คณะพัฒนาสัมพันธ์เครือข่ายความมั่นคงฯ กอ.รมน.จ.ฉะเชิงเทรา เยี่ยมชม โรงงานผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนและบริษัท แอ๊บโซลูท แอสเซมบลี จํากัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยในกลุ่มบริษัทพลังงานบริสุทธิ์
คณะพัฒนาสัมพันธ์เครือข่ายความมั่นคงฯ กอ.รมน.จ.ฉะเชิงเทรา เยี่ยมชม โรงงานผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนและบริษัท แอ๊บโซลูท แอสเซมบลี จํากัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยในกลุ่มบริษัทพลังงานบริสุทธิ์
เมื่อวันที่ (25 พ.ค.65) ที่บริษัท อมิตา เทคโนโลยี(ประเทศไทย)จำกัด นิคมอุตสาหกรรม ฉะเชิงเทรา บลูเทค ซิตี้ นายไมตรี ไตรติลานันท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา ในฐานะผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดฉะเชิงเทรา พร้อมด้วยพันเอก ประคอง ปิ่นพาน รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดฉะเชิงเทรา (ทหาร) และคณะพัฒนาสัมพันธ์เครือข่ายความมั่นคงระดับผู้บริหารของ กอ.รมน.จ.ฉะเชิงเทรา เข้าเยี่ยมชมบริษัท อมิตา เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด โรงงานผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน และบริษัท แอ๊บโซลูท แอสเซมบลี จํากัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยในกลุ่มบริษัทพลังงานบริสุทธิ์ โดยมีนายชาญยุทธ ฉายาวัฒนะ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริษัท อมิตา เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด
และนางสาวกุลพรภัสร์ วงศ์มาจารภิญญา ประธานผู้บริหารนิคมอุตสาหกรรมฉะเชิงเทราบลูเทคซิตี้ ให้การต้อนรับ พร้อมบรรยายสรุปและนำเยี่ยมชม โรงงานผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนและระบบกักเก็บพลังงาน ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle) และการนำพลังงานหมุนเวียนที่มีเสถียรภาพเข้ามาใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โรงงานผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนและระบบสำรองไฟฟ้าแห่งนี้ ของกลุ่มพลังพลังงานบริสุทธิ์ (EA) ภายใต้ชื่อ บริษัท อมิตา เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด มีกำลังการผลิตเริ่มต้น 1 กิกะวัตต์ชั่วโมงต่อปี ซึ่งระยะแรกนี้มีความพร้อมที่จะขยายกำลังการผลิตได้สูงสุดถึง 4 กิกะวัตต์ชั่วโมงต่อปีในทันที มีพื้นที่การผลิตภายในโรงงานรวมกว่า 80,000 ตารางเมตร เป็นโรงงานผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน ชนิด Pouch Cell
และระบบสำรองไฟฟ้าแบบครบวงจรที่ใช้ระบบอัจฉริยะ และระบบการผลิตอัตโนมัติที่ทันสมัยเพื่อให้กระบวนการผลิตมีประสิทธิภาพสูงสุดและต้นทุนไม่สูง ฐานการผลิตที่สำคัญนี้อยู่ในเขต EEC มีขนาดพื้นที่กว่า 90 ไร่ ที่พร้อมรองรับการขยายการลงทุนของโรงงานผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนและระบบกักเก็บพลังงานได้กว่า 10 เท่า สู่กำลังการผลิตสูงสุดของภูมิภาคอาเซียนที่ 50 กิกะวัตต์ชั่วโมงต่อปี ตลอดจนอยู่ในพื้นที่ที่มีความพร้อมรองรับการลงทุนของอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง เพื่อสร้างระบบนิเวศน์ของ New S Curve ได้อย่างสมบูรณ์ในที่สุด พร้อมทั้งยังมีโรงงานผลิตรถโดยสาร พลังงานไฟฟ้าภายในประเทศที่ได้รับมาตรฐานระดับสากล ตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตจนถึง การให้บริการดูแลซ่อมบํารุงหลังการขายที่ครบวงจร ซึ่งถือเป็นศักยภาพของบริษัทไทย ที่มีความพร้อมและสามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้