เมือง ไม้ขม รายงานพิเศษ แลนด์มาร์ค” เจ้าแม่กวนอิ่ม” ณ ชายทะเลปากบางเทพา เทพา การพัฒนาการท่องเที่ยวที่สร้าง”เศรษฐกิจ” และ”รายได้ให้คน สงขลา ที่ หน่วยงาน “เอกชน” และ “ภาครัฐ “ ต้องเร่งให้การ สนับสนุน
เมือง ไม้ขม
รายงานพิเศษ
แลนด์มาร์ค” เจ้าแม่กวนอิ่ม” ณ ชายทะเลปากบางเทพา เทพา การพัฒนาการท่องเที่ยวที่สร้าง”เศรษฐกิจ” และ”รายได้ให้คน สงขลา ที่ หน่วยงาน “เอกชน” และ “ภาครัฐ “ ต้องเร่งให้การ สนับสนุน
หลังจากที่”สื่อ”ได้นำเสนอข่าวเรื่องจะมีการก่อสร้าง”แลนด์มาร์ค”แห่งใหม่ เพื่อ ส่งเสริม การท่องเที่ยวของจังหวัดสงขลา ด้วยการสร้าง “เจ้าแม่กวนอิม” ที่มีขนาดฐาน 70 คูณ 70 เมตร ความสูง 136 เมตร ในพื้นที่ 50 ไร่ ซึ่งเป็นเนินเขาลูกหนึ่ง ณ บ้านเขาเขียว หมู่ที่ 1 ต.สะกอม อ.เทพา จ.สงขลา และผู้เป็นเจ้าของโครงการ คือ บริษัท ที่พีไอ โพลีน เพาเวอร์ ( TPIPP ) ซึ่งเป็น”เอกชน” ที่เข้ามา”ลงทุน” ในโครงการ”เมืองต้นแบบที่ 4” ที่เป็นโครงการพัฒนาเศรษฐกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ของ รัฐบาล หรือที่มีการเรียกโครงการอีกชื่อหนึ่งว่า”นิคมอุตสาหกรรมจะนะ”ซึ่งขณะนี้โครงการดังกล่าวยังอยู่ระหว่างการทำ”SEA”โดย สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ( สศช.)
ภัคพล เลี่ยวไพรัตน์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ทีพีไอโพลีน เพาเวอร์ “ TPIPP “ ได้เผยถึงความเป็นมา ของการก่อสร้าง เจ้าแม่กวนอิม ที่ ต.ปากบาง อ.เทพา จ.สงขลา ในครั้งนี้ คือ สถานที่ดังกล่าวมี”ภูมิทัศน์” ที่เหมาะสม ที่จะพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว เป็น”แลนด์มาร์ค” แห่งใหม่ของ จ.สงขลา ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า การท่องเที่ยวใน จ.สงขลา “ซบเซา” ก่อนที่จะเกิดปัญหาโควิด 19ไ เกิดขึ้นด้วยซ้ำ และ ทั้ง เอกชน และ หน่วยงานรัฐ ต่างก็มีแนวคิดในการสร้าง”แลนด์มาร์ค” แห่งใหม่ เพื่อ ส่งเสริมการท่องเที่ยว ด้วยการหา สถานที่ใหญ่ๆ เช่นการสร้าง “แลนด์มาร์ค” ที่เขาคอหงส์ เป็นต้น
จากการเดินทางไปในประเทศต่างๆ พบว่า หลายประเทศ เขาไม่มีอะไรเลย แต่เขาสร้าง”แลนด์มาร์ค”เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้ไปเที่ยวในประเทศของเขาได้ เช่น”สิงคโปร์”เขาสร้าง “ยูนิเวอร์แซล สตูดิโอ,มารีน่าเบย์ และ โรงแรมหรูขนาด 6 ดาว หรืออีกหลายประเทศ ที่เขาพัฒนาการท่องเที่ยว ให้เกิดขึ้นได้ด้วยการสร้าง”แลนด์มาร์ค” ในรูปแบบใหม่ๆที่ได้ผลในการดึงดูกนักท่องเที่ยวให้เข้าไปเที่ยวในประเทศของเขา ส่วนภาคใต้ของเราโดยเฉพาะ จ.สงขลา มีความอุดมสมบูรณ์ในทุกด้าน ทั้งเรื่อง “อาหาร” เรื่อง”สาธารณูประโยชน์”เรื่องของสถานที่ท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ ภูเขา ทะเล หาดทราย และยัง เป็นศูนย์กลาง คมนาคม เป็นที่ตั้ง สถาบันการศึกษา อยู่ติดชายแดน มาเลเซีย แต่ทำไม่คนส่วนใหญ่ จึงยัง”ยากจน” ทั้งที่ ภูมิประเทศ และ ทรัพยากรที่มีอยู่ สามารถที่จะ”สร้างงาน”และ”สร้างเงิน” สร้าง”รายได้ “ ให้กับคนในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี
การสร้าง”แลนด์มาร์ค” แห่งใหม่ของ จ.สงขลา ด้วยการสร้าง “เจ้าแม่กวนอิม” จะเป็นการ ดึงดูด นักท่องเที่ยว กลุ่มใหม่ๆ และเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ที่เดินทางเข้ามายัง จ.สงขลา และ ภาคใต้ ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะกลุ่มของ”คนจีน” ซึ่งอาจจะไม่ใช่เฉพาะที่มาจากประเทศจีนเท่านั้น แต่อาจจะมาจากที่อื่นๆด้วย รวมทั้ง”เจ้าแม่กวนอิม” ไม่ใช่เรื่องของ”ศาสนา”ใดศาสนาหนึ่ง แต่เป็น”กลางๆ” ที่เป็นที่ ยอมรับ และมีผู้ให้การ “เคารพ สักกะระ” เป็นจำนวนมาก แม้แต่ในประเทศ “อินโดนีเซีย” ที่เป็นประเทศที่ประชาชนนับถือศาสนาอิสลามเป็นอันดับ 2 ก็มีการสร้าง เจ้าแม่กวนอิม โดยไม่ได้มีปัญหาของการต่อต้านจากคนในประเทศแต่อย่างใด
“แลนด์มาร์ค” แห่งใหม่ ที่ ต.ปากบาง อ.เทพา ซึ่งจะมี”เจ้าแม่กวนอิม” ที่ใหญ่เป็นอันดับต้นๆของโลก ที่อาจะใช้เวลาในการก่อสร้าง และการ ปรับภูมิทัศน์ รวมทั้ง สิ่งอำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยว แล้วเสร็จใน 2 ถึง 3 ปี ถ้าไม่มี”อุปสรรค” มาทำการ”ขัดขวาง” เมื่อสร้างแล้วเสร็จ ผู้ที่จะได้ประโยชน์ คือคนในพื้นที่ เพราะเป็นการสร้าง”เศรษฐกิจ” ให้เกิดขึ้น การท่องเที่ยวเป็นการ”ลงทุน ” ที่ประชาชนในพื้นที่เป็นผู้ได้รับประโยชน์โดยตรง และเป็นการสร้างความเจริญให้เกิดกับพื้นที่โดยรวม
ไม่อยากให้ มีการนำเอาเรื่อง “เมืองต้นแบบที่ 4” ที่ อ.จะนะ จ.สงขลา มาเป็นประเด็นในการ”ไม่เห็นด้วย” กับการสร้าง”แลนด์มาร์ค” แห่งใหม่ ที่ อ.เทพา เพราะเป็นคนละพื้นที่เป็นคนละ”วัตถุประสงค์” องค์เจ้าแม่กวนอิม เป็น”แลนด์มาร์ค” เพื่อ ส่งเสริมการท่องเที่ยว เป็นการสร้าง”เศรษฐกิจ” ให้กับพื้นที่ เป็นการสร้าง “รายได้” ให้กับคนในพื้นที่ ส่วนโครงการ”เมืองต้นแบบที่ 4” ที่ อ.จะนะ วันนี้ยังอยู่ระหว่างการทำ “SEA” ซึ่งต้องใช้เวลาอีกยาวไกล อยากให้คนที่”ไม่เห็นด้วย” และ ออกมา”ต่อต้าน” การก่อสร้าง”แลนด์มาร์ค” แห่งใหม่ ทำความเข้าใจ และเปิดใจให้กว้าง อย่า”ปิดกั้น” ข้อมูล ยอมรับการ”พัฒนา”ซึ่งเป็น “อนาคต”ของคน “รุ่นใหม่”ที่พวกเขาจะต้องมี”ทางเลือก” เพื่อชีวิตที่ดีกว่า
ที่นำมากล่าวถึงเป็นเพียงรายละเอียดเล็กๆ ส่วนหนึ่ง ของการสร้างเจ้าแม่กวนอิม เพื่อให้เป็น”แลนด์มาร์ค”แห่งใหม่ เพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวของที่เป็นการ”ลงทุน” ของ”เอกชน” ที่ต้องการเห็นถึงการเติบโตของการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ ให้กับคนในพื้นที่ แต่ ณ วันนี้ ถูก กลุ่มผู้ที่”เห็นต่าง” ในโครงการ”เมืองต้นแบบที่ 4” ของ “รัฐบาล” ที่ อ.จะนะ จ.สงขลา ซึ่งเป็น โครงการ”อุตสาหกรรม” ขนาดใหญ่ เพื่อการ”พัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้” นำเอาเรื่องของ”กวนอิม” เรื่องของ”แลนด์มาร์ค”ไปผูกให้เป็นเรื่องเดียวกัน มีการ”บิดเบือน” ข้อเท็จจริง”เพื่อสร้างความ”เข้าใจผิด” เพื่อการ”เรียกแขก” ให้มาต่อต้านการสร้าง”แลนด์มาร์ค” แห่งนี้
โครงการนี้เป็นโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยว และสร้าง”เศรษฐกิจ” ให้กับ จ.สงขลาโดยตรง จึงควรที่ หน่วยงานของ”ภาครัฐ” และ”ภาคเอกชน” ทั้ง สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยว,หอการค้า,สภาอุตสาหกรรม , ท่องเที่ยวและกีฬา” และ หน่วยงานอื่นๆ โดยเฉพาะ จังหวัดสงขลา.อบจ.สงขลา และ องค์กรปกครองท้องถิ่น ในพื้นที่ ที่จะมีการก่อสร้าง ต้องให้ความร่วมมือ ในการสร้างความเข้าใจกับประชาชน และกลุ่มผู้ต่อต้าน ให้เห็นถึงความสำคัญ เห็นถึงประโยชน์ที่ จ.สงขลา คนสงขลาจะได้รับจากโครงการดังกล่าว เพราะถ้า”แลนด์มาร์ค” แห่งนี้เกิดขึ้น จ.สงขลา คน สงขลา คือผู้ที่ได้รับประโยชน์โดยตรง
แต่….วันนี้ ยังไม่เห็น”บทบาท” ของ องค์กรที่กล่าวมาข้างต้น ที่จะออกมา แสดงความคิดเห็น และ สนับสนุน “ แลนด์มาร์ค” แห่งนี้แต่อย่างใด นี่คือความ”อ่อนด้อย” อย่างหนึ่ง ของ จังหวัดสงขลา ในเรื่องของการสร้าง”เศรษฐกิจ” การลงทุน และการ”พัฒนา”การท่องเที่ยว” ของ จ.สงขลา ที่ไม่ได้มองถึง ”อนาคต” หรือหลังการ”เปิดเมือง” จากการ”คลี่คลาย”ของ”โควิด 19 “ และมี นักท่องเที่ยว”หน้าเก่าๆ” จาก “มาเลเซีย” เข้ามาเที่ยวในวัน “สาร์-อาทิตย์” คน “หาดใหญ่” คน”สงขลา” ก็” พอใจ “และไม่คิดที่จะทำอะไรที่ใหม่ๆ เพื่อ พัฒนา การท่องเที่ยว อีกแล้ว อย่างนั้นหรือ