เพชรบูรณ์ – เกษตรอำเภอวังโป่ง จัดงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ (Field Day)
เพชรบูรณ์ – เกษตรอำเภอวังโป่ง จัดงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ (Field Day)
ผู้สื่อข่าวรายงาน ที่ ศูนย์เครือข่ายการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ของสวนนายกองสิน วงศา หมู่ที่ ๓ ตำบลซับเปิบ อำเภอวังโป่ง จังหวัดเพชรบูรณ์ นาย สมศักดิ์ เกี้ยวเกิด นายอำเภอวังโป่ง เป็นประธานเปิดงาน วันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ (Field Day) ประจำปี 2565 โดยมี นางสาวบุญญาพร ทิพยบวรกุล เกษตรอำเภอวังโป่ง พร้อมด้วย หัวส่วนราชต่างๆและเกษตรกรในพื้นที่ร่วมงาน จำนวน 30คน โดยมีการตรวจวัดอุณหภูมิ พ่นเจลล่างมือเว้นระยะห่างเพื่อป้องกันโรคโควิด19
จากสถานการณ์การผลิตสินค้าเกษตรในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและมีการแข่งขันค่อนข้างสูง ทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ ในขณะเดียวกันพี่น้องเกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเกษตรรายย่อยมีการผลิต การจำหน่ายสินค้าเกษตรและโอกาสเข้าถึงข้อมูล แหล่งทุน ทรัพยากร รวมทั้งตลาดได้น้อย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงมีความตระหนักและเข้าใจปัญหาที่พี่น้องเกษตรกรเผชิญอยู่ จึงมีนโยบายให้ดำเนินกิจกรรมต่างๆ ผ่านศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) หรือศูนย์เครือข่าย ศพก. ในพื้นที่ ซึ่งเป็นศูนย์ที่มีการสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับสินค้าหลักและเหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่ (Zoning) โดยองค์ประกอบของศูนย์ ได้แก่ เกษตรกรต้นแบบ แปลงเรียนรู้ หลักสูตรการเรียนรู้ และฐานการเรียนรู้
ด้านนางสาวบุญญาพร ทิพยบวรกุล เกษตรอำเภอวังโป่ง กล่าวว่า ในการจัดงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ (Field Day) วันนี้ ที่ ศูนย์เครือข่ายการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ด้านไม้ผลแบบผสมผสาน หมู่ที่ 3 ตำบลซับเปิบ อำเภอวังโป่ง จังหวัดเพชรบูรณ์ เกษตรกรเป้าหมายประกอบด้วย เกษตรกรผู้นำและเกษตรกรที่สนใจ จำนวน 30 คน ซึ่งได้รับการสนับสนุนการจัดงานจากหน่วยงานในพื้นที่และนอกพื้นที่ รวมทั้งเกษตรผู้นำโดยได้กำหนดรูปแบบการจัดงาน 3 ด้าน คือ 1. เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “คุยเฟื่องเรื่องเกษตร” 2. ถ่ายทอดความรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรแบบเห็นจริง ในแต่ละฐานที่จะเรียนรู้มีอยา 4 ฐาน ฐานที่ 1 การปลูกไม้ผลแบบผสมผสาน (การแต่งกิ่ง ดูแลรักษา โรคและแมลง) ฐานที่ 2 การใช้สารชีวภัณฑ์ในการกำจัดโรคและแมลง ฐานที่ 3 การผลิตทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสม (GAP) ฐานที่ 4 การผลิตหนูนาเชิงพาณิชย์
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ เปิดโอกาสให้เกษตรกรได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเกษตรกรด้วยกัน และเกษตรกรกับเจ้าหน้าที่ เพื่อเตรียมความพร้อมให้เกษตรกรได้วางแผนการผลิตและศึกษาความรู้ เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ในฤดูกาลต่อไป และ นำความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนไปปฏิบัติในไร่นาของตนเอง สู่การลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิต
เดชา มลามาตย์/มนสิชา คล้ายแก้ว