เกษตรแม่นยำ” ที่ทางทหารหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 45 สำนักงานพัฒนาภาค 4 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา จ.สตูลได้คัดเลือกเป็นฟาร์มตัวอย่าง ในการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีไปสู่เกษตรกรรายอื่น เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจรากฐานชุมชนให้มีความเข้มแข็งโดยสร้างศูนย์เรียนรู้ภายในหน่วยฯ และนอกหน่วยให้มีความรู้เท่าทันกับสภาพภูมิศาสตร์สังคมของแต่ละพื้นที่ “ทหารพัฒนาฯ พร้อมเป็นพี่เลี้ยงเกษตรกรสู่ เกษตรแม่นยำ”
นาวาอากาศเอกอาทิตย์ภากร สังขรัตน์ ผู้บังคับหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 45 สำนักงานพัฒนาภาค 4 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา ระบุว่า พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด โดยพล.อ. จีรัชญ์ บุญชญา ผู้บัญชาการหน่วยทหารพัฒนา ได้มอบหมายและให้ความสำคัญในการช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรในการกระตุ้นเศรษฐกิจรากฐานชุมชนให้มีความเข้มแข็ง หลังพบว่าจังหวัดสตูลมีข้อจำกัดในเรื่องของความชื้นเนื่องจากปริมาณน้ำฝนตกชุกไม่สามารถควบคุมปริมาณความชื้นได้ ประกอบกับพื้นที่มีข้อจำกัดในแต่ละครัวเรือน ทำให้หน่วยฯ เล็งเห็นความสำคัญในการส่งเสริมเป็น “เกษตรแม่นยำ” ด้วยการนำเทคโนโลยีใช้ในการสร้าง smart farm ในบ้านตัวเองโดยเลือกผลผลิตที่ไม่ซับซ้อนจนเกินไป ต้นทุนไม่สูงเกินไปอย่าง “เมล่อน” เป็นหนึ่งในผลผลิตที่สามารถสร้างรายได้ภายในครอบครัว ในการสร้างความรู้ต้นแบบขึ้นมาจากหน่วยฯ และขยายออกมาเป็นศูนย์เรียนรู้นอกหน่วยฯ
โดยเข้ามาช่วยเหลือในด้านแหล่งน้ำและการขยายบ่อน้ำให้มีความพอเพียง ในช่วงฤดูแล้ง ควบคู่ไปกับเรื่องของเทคโนโลยีมาควบคุมสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นข้อจำกัด และก็สร้างโรงเรือนปิดเพื่อที่จะพยากรณ์และควบคุมผลผลิตและป้องกันศัตรูพืชได้ ไปพร้อมกับเรื่องต้นทุน และการขาย ซึ่งมีความสำคัญมากกับพี่น้องเกษตรกร หากใช้ต้นทุนสูงโดยไม่สามารถควบคุมข้อจำกัดได้ อาจจะทำให้พี่น้องเกษตรกรอาจจะล้มเลิกระหว่างทางได้ จึงได้เข้ามาส่งเสริมในเรื่องของพื้นฐาน ในเรื่องของน้ำ แสงโดยเทคโนโลยีโดยมีการคัดเลือกเกษตรกรต้นแบบที่มีพื้นฐานความรู้ อย่างเช่นที่นี่ เกษตรกรมีความรู้เรื่องของเกษตรเป็นอย่างดี พบว่าการปลูกเป็นการปลูกเชิงการทำเก็บข้อมูล วิเคราะห์วิจัยคู่ไปกับหน่วยฯ ตรงนี้เป็นความพยายามที่จะสร้างต้นแบบเพื่อที่จะไปส่งเสริมในกลุ่มอาชีพอื่น ในช่วงที่ไม่สามารถทำผลผลิตหลักได้ ก็จะเอาเรื่องของ “เมล่อน” ระบบปิดเข้าไปส่งเสริม ในกลุ่มนั้น ๆ เพื่อให้สามารถ สร้างกลุ่มขยายได้ต่อไป
นิตยา สงมณี // ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดสตูล