(สุรินทร์) “นักรบสีน้ำเงิน” สุรินทร์ ขับเคลื่อนโครงการจิตอาสา เราทำความดีด้วยหัวใจ ปลูกฝังต้นกล้าเยาวชน 1,700 คน
(สุรินทร์) “นักรบสีน้ำเงิน” สุรินทร์ ขับเคลื่อนโครงการจิตอาสา เราทำความดีด้วยหัวใจ ปลูกฝังต้นกล้าเยาวชน 1,700 คน
ที่โรงเรียนปราสาทศึกษาคาร “นักรบสีน้ำเงิน”กองบัญชาการกองทัพไทย (หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา) นำโดย พันเอกกิรชิต คุณาวงค์ ผู้บังคับหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 54 สำนักงานพัฒนาภาค 5 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา ได้ขับเคลื่อนโครงการจิตอาสา”เราทำความดีด้วยหัวใจ” ด้วยการบรรยายและซึมซับ”วิชาประวัติศาสตร์ชาติไทย” ให้กับต้นกล้า”เยาวชนนักเรียน”ระดับประถม”ทั้งโรงเรียนอนุบาลปราสาทศึกษาคาร จำนวน 1,700 คนภายใน 1 สัปดาห์ เริ่มบรรยาย วันที่ 2 – 7 ธ.ค.65 เพื่อเป็นการน้อมรำลึกและถวายเป็นพระราชกุศลแด่องค์พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร (5 ธันวามหาราช วันพ่อแห่งชาติ) โรงเรียนปราสาทศึกษาคาร
ซึ่งเป็นสถานศึกษาระดับประถมต้นแบบและนำร่องแห่งแรกของจังหวัดสุรินทร์ ในการขับเคลื่อนและนำวิชาความรู้ด้านประวัติศาสตร์ชาติไทย..สู่เยาวชนระดับประถมทั้งโรงเรียน( 1 ชั่วโมง) สนุก ตื่นเต้นเหล้าใจ ได้ความรู้ คู่กับคติธรรม นักเรียนไม่หลับ ไม่คุย ถาม-ตอบ-มอบรางวัล ซึ่งบรรยายโดย คณะวิทยากรจิตอาสา 904 จากนักรบสีน้ำเงิน(นพค.54) อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ที่ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ได้ทรงเล็งเห็นความสำคัญของงานจิตอาสา แล้วทรงจัดตั้งโครงการจิตอาสา “ทำความดีด้วยหัวใจ” ซึ่งมีพสกนิกรเข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก และได้ดำเนินงานจิตอาสาในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ ทำให้งานจิตอาสาขยายตัวออกไปในพื้นที่น้อยใหญ่ต่าง ๆ เพื่อปลูกจิตสำนึกให้คนไทยมีหัวใจจิตอาสามากขึ้น ซึ่งแม้แต่ในคำขวัญวันเด็ก ประจำปี 2562 ที่ว่า “เด็ก เยาวชน จิตอาสา ร่วมพัฒนาชาติ” ก็ได้มีระบุคำว่า จิตอาสาเข้าไปด้วย ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องที่ทุกภาคส่วน ใส่ใจกันมากขึ้นกว่าแต่ก่อนจิตอาสา (Volunteer Spirit) หมายถึง
จิตแห่งการให้โดยเต็มใจเพื่อผู้อื่น โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน มีที่มาจากการรวมกันของคำสองคำ คือคำว่า “จิต” และคำว่า “อาสา” จิต หมายถึง จิตใจหรือความรู้สึกนึกคิด ส่วน อาสา นั้น หมายถึงการทำสิ่งใดด้วยความสมัครใจโดยไม่มีผู้ใดบังคับ คำนี้ถูกสร้างขึ้นมาหลังจากเหตุการณ์ภัยพิบัติสึนามิเมื่อ ปี 2547 ปัจจุบันมีความหมายเสมือนคำว่าอาสาสมัคร และเมื่อกล่าวถึงคำว่าจิตอาสา ก็ต้องกล่าวถึงคำว่า จิตสาธารณะด้วย จิตสาธารณะ (Public Consciousness) หมายถึง คุณลักษณะทางจิตใจของบุคคลที่มีพร้อม ความปรารถนาที่จะช่วยแก้ปัญหา อุทิศตนเพื่อประโยชน์ส่วนรวม รวมถึงการรู้จักหวงแหนและรักษาสิ่งของที่เป็นส่วนรวมด้วย ซึ่งทั้ง จิตอาสา และจิตสาธารณะนี้ แทบจะมีความหมายที่เหมือนกัน ต่างกันตรงที่ จิตอาสานั้น เป็นการทำตามความมุ่งหวังของตัวเอง ในขณะที่จิตสาธารณะเป็นการกระทำที่เกิดจากสำนึกที่ดีในสังคม ยกตัวอย่างเช่น การเก็บขยะรอบโรงเรียน ในความหมายของจิตอาสา คือ มุ่งหวังให้ตัวเองทำประโยชน์ ได้รับคำชมเชย ส่วนในความหมายของจิตสาธารณะคือทำเพื่อให้โรงเรียนสะอาดในฐานะนักเรียนในโรงเรียน เป็นต้น
ปุรุศักดิ์ แสนกล้า ข่าว/ภาพ