23/11/2024

ปทุมธานี ผ้าใยบัวหลวง ผ้าอัตตลักษณ์ ประจำจังหวัดปทุมธานี เริ่มขับเคลื่อน ตามพระราชวินิจฉัย สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ที่จะต่อยอดให้เป็น ผ้าลินิน รายแรกของเมืองไทย

ปทุมธานี ผ้าใยบัวหลวง ผ้าอัตตลักษณ์ ประจำจังหวัดปทุมธานี เริ่มขับเคลื่อน ตามพระราชวินิจฉัย สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ที่จะต่อยอดให้เป็น ผ้าลินิน รายแรกของเมืองไทย

เมื่อวันที่ 7 ก.ย.65 เวลา 13:00 น. นายเอกวิทย์ มีเพียร รองผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี ได้เดินทางไปที่วัดโบสถ์อำเภอสามโคกจังหวัดปทุมธานี เพื่อมอบประกาศเกียรติบัตร ตรวจเยี่ยมและให้กำลังใจสมาชิกในศูนย์เรียนรู้การผลิตผ้าใยบัวหลวงจังหวัดปทุมธานี ซึ่งสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดปทุมธานีได้จัดขึ้นเพื่อให้สอดรับกับการที่กระทรวงมหาดไทยดำเนินงานโครงการยกระดับและพัฒนาผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาผ้าไทยและงานหัตถกรรมชุมชนทั้ง 4 ภาคซึ่งเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2565 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ได้เสด็จทอดพระเนตรนิทรรศการการจัดแสดงผลิตภัณฑ์ผ้าไทยและงานทันตกรรมชุมชนภาคกลางที่จังหวัดนครปฐมโดยจังหวัดปทุมธานีได้นำผู้ประกอบการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนคอตตอนดีไซน์ผลิตผ้าใยบัวหลวง ภายใต้ชื่อ วรดา(worlada)เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว

โดยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทรงมีพระวินิจฉัยผ้าใยบัวหลวงว่าคุณสมบัติของใยบัวมีความเย็นให้พัฒนาเส้นใยตั้งแต่การผลิตให้มีความแข็งแรงเหนียวนุ่มพัฒนาให้เป็น ”ไหมใยบัว “พัฒนาให้เป็น”ผ้าลินิน”เจ้าแรกของเมืองไทยสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดปทุมธานีจึงได้จัดทำโครงการพัฒนาเส้นใยบัวหลวงขึ้นเพื่อฝึกอบรมให้ประชาชนมีความรู้และทักษะในการพัฒนาเส้นใยตามที่พระองค์ได้ทรงพระวินิจฉัยไว้โดยผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานีนายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร ได้รับสนองพระราชวินิจฉัยและมอบหมายให้สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดปทุมธานี เป็นหลัก และพันธมิตรอีกหลายหน่วยงานเช่น สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดปทุมธานี สำนักงานเกษตรจังหวัดปทุมธานี สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดปทุมธานี สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดปทุมธานีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมดำเนินการ การฝึกอบรมการพัฒนาเส้นใยบัวหลวงจังหวัดปทุมธานีจัดอบรมตั้งแต่วันที่ 6-8 กันยายน 2565 มีผู้เข้ารับการอบรมรุ่นแรกนี้จำนวน 30 คน เพื่อให้ผู้ผ่านการอบรมได้มีความรู้ ในการผลิตเส้นใยบัวหลวง มีทักษะและสามารถนำไปพัฒนา ต่อยอดจนถึงการถักทอเป็นผืนรวมถึงยังสามารถเป็นครู ก ครูรุ่นแรก หรือวิทยากรระดับครูใหญ่ที่จะไปเป็นพี่เลี้ยงในการฝึกรุ่นต่อๆไป


การผลิตเส้นใยบัวหลวงนั้น ใช้ส่วนที่เป็นก้านดอกบัวหลวง เนื่องจากการดอกบัวหลวงมีใยบัวที่มีความหนากว่าก้านใบและก้านฝักบัว เลือกที่เป็นบัวเต็มวัยแต่ไม่แก่ตัดก้านที่อวบให้ยาวได้มากที่สุดตัดให้ใกล้ดอกมากที่สุด
ขั้นตอนการผลิตเส้นใยบัว
1.ล้างทำความสะอาดก้านดอกบัวและแช่ก้านบัวในน้ำ
2.ใช้มีดกรีดบางบางที่ก้านบัวสี่ก้านรวมกันและดึงเส้นใยออกมามืออีกข้างที่ถือก้านบัวดึงขึ้นเฉียง 45 องศาหรือเส้นใยออกมาให้มากที่สุด
3.ใช้มือจุ่มน้ำในขันให้ชุ่มฝั้นเส้นใยบัวให้เชื่อมต่อกับเส้นใยบัวเดิมเพื่อให้เข้าเกรียวต่อเป็นเส้นเดียวกัน
4.ดึงเส้นใยบัวจนหมดก้าน
5.นำเส้นใยที่ได้มาวนในกระด้งและนำถั่วแดงมาโปรยเพื่อไม่ให้เส้น พันกันและดูดความชื้น
6.นำเส้นใยมาปั่นในกงและเก็บม้วนไว้


สำหรับวิทยากรในครั้งนี้คืออาจารย์วรเทพ ลิมติยะโยธิน ซึ่งเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนขนาดเล็กที่ทำกิจการผ้าใยบัวในครอบครัวจังหวัดปทุมธานีได้มาให้ความรู้และสอนเทคนิคในการผลิตเส้นใยบัวปทุมธานี อาจารย์ ได้กล่าวว่าสำหรับการสอนกลุ่มพี่น้องประชาชนที่มาเรียนรู้การผลิตเส้นใหญ่บัวในครั้งนี้เห็นว่าทุกคนตั้งใจที่อยากจะสืบทอดอัตลักษณ์ความเป็นผ้าประจำจังหวัดปทุมธานีอย่างเต็มที่และรู้สึกภูมิใจและดีใจที่ได้มีส่วนร่วมในการรังสรรค์และพัฒนาเพื่อให้มีคุณค่าสร้างงานสร้างอาชีพให้แก่พี่น้องประชาชนในจังหวัดปทุมธานีต่อไปด้วยสำหรับแหล่งปลูกบัวหลวงในจังหวัดปทุมธานีที่ขึ้นทะเบียนไว้กับสำนักงานเกษตรจังหวัดปทุมธานีมีทั้งสิ้น 200 กว่าแห่งจาก 7 อำเภอของจังหวัดปทุมธานี

ภาพ/ข่าว ประภาพรรณ ขาวขำ/รายงาน

ข่าวที่น่าติดตาม