24/11/2024

ขอนแก่น-นศ. มข. มีเฮ “Smart Campus” มุ่งสู่คาร์บอนต่ำมาแน่นอน

กฟผ. ร่วมกับ มข. ลงนาม MOA “โครงการ Smart Campus – Khon Kaen University” ร่วมยกระดับสู่มหาวิทยาลัยแห่งพลังงานสะอาดด้วยระบบอัจฉริยะ ส่งเสริมแหล่งการพัฒนาระบบ Smart Energy Solutions ต่อยอดรูปแบบธุรกิจเกี่ยวเนื่องทางไฟฟ้าใหม่ๆ ในอนาคต

 


วันนี้ (21 เมษายน 2565) ดร.จิราพร ศิริคา รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์ เป็นผู้แทนการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ลงนามบันทึกข้อตกลง(MOA) “โครงการ Smart Campus – Khon Kaen University” กับ รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) โดยมี นายสหชาติ พิลาออน ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายปฎิบัติการภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1 นายเกษม ปิดสายะตัง ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงไฟฟ้าน้ำพอง, นายพงศกร เรืองมนตรี ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงไฟฟ้าพลังน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ1 ร่วมในพิธี พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น และ สื่อมวลชน ร่วม ในพิธีดังกล่าว


ดร.จิราพร เปิดเผยว่า จากการที่ กฟผ. และ มข. ประสบความสำเร็จในการร่วมมือกันศึกษา “โครงการวิจัยและพัฒนา ENGY Wall เพื่อใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์” ซึ่ง กฟผ. ได้นำแบตเตอรี่ที่พัฒนาและผลิตโดย มข.มาพัฒนาต่อยอดเป็นระบบกักเก็บพลังงาน หรือ Battery Energy Storage System (BESS) ภายใต้ชื่อENGY Wall ซึ่งเป็น BESS สำหรับใช้ในบ้าน กฟผ. และ มข. จึงได้ร่วมมือต่อยอดจัดทำ “โครงการ Smart Campus –Khon Kaen University” ภายในพื้นที่ มข. เพื่อผลักดันให้เป็นมหาวิทยาลัยที่ใช้พลังงานสะอาด และเป็นสถานที่พัฒนาระบบ Smart Energy Solutions แบบครบวงจร กฟผ.ได้ออกแบบโครงการ Smart Campus มข. ในรูปแบบรัฐกับรัฐ (G2G) ให้บริการบริหารจัดการ ค่าสาธารณูปโภค (ค่าไฟฟ้า) โดยระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนแบบรับประกันผลงาน ประกอบ ไปด้วย 6 ระบบ

ได้แก่ ระบบบริหารจัดการพลังงาน (Energy Management System : EMS) เพื่อบริหารจัดการการใช้พลังงานให้มีการเชื่อมต่อกับระบบกักเก็บพลังงาน ENGY Wall ที่สะสมพลังงานไฟฟ้าไว้ใช้ในเวลาที่ระบบต้องการ สร้างความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการพลังงาน ความมั่นคงให้กับระบบไฟฟ้า ควบคู่กับระบบบริหารจัดการรายอาคาร (ENZY Platform) เพื่อติดตามและควบคุมการใช้พลังงานในอาคารต่าง ๆ โดยเฉพาะอุปกรณ์ระบบปรับอากาศ ที่มีการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) มาควบคุมปรับอุณหภูมิได้ อัตโนมัติพร้อมระบบแจ้งเตือนค่าใช้จ่าย (Demand Charge) เพื่อให้ผู้ใช้ไฟสามารถปรับลดการใช้ไฟฟ้าลงได้ทันทีโดยตั้งเป้าติดตั้งกับอุปกรณ์ระบบปรับอากาศขนาดไม่น้อยกว่า 20,000 บีทียู


อีกทั้ง กฟผ. จะดำเนินการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ (Solar System) ภายในพื้นที่ มข. และระบบกักเก็บพลังงาน (BESS) ในกลุ่มของอาคารกีฬา และหอพักขนาด 1 เมกะวัตต์-ชั่วโมง เพื่อกักเก็บสะสมพลังงานส่วนเกินจากระบบไฟฟ้าที่ผลิตจาก Solar System หรือบางช่วงเวลาที่ความต้องการใช้ไฟฟ้าไม่มีแล้วมาใช้จ่ายไฟในช่วงเวลาที่ต้องการ โดยเพิ่มขีดความสามารถการซื้อขายไฟผ่านระบบการซื้อขายไฟ (Energy Trading Platform: ETP) ในรูปแบบ Peer-Peer ระหว่างคณะ หรืออาคาร ซึ่งเชื่อมต่อระบบไฟฟ้าเดิมของอาคารผ่านอุปกรณ์ Smart Meter ที่มีระบบออกบิลเพื่อติดตามค่าไฟฟ้า มูลค่าการเสนอซื้อขายพลังงานไฟฟ้าในแต่ละช่วงเวลาด้วย


นอกจากนี้ กฟผ. มีแผนติดตั้งอุปกรณ์ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าภายใต้แบรนด์ Wallbox แบบชาร์จปกติ(Normal Charge) และแบบจ่ายไฟฟ้ากลับเข้ามาในระบบไฟฟ้า (V2G) สามารถเก็บเงินจากผู้ที่มาใช้บริการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าผ่านระบบรองรับการจ่ายเงินที่สามารถผ่านระบบออนไลน์ได้ ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุนแผนนโยบาย Net Zero ของ มข. มุ่งสู่ Smart Campus อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยบันทึกข้อตกลงมีระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี กฟผ. และ มข. จะร่วมดำเนินการติดตั้งระบบต่าง ๆ พร้อมสนับสนุนให้บุคลากรของทั้ง 2 หน่วยงานได้เข้าร่วมการศึกษา วิจัย และถ่ายทอดองค์ความรู้ต่อยอดประสบการณ์การพัฒนาระบบ Smart Energy Solutionsเพื่อขับเคลื่อนประเทศสู่ Smart City และสร้างประโยชน์ต่อประเทศร่วมกันต่อไป
ด้าน รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) กล่าวตอบต่อข้อคำถามว่า

ในส่วนของโครงการนี้ในส่วนของมหาวิทยาลัยขอนแก่น จะดำเนินการอย่างไร สรุปได้ว่าจะมีอยู่2ส่วน คือส่วนที่ 1 ในเรื่องแบตเตอรี่ ซึ่งเราต้องพัฒนาร่วมกับ กฟผ. เพื่อนำแบตเตอรี่ ของเราเข้าไปในโครงการของกฟผ. ตามที่ท่านรองผู้ว่าการฯได้กล่าวไปแล้วนั้น ส่วนที่ 2 คือเราจะใช้พลังงานสะอาด เข้ามาเพื่อเป็นพลังงานทดแทน ในมหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งจะทำให้มหาวิทยาลัยขอนแก่น สามารถที่จะทำให้เป็นมหาวิทยาลัยเป็น Smart Campus ตามยุทธศาสตร์ที่จะทำให้มหาวิทยาลัย น่าอยู่น่าทำงาน มหาวิทยาลัยขอนแก่นนั้นเป็นหน่วยงานที่ใช้ไฟฟ้า ค่อนข้างมาก จ่ายค่าไฟปีหนึ่งตก 350 ล้านบาท เพราะฉะนั้นในการที่เราเอาพลังงานทดแทนมาใช้ อีกทั้งเป็นพลังงานสะอาด มีส่วนช่วยในเรื่องของ Net Zero ส่วนปัญหาที่สำคัญของโลกในขณะนี้ จะทำให้ เป็นการตอบสนองเป้าหมายของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต และเป้าหมายของประเทศเพื่อที่จะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์


รศ.นพ.ชาญชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า ส่วนในตอนนี้ ทางมหาวิทยาลัยขอนแก่น จะเริ่มการใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ ประมาณ 9.5 เมกะวัตต์ ซึ่งเป็นมูลค่าของการ ประหยัดการเสียค่าไฟฟ้า ซึ่งไม่น่าจะต่ำกว่า 50 ล้านบาท/ ต่อปี ที่จะมาทดแทน คิดว่า 9.5 เมกะวัตต์ น่าจะเป็นส่วนหนึ่งที่เราใช้ประจำอยู่แล้ว โดยเฉพาะในโรงพยาบาล สำนักงานต่างๆ แต่หากจะมีเหลือในช่วง เวลาที่เราผลิตได้เราก็จะ ขายคืนให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ซึ่งมีระบบที่จัด ในการจ่ายคืนเข้าระบบอยู่แล้ว ตอนนี้เรามีแผนอยู่ไว้มีอยู่ 4 อาคาร ในกลุ่มอาคารที่มีเยอะสุด คือคณะแพทย์ ที่เรามีโรงพยาบาล ติดตั้งที่บริเวณหอพัก อาคารพละ และอาคารสุขภาพกรรมศาสตร์ ซึ่งจะเป็นพลังงานแสงอาทิตย์แบบลอยน้ำ ที่บริเวณบ่อบำบัดของมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดนยังไม่ได้ควบคุมทั้งหมด ระยะแรกที่เราทำไว้ก็ประมาณ 95 เมกะวัตต์.

ข่าวที่น่าติดตาม