เชียงใหม่-งานแนะนำหนังสือ Heritage Drinks of Myanmar โดย Luke Corbin
เชียงใหม่-งานแนะนำหนังสือ Heritage Drinks of Myanmar โดย Luke Corbin
วันที่ 21 เมษายน 2565 เวลา 15.00 น. ที่คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศูนย์ภูมิภาคด้านสังคมศาสตร์และการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Regional Centre for Social Science and Sustainable Development – RCSD) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยได้รับการสนับสนุนจาก Pernod Ricard Asia นาย ลูค เจมส์ คอร์บิน (Luke James Corbin) และสำนักพิมพ์ซิลค์เวอร์ม (Silkworm Books) เป็นเจ้าภาพงานแนะนำหนังสือ Heritage Drinks of Myanmar ที่จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมอันเป็นที่รู้จักกันดีในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อร่วมฉลองให้กับการตีพิมพ์ผลงานวิจัยของผู้เขียนเกี่ยวกับบทบาทของวัฒนธรรมการดื่มที่มีต่อการพัฒนาสังคมท้องถิ่นและประวัติศาสตร์ของเมียนมาร์
จากผลวิจัยที่ดำเนินการใน พ.ศ. 2562 Heritage Drinks of Myanmar ให้รายละเอียดเครื่องดื่มแบบดั้งเดิม 14 ชนิดที่ยังคงผลิตในประเทศที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่น่าสนใจและน่าตื่นตาตื่นใจ ผลงานวิจัยนี้ได้รวบรวมเอาวิธีการเตรียมเครื่องดื่ม พิธีกรรม และความสำคัญทางวัฒนธรรมของเครื่องดื่มเหล่านี้ เครื่องดื่มที่เป็นมรดกตกทอดเหล่านี้ เป็นองค์ประกอบสำคัญของเศรษฐกิจหมู่บ้านในทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเป็นส่วนสำคัญต่อการดำรงชีวิตของผู้คนที่พึ่งพิงการเกษตร หนังสือระดับพรีเมียมเล่มนี้ตีพิมพ์สองภาษาในเล่มเดียวกัน คือภาษาอังกฤษและภาษาพม่า รวมถึงรวบรวมรูปถ่ายมากกว่า 100 ภาพ ลูค คอร์บิน
ได้แสดงให้เห็นว่า การศึกษาด้านมานุษยวิทยาเกี่ยวกับประเพณีและพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับแอลกอฮอล์ จะช่วยให้เราเข้าใจถึงบทบาททางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่มีอยู่ ปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ และโครงสร้างทางสังคมได้ดีขึ้นอย่างไร คอร์บินอธิบายว่า “แอลกอฮอล์เป็นรากฐานของอารยธรรมมนุษย์ วัฒนธรรมการดื่มที่แตกต่างกันได้พัฒนาขึ้นเมื่อเวลาผ่านไปทั่วโลก และในเมียนมาร์ เราเห็นภาพรวมของความหลากหลายในการแสดงออกของมนุษยชาติที่พบในเครื่องดื่ม ความสำคัญที่มีต่อเศรษฐกิจในชนบทและชีวิตทางสังคม รวมถึงวิธีการผลิต การขาย และแบ่งปันเครื่องดื่มที่ผลิตจากท้องถิ่นและที่อันห่างไกล – ส่วนผสมที่หลากหลายเกินเอื้อม ที่ให้ความเป็นอิสระทางเศรษฐกิจสำหรับผู้หญิง”
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นภูมิภาคที่มีพื้นฐานของเครื่องดื่มแบบดั้งเดิมที่มีเอกลักษณ์และยังไม่ได้รับการศึกษา ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อประเพณีของประชากรในภูมิภาค นอกจากนี้ ภูมิภาคนี้ควรที่จะเป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้นในด้านมรดกทางวัฒนธรรมในเวทีโลก ในช่วงเวลาที่คนจำนวนมากในโลกกำลังมองหาความเป็นผู้นำและแรงบันดาลใจของทวีปเอเชีย คุณตรัสวิน จิตติเดชารักษ์ ผู้ก่อตั้งสำนักพิมพ์ซิล์คเวอร์ม เน้นว่า “การแบ่งปันและความเพลิดเพลินกับการดื่มร่วมกันช่วยให้ผู้คนใช้ชีวิต ทำงาน และสันทนาการ เคียงข้างกัน ถือเป็นเป็นข้อพิสูจน์ของสังคมมนุษย์ และอารยธรรม”
วันนี้ เรากำลังประจักษ์ถึงการค่อยๆ เลือนหายไป ของเครื่องดื่มแบบดั้งเดิมและวัฒนธรรมที่อยู่รายรอบในหลายประเทศ ที่เครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีส่วนสำคัญในสังคมเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น แอร์มองซ์ เดอ ลา บาสตีด (Hermance De La Bastide) รองประธานฝ่ายกิจการองค์กรและความยั่งยืนและความรับผิดชอบของ Pernod Ricard Asia กล่าวว่า “Heritage Drinks of Myanmar เปิดโอกาสให้เราได้ไตร่ตรองบทบาทของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสังคมยุคใหม่” และย้ำว่า “ในขณะที่เราหาวิธีจัดการกับพฤติกรรมการบริโภคที่เป็นอันตราย เราก็ยังได้เรียนรู้ว่า แอลกอฮอล์เองก็มีบทบาทในการเสริมสร้างความรู้ของสังคมในประวัติศาสตร์และมรดกของประเทศ” สิ่งนี้ ทำให้เราสามารถเฉลิมฉลองได้ภายใต้บรรทัดฐานทางสังคมของการบริโภคและขนบธรรมเนียมในระดับที่เหมาะสมดังที่เคยเป็นมา
เวลา 19.00 น. ที่สำนักฝรั่งเศสแห่งปลายบูรพทิศ และสมาคมฝรั่งเศสจังหวัดเชียงใหม่ นายตีแยรี มาตู (Thierry Mathou) เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐฝรั่งเศสประจำประเทศไทย ได้กล่าวเปิดงานนิทรรศการ Trance/Figuration ซึ่งเป็นนิทรรศการภาพถ่ายเกี่ยวกับประเพณีการสักยันต์ทางจิตวิญญาณของไทย อันเป็นแรงบันดาลใจให้มีการสักยันต์ทั่วกัมพูชา เมียนมาร์ และลาว นิทรรศการนี้ได้รับการสนับสนุนจาก ห้องสมุดของสำนักฝรั่งเศสแห่งปลายบูรพทิศ (Ecole française d’Extrême-Orient – EFEO) สมาคมฝรั่งเศสเชียงใหม่ (Alliance Française de Chiang Mai) และ Pernod Ricard Asia พร้อมกันนี้ นาย ลูค คอร์บิน ได้กล่าวแนะนำหนังสือ Heritage Drinks of Myanmar ภายในงานด้วย
รูปแบบรอยสักที่หยั่งรากลึกในวัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าอัตลักษณ์ ภาษา และประวัติศาสตร์ของผู้คนเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับการปฏิบัติพิธีกรรม การสักมีความสำคัญทางสังคมและใช้เพื่อทำเครื่องหมายเหตุการณ์สำคัญในชุมชน เช่นเดียวกับการใช้แอลกอฮอล์ในพิธีกรรมต่างๆ และพิธีกรรมสำคัญของชุมชน การแสดงออกทางศิลปะที่พบในศิลปินสักแห่งผู้เชี่ยวชาญนั้นเทียบเท่ากับผู้ผลิตเบียร์ประจำหมู่บ้านหรือผู้กลั่น ซึ่งใส่ส่วนหนึ่งของตัวเองลงในเครื่องดื่มที่มีทั้งแตกต่าง และเหมือนกัน ซึ่งช่วยสร้างรูปแบบการแสดงออกทางวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาของชุมชน
บุคคลทั่วไปสามารถเข้าชมงานนิทรรศการได้ถึงวันที่ 22 พฤษภาคม 2565 ที่สำนักฝรั่งเศสแห่งปลายบูรพทิศ และสมาคมฝรั่งเศสเชียงใหม่
พัฒนชัย/เชียงใหม่