22/11/2024

ศอ.บต.ปลื้ม นายรัฐมนตรี”ไฟเขียว”โครงการไฟฟ้าพลังงาน เตรียมขยายพื้นที่ปลูกพืชพลังงานป้อนโรงไฟฟ้า เพื่อสร้างรายได้ให้ชุมชน

ศอ.บต.ปลื้ม นายรัฐมนตรี”ไฟเขียว”โครงการไฟฟ้าพลังงาน เตรียมขยายพื้นที่ปลูกพืชพลังงานป้อนโรงไฟฟ้า เพื่อสร้างรายได้ให้ชุมชน


พล.ร.ต.สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ( ศอ.บต.) เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายรัฐมนตรี ได้มีการสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน เร่งดำเนินการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ในทุกด้าน โดยเฉพาะในมิติของพลังงานการนลงทุนของเอกชนในการสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวล และ ชีวภาพ ซึ่งขณะนี้มีการก่อสร้างแล้วในพื้นที่ของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลาที่จำนวน 12 โรง และจะทำการขยายโครงการต่อไปให้ได้กำลังผลิตรวม 106.9 เมกกะวัตต์


โดยในระยะที่ 1 จะ ขับเคลื่อนด้วยการส่งเสริม และสนับสนุนให้มีการลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าให้ได้ 150 เมกกะวัตต์ เป็นโรงไฟฟ้าชีวมวล 15 โรง และโรงไฟฟ้าชีวภาพ 75 โรง ซึ่งจากการศึกษาพบว่าจะมีการจ้างงานในส่วนต่าง โดยเป็นการจ้างงานทางตรง ไม่ต่ำกว่า 800 อัตรา และเป็นการจ้างงานทางอ้อมอำไม่ต่ำกว่า 12,000 คน และโครงการโรงไฟฟ้าพลังงาน จะมี วิสาหกิจชุมชนร่วมทุนในโครงการดังกล่าว 10 % ซึ่งจะเป็นผลประโยชน์ที่ท้องถิ่นได้รับ จากโครงการที่เกิดขึ้น


การขับเคลื่อนโครงการโรงไฟฟ้าขนาดเล็กในพื้นที่ของจังหวัดชายแดนภาคใต้ จะสามารถเชื่อมโยงการพัฒนาเศรษฐกิจทั้งระบบ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และ ปลายน้ำ เป็นการสร้างงาน สร้างอาชีพ ให้กับคนในพื้นที่ โดยเฉพาะการปลูกพืชพลังงาน เพื่อป้อนให้กับโรงไฟฟ้า ที่ต้องใช้เชื้อเพลิงเป็นจำนวนมากในการผลิตกระแสไฟฟ้า อาทิ ไผ่ชนิดต่างๆ ที่โตเร็ว มีน้ำหนัก เป็นที่ต้องการของโรงไฟฟ้า รวมทั้งพืชโตเร็วเช่น กระถินเทพา หญ้าเนเปียร์ และไม้โตเร็วชนิดอื่นๆ ซึ่งขณะนี้ สภาเกษตรกร และ วิสาหกิจชุมชน ได้มีการปลุกไผ่เพื่อป้อนให้กับโรงไฟฟ้าที่เดินเครื่องผลิตไฟฟ้าแล้วกว่า 10.000 ไร่ ซึ่งยังไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ ในเบื้องต้น ศอ.บต. จะ ขับเคลื่อน ให้ สภาเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และ เกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชพลังงานให้ได้จำนวน ไม่ต่ำกว่า 2 แสน ไร่

และจะ ผลักดัน ให้มีการตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนให้ได้อย่างน้อย 60 กลุ่ม ครอบคลุมจำนวนประชาชนไม่ต่ำกว่า 12,000 ครัวเรือน สำหรับเกษตรกร ที่มีที่ดิน รกร้าง และ ที่ยังยังลังเลว่าการปลูกพืชพลังงาน จะคุ้มทุนหรือไม่ และมีตลาดรองรับตลอดไปหรือไม่นั้น ขออย่างเป็นกังวล เพราะ ศอ.บต. ได้มีการศึกษาอย่างถี่ถ้วนแล้ว และได้ทาการตัดต้นไผ่ที่ปลูกในรุ่นแรกๆ ขายให้กับโรงงานแล้ว ผลที่ออกมามาคือคุ้มทุน และการการใช้ในระยะยาว เพราะโรงไฟฟ้า 1 โรง มีอายุการใช้งานไม่ต่ำกว่า 20 ปี และจำนวนความต้องการใช้ในแต่ละโรงก็มีตัวเลขที่ชัดเจนที่บ่งบอกถึงการลงทุนที่คุ้มทุน ของเกษตรกรในพื้นที่ และนอกจากนี้ ไผ่ ยังเป็น พืชเศรษฐกิจที่มีความต้องการของตลาด เพื่อใช้ผลิต เฟอร์นิเจอร์ และ เครื่องมือ เครื่องใช้อื่นๆ ซึ่งเป็นอีกทางเลือกของเกษตรกรที่ปลูกไผ่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้อีกด้วย เลขาธิการ ศอ.บต. กล่าว

นายปรีชา สถิตย์เรืองศักดิ์ / หาดใหญ่ จ.สงขลา

ข่าวที่น่าติดตาม