ปั๊มอิสระและผู้ประกอบการโลจิสติกส์ เชื่อ น้ำมันขาดแคลน และแพงเวอร์ เป็นแผนของ”ทุนใหญ่” เพื่อล้ม”ทุนเล็ก” เมื่อทำอะไรไม่ได้ก็รวมหัว”สาปแช่งประยุทธ์” ที่ บริหารพลังงานล้มเหลว หนักสุดในรอบ 50 ปี
ปั๊มอิสระและผู้ประกอบการโลจิสติกส์ เชื่อ น้ำมันขาดแคลน และแพงเวอร์ เป็นแผนของ”ทุนใหญ่” เพื่อล้ม”ทุนเล็ก” เมื่อทำอะไรไม่ได้ก็รวมหัว”สาปแช่งประยุทธ์” ที่ บริหารพลังงานล้มเหลว หนักสุดในรอบ 50 ปี
ผู้สื่อข่าวรายงานความคืบหน้าของสภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงในภาคใต้ และในทุกภูมิภาคของประเทศ ที่เกิดขึ้นตั้งแต่เดือน พ.ย. เป็นต้นมา จนทำให้ คลังน้ำมัน เอสโซ่,เชลล์,เชพรอน” และ” ปตท. “ ต้องมีการ”ปันส่วน” น้ำมันให้กับ “ปั๊มแบรนด์ ที่เป็นของตนเอง และปรับราคาขายในบัญชี”ค้าส่ง” ที่ ขายให้กับ”จ็อบเบอร์” ในราคาที่แพงมาก จน”จ็อบเบอร์” ไม่สามารถ ซื้อน้ำมัน เพื่อมาขายต่อให้กับปั๊มอิสระ ที่เป็นธุรกิจ เอสเอ็มอี ซึ่งมีปั๊มให้บริการประชาชน ใน หมู่บ้าน และ ตำบล ต่างๆ ที่ไม่มีปั๊มแบรนด์ ตั้งอยู่ รวมทั้งไม่สามารถขายให้กับ กลุ่มทำอุตสาหกรรม โรงงานต่าง เช่นโรงโม่หิน เหมืองทราย บ่อดิน ธุรกิจก่อสร้าง และกลุ่มขนสินค้า หรือ โลจิสติกส์ ต่างๆ จนได้รับความเดือดร้อน ต้องซื้อน้ำมันในราคาแพงมาขาย และใช้ในกิจการ ประชานผู้ใช้บริการก็โวยวาย เพราะเข้าใจว่าปั้มอิสระค่ากำไร เพราะขายแพงกว่าน้ำมันที่เป็นปั๊มแบรนด์ถึงลิตรละ 1-2 บาท ในขณะที่ปั๊มอิสระ ส่วนหนึ่งทำการปิดปั๊ม เลิกกิจการไปก็มี ทำให้มีคนตกงานจำนวนหนึ่ง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันที่ 12 ธ.ค. บริษัทเชฟร่อน ที่ คลังร่วมสงขลา ประกาศขายน้ำมัน ดีเซล บี 7 ให้กับ”จ็อบเบอร์” ลิตรละ 36.35 บาท ในขณะที่ ปี๊มแบนด์ของบริษัทขายในราคาลิตรละ 35.50 บาท และ แก๊สโซฮอลล์ 95 ลิตรละ 36 .25 และ แก๊สโซฮอลล์ 91 ลิตรละ 35.95 ซึ่งแพงกว่าราคาหน้าปั๊มที่เป็นของบริษัททุกผลิตภัณฑ์ เป็นการขายให้กับ”จ็อบเบอร์” ในราคาสูง ซึ่งเมื่อ”จ็อบเบอร์” บวกค่าขนส่ง และ ค่าการตลาด เข้าไปไม่ต่ำกว่า ลิตรละ 50-60 สตางค์ ปั๊มอิสระ และ ผู้ประกอบการธุรกิจต่างๆ ต้องซื้อราคาน้ำมันที่แพงกว่าปั๊มแบรนด์ ที่เป็นของ ปตท. และ ต่างชาติ ถึงลิตรละ 2 -3 บาท จึงจะอยู่ได้
และนอกจากมีการ”ปันส่วน” น้ำมันให้แบรนด์ ทำให้ปั๊มแบนรด์ ได้นำมันไม่พอกับการขายให้ประชาชนในแต่ละวันแล้ว ยังปรากฏว่า บริษัทยักษ์ใหญ่ เจ้าของโรงกลั่น เจ้าของ แบนด์ เอสโซ่ เชลล์,คาลเท็กซ์ หรือ”เชฟร่อน” ยังไม่ออกหนังสือมีคำสั่งห้ามปั๊มแบรนด์ของตนเอง ขายน้ำมันบรรจุถังให้กับลูกค้าและประชาชนทั่วไป โดยมีการควบคุมการขายทางคอมพิวเตอร์ และผู้จัดการสายงานการขายเข้าควบคุมอย่างเข้มงวด ยิ่งส่งผลให้ ประชาชน ที่เคยซื้อน้ำมันใส่ถัง เพื่อไปใช้ในธุรกิจเล็กของตนเอง และปั๊มอิสละ ที่เคยซื้อน้ามันจากปั๊มใหญ่ในขายต่อได้รับความเดือดร้อนยิ่งขึ้น
ผู้สื่อข่าว ซึ่งติดตามคงวามเคลื่อนไหวของกลุ่มธุรกิจ เอสเอ็มอี ที่เป็นเจ้าของปั๊มน้ำมันอิสระ( ไม่มีแบรนด์ ) เป็นปั๊มเล็กขนาด 2 – 6 หัวจ่าย ที่ตั้งอยู่ในหมู่บ้าน ตำบล ซึ่งเป็นความสะดวกกับประชาชนที่ไม่ต้องขับรถยนต์ จยย. ไปเติมน้ำมันที่ห่างไกล ในไลน์ของกลุ่มปั้มอิสระ พบว่าทุกปั๊มในประเทศไทย ไม่เฉพาะภาคใต้ ได้รับความเดือดร้อนอย่างยิ่ง กับการบริหารพลังของของ รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และนายสุพัฒน์พงษ์ พันธ์มีเชาว์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ที่ไม่รับทราบความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ห่างไกล และเจ้าของปั๊มอิสระ ที่เป็นธุรกิจ เอสเอ็มอี และ เจ้าของกิจการต่างๆ ที่ต้องซื้อน้ำมันในราคาแพง และไม่สามารถซื้อน้ำมัน หรือนำรถบรรทุกมาเติมน้ำมันจากปั๊มที่มีแบรนด์ เพราะมีการจำกัดโควต้าการขายแบบวันต่อวัน โดยในกลุ่มไลน์ของปั๊มอิสระ บางกลุ่มเคยยื่นหนังสือถึง กรมการค้าภายใน ให้รับทราบ เพื่อให้ช่วยเหลือ แต่ไม่ได้ผล จึงทำได้แต่การ ร้องผ่านทางไลน์ ทางเพจ และ เฟซบุ๊ค ถึง ปัญหา และความเดือดร้อน รวมทั้งการรวมกับสาปแช่ง รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่บริหารพลังงานล้มเหลว และไม่เคยคิดจะแก้ปัญหา ด้วยการสั่งการให้โรงกลั่น ผลิตน้ำมันให้เพียงพอ และไม่เข้ามาทำการควบคุมราคา รวมทั้งมีการปล่อยให้ โรงกลั่นรายงานเรื่อง”มาร์จิ้น” หรือค่าการตลาด ที่ปั๊มได้รับ ที่ไม่ตรงกับข้อเท็จจริง
น.ส. แอนนา มูสา เจ้าของปั๊มอิสระ ที่ตั้งอยู่ใน จ.สงขลา กล่าวว่า ปั๊มอิสระ ได้รนับผลกระทบตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์ เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบันจาก สงครามรัสเซีย-ยูเครน ซึ่งประเทศอื่นๆ เขาแก้ปัญหาด้วยการซื้อน้ำมันราคาถูกจากประเทศรัสเซีย แต่ประเทศไทยไม่มีแผนในการแก้ปัญหาราคาน้ำมันแต่อย่างใด ประเทศไทยมีโรงกลั้น 5-6 แต่ปล่อยให้น้ำมัยขาดแคลนและมีราคาแพง เรามีแท่นขุดเจาะ เต็มอ่าวไทย มีการส่งน้ำมันขายให้ต่างประเทศ แต่ในประเทศขาดแคลนน้ำมัน และมีราคาแพง หมายความว่าอย่างไร หรือการปล่อยให้น้ำมันขาดแคลน และราคาแพง เป็นแผนของโรงกลั้น และ บริษัทน้ำมัน ในการรวมหัวกัน ไม่ขายน้ำมันให้””จ็อบเบอร์” และขายในราคาแพงเวอร์ เพื่อที่จะให้ ปั๊มอิสระ ต้องปิดตัวเอง และ ผู้ประกอบกิจการทั้งหมด ที่มีแท๊งค์น้ำมันและซื้อน้ำมันจาก “จ็อบเบอร์” ต้องปิดตัวลง และไปซื้อน้ำมันจากปั๊มแบรนด์ ที่เป็นของโรงกลัน และของ บริษัทยักษ์ใหญ่ที่ผูกขาดการค้าน้ำมันในประเทศไทย
ในภาวะวิกฤติ เช่นการปิดซ่อมโรงกลั่นถึง 3 โรง ซึ่งไม่มีประเทศไหนทำกัน ทำไม กระทรวงพลังงาน ยังเก็บเงินเข้ากองทุน ที่ยิ่งทำให้น้ำมันมีราคาแพง และทำไม่จึงไม่มีการพักหนี้เงินกู้ และปล่อยให้ราคาน้ำมันลอยตัวตามกลไกของตลาดโลก ส่วนหนี้เงินกู้ รัฐบาลก็สามารถที่จ่ายดอกเบี้ย หรือจัดการอย่างอื่นๆได้ ในเมื่อ รัฐบาลชุดนี้ก็กู้เงินมาแจกชาวบ้านเป็นระยะๆ อยู่แล้ว ทำไม่จึงไม่หยุดการเก็บเงินเข้ากองทุนเพื่อจ่ายเงินกู้ เพื่อให้ราคาน้ำมันเป็นไปตามกลไกการขึ้นลงของตลาดโลก เพราะถ้าราคาน้ำมันเป็นไปตามกลไกของตลาดโลก ราคาน้ำมันในประเทศจะไม่สูงขนาดนี้
ในขณะที่ อธิบดีกรม นางสาวนันธิกา ทังสุพานิช อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน เปิดเผยว่า จะได้หารือกับผู้ค้าน้ำมันมาตรา 7 เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น และคาดว่าราคาน้ำมันจะผันสผวนต่อไปจนถึงเดือน มกราคม 2566 และตั้งแต่วันที่ 10 ธ.ค.-31 ม.ค. 66 เพื่อให้ผู้ค้านำนั้นมันสำรองตามกฎหมายกลุ่มน้ำมันดีเซลออกมาจำหน่าย 129 ล้านลิตร ซึ่งเพียงพอกับการใช้น้ำมันที่สูงขึ้น
////////////////////////////////////////////
(*)ไออาร์
D(บี7) = 37.75
แก๊ส91 = 35.20
แก๊ส95 = 35.50
B7=36.35
95=36.25
91=35.95
นายปรีชา สถิตย์เรืองศักดิ์ / หาดใหญ่ จ.สงขลา