22/11/2024

สุโขทัย-ชาวคีรีมาศจัดพิธีอัญเชิญสมโภชรูปสลักพระนารายณ์สี่กร 100 ปี คืนสู่วัดท่าดินแดงวัดดังคีรีมาศ

วัดศรีคีรีสุวรรณาราม (วัดท่าดินแดง) พระครูวรธรรมประยุต หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า หลวงพ่อทุเรียน” อดีตเจ้าอาวาสวัดแห่งนี้ ท่านเป็นพระคุณเจ้าเป็นที่เคารพสักการะของบุคคลทั่วไป ให้ความเลื่อมใสศรัทธา วัตถุมงคลของหลวงพ่อ เป็นที่ยอมรับนิยมมากด้วยพุทธคุณ


ในวันพุธที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ.2565 ทางคณะสงฆ์วัดศรีคีรีสุวรรณารามและชาวอำเภอคีรีมาศ ได้จัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์ เจริญชัยมงคลคาถาพิธีอัญเชิญ และสมโภชรับรูปสลักพระนารายณ์สี่กรคืนสู่ถิ่น ณ อุโบสถวัดศรีคีรีสุวรรณาราม ต.ศรีคีรีมาศ อ.คีรีมาศ ในเวลา 17.00 น. โดยมีพระสุขวโรทัย (หลวงพ่อจง)ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดสุโขทัย ประธานสงฆ์ พระครูไพศาลกิจจาทร เจ้าคณะตำบลบ้านป้อม เจ้าอาวาสวัดศรีคีรีสุวรรณารราม แม่งานในพิธี พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ โดยพระมหากายสิทธิ์ สิทธาภิภู รองเจ้าคณะจังหวัดสุโขทัย พระครูไพบูลชัยสิทธิ์ เจ้าคณะอำเภอศรีสัชนาลัย พระครูประภาตธรรมานันท์ รองเจ้าคณะอำเภอเมืองสุโขทัย พระครูชัยรัตนบรรพต รองเจ้าคณะอำเภอทุ่งเสลี่ยม พระครูวิสุทธิ์ธรรมานุกูล เจ้าคณะตำบลศรีศีรีมาศ พระครูวิธานธรรมประสิทธิ์ เจ้าคณะตำบลหนองจิก พระครูอุดมปัญญาวุฒิ เจ้าคณะตำบลทุ่งหลวง พระมหาพรเทพ ตนติปาโล เจ้าคณะตำบลลานหอย พระครูอโสกสันตยากร เจ้าคณะตำบลสารจิตร พระครูวาปีวัฒนปราโมทย์ เจ้าคณะตำบลบ้านด่าน พระครูขันติพลธาดา เจ้าอาวาสวัดลัดทรายมูล พระครูปลัดสุวัฒนพุทธิคุณ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก


พิธีอัญเชิญและสมโภชเริ่มในเวลา 13.00 น. คณะสงฆ์ นายอำเภอคีรีมาศ หัวหน้าส่วนราชการ พ่อค้า ประชาชนร่วมพิธี ณ วัดหนองทอง ต.บ้านหลุม อ.เมืองสุโขทัย เคลื่อนขบวนฉลองออกจากวัดหนองทอง ในเวลา 16.30 น. อัญเชิญรูปสลักพระนารายณ์สี่กร เข้าตั้งบนแท่นภายในอุโบสถวัดศรีคีรีสุวรรณาราม และเวลา 18.19 น. พิธีเวียนเทียนสมโภชพิธีปิดทองรูปสลักพระนารายณ์สี่กร
ประวัติรอยพระพุทธบาทและพระนารายณ์สี่กรทรงโค ที่ประดิษฐานเดิม ก่อนที่จะนำรอยพระพุทธบาทและพระนารายณ์มาประดิษฐานไว้ ณ วัดศรีคีรีสุวรรณาราม (วัดท่าดินแดง)อย่างในปัจจุบัน

แต่เดิมนั้นรอยพระพุทธบาทได้ประดิษฐานอยู่ที่เขาพระบาทที่มีเชิงเขาติดกับเขาหลวง ซึ่งมีเพิงหินใหญ่พอสมควร เพื่อเป็นที่สักการบูชาของคนในสมัยนั้นสืบทอดต่อกันมา หลักฐานในการบูชารอยพระพุทธบาทพระนารายฌ์ในวันมามะบูชา (ขึ้น 15ค่ำเดือน 3 ) ของทุกปีเมื่อประมาณ 100 กว่าปี ที่ผ่านมาเครื่องบูชารอยพระพุทธบาท อาทิเช่น ดอกไม้ ธูป เทียน ทางวัดศรีดีรีสุวรรณารามได้เตรียมการไว้ให้ผู้มีจิตศรัทธานั้นมาบูชา การจัดเตรียมสถานที่ คณะศรัทธาชาวตำบลศรีคีรีมาศ จากการนำของพระภิกษุสามเณร มัคทายกทายิกา กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และประชาชน ก่อนถึงวันงานประมาณ 4-5 วัน จะไปช่วยทำความสะอาด เช่น ปัดกวาด ถากถางป่า ขุดบ่อน้ำ ฯลฯประชาชนที่เดินทางมาบูชา ชาวตำบลและอำเภอใกล้เดียง

เช่น อำเภอเมือง ตำบลเมืองเก่า บ้านนา บ้านขวาง ตำบลโตนด บ้านน้ำพุ สามพวง ทุ่งหลวง หนองจิก นาเชิงศรีคีรีมาศ อำเภอพรานกระต่ายและอื่นๆ โดยการเดินทางเท้าและทางเกวียน โดยมาพักแรมอาศัยตามบ้านญาติพี่น้อง หรือในวัดศรีคีรีสุวรรณารามมหรสพและการเล่นในการสมโภช กลางวันจัดขบวนแห่จากวัดศรีคีรีสุวรรณาราม ไปทำการสักการบูชารอยพระพุทธบาทบางปีมีการละเล่นเพลงฉ่อยและการละเล่นเพลงพื้นเมือง คือ เพลงทิงนอยอาหารที่นำไปด้วย คือ อาหารคาวหวาน ขนม ที่ขาดไม่ได้ คือขนมไส้หวาน ขนมเทียน ไส้เค็ม(ขนมนมสาว) นิมนต์พระจากวัดศรีคีรีสุวรรณารามและวัดใกล้เคียง ไปฉันภัตตาหาร กลางคืนกับมาฉลองที่วัดศรีคีรีสุวรรณาราม บางปีมีลิเก รำวงพื้นบ้าน ระยะเวลาจัดงาน 3 วัน 3 คืน


สาเหตุที่ต้องย้ายมาไว้ที่วัดศรีคีรีสุวรรณาราม เนื่องด้วยเมื่อประมาณ พ.ศ. 2495ปรากฏว่ามีพวกนักขุดของเก่า หรือ พวกขุดกรุ มาขุดทำลายแท่นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทและพระนารายณ์จนชำรุดเสียหายมากพังทลายใช้การไม่ได้ โดยคิดว่าได้ฐานมีสมบัติหรือของเก่า ดังนั้นประชาชนจึงช่วยกันยกรอยพระพุทธบาทและพระนารายณ์นำมาประดิษฐานด้านล่างของเชิงเขา ต่อมาภายหลังประชาชนได้ปรึกษากัน เกรงว่าจะมีคนมาทำลาย หรือขโมยนำไปไว้ที่อื่น จึงได้นำเกวียนหรือชาวบ้านในสมัยนั้นเรียกว่าล้อกะแทะไปบรรทุกใส่มาเก็บไว้ที่ วัดศรีคีรีสุวรรณาราม จากการนำของ พระครูพิลาศธรรมคุณ (โถม กลฺญาโณ) ในขณะนั้น และต่อมาได้เลื่อนสมณศักดิ์ที่ พระมงคลสุนทร เจ้าคณะจังหวัดสุโขทัย นายสำราญ น้อยคำ กำนันตำบลศรีคีรีมาศ ในขณะนั้น


วัตถุโบราณมาครอบครองโดยพลการ หรือจะนำไปขาย ที่ชาวบ้านเรียกว่า ปัดตะโม (คนถือศีล 8 ไม่กินเนื้อสัตว์ กินมังสะวิรัติ เช่น ถั่ว งา เป็นต้น)ได้ไปร้องเรียนทางราชการในขณะนั้นผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัยคือ นายเชื่อม ศิริสนธิ ได้เรียกตัวแทนชาวบ้านไปสอบถาม และหาผู้รับรองว่าจะรักษารอยพระพุทธบาทได้ โดยคณะผู้รับรองจากการนำของ พระครูพิลาศธรรมคุณ ,นายสำราญ น้อยคำ , นายพุฒ บุตรนุช , นายแสน กล่อมปาน , นายเพิ่ม อ่อนป่าน , นายเซ็ง จ้อยจุ้ยรับรองว่าจะรักษารอยพระพุทธบาทและพระนารายณ์ไว้ให้เป็นศาสนสมบัติส่วนกลางได้
ดังนั้นใน ปี พ.ศ. 2495 ผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัยคือ นายเชื่อม ศิริสนธิ จึงมีคำสั่งให้เก็บรักษาประดิษฐานไว้ที่วัดศรีคีรีสุวรรณารามเพื่อเก็บรักษาไว้ ให้เป็นสาสนสมบัติสมบัติของพุทธศาสนิกชนต่อไป (ปัจจุบันประดิษฐาน ในวิหารวัดศรีคีรีสุวรรณาราม)

สุริยา ด้วงมา จ.สุโขทัย 0812844862
ผช.ผสข.จ. นส.นิรชา ด้วงมา 0869289826

ข่าวที่น่าติดตาม