คณะแม่นายสิปปะธรรม เปิดโอกาสพิเศษ จัดแสดงโชว์หุ่นละครเล็กชุดใหญ่ ให้เด็กพิเศษมูลนิธิครูบุญชู ได้ร่วมสืบสานศิลปวัฒนธรรมไทย
คณะแม่นายสิปปะธรรม เปิดโอกาสพิเศษ จัดแสดงโชว์หุ่นละครเล็กชุดใหญ่ ให้เด็กพิเศษมูลนิธิครูบุญชู ได้ร่วมสืบสานศิลปวัฒนธรรมไทย
ณ มูลนิธิครูบุญชูเพื่อเด็กพิเศษ นางวรัทยา วิวัฒน์อนันน์ (ลูกปลา) เจ้าของคณะแม่นายสิปปะธรรม พร้อมด้วยคณะแม่นายสิปปะธรรม กว่า 20 ชีวิต นำหุ่นละครเล็กชุดใหญ่มาจัดแสดงให้กับเด็กพิเศษได้รับชมความงดงามศิลปวัฒนธรรมไทย ซึ่งสร้างรอยยิ้มให้กับเด็กพิเศษมูลนิธิครูบุญชู ทั้ง 235 คน เป็นอย่างมาก อีกทั้งยังได้เครื่องอุปโภค-บริโภค ขนมขบเคี้ยว และไอศครีม ให้กับมูลนิธิครูบุญชูเพื่อเด็กพิเศษ
นางวรัทยา วิวัฒน์อนันน์ (ลูกปลา) กล่าวว่า สำหรับการจัดแสดงหุ่นละครเล็ก ให้ชมฟรีแก่เด็กพิเศษมูลนิธิบ้านครูบุญชู ในครั้งนี้ เพื่อมีความประสงค์จะอนุลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมไทยให้กับเด็ก เยาสชนทุกคนได้รู้ถึงการเชิดหุ่นละครเล็กว่าเป็นแบบไหน จึงนำทีมหุ่นละครเล็กชุดใหม่ มาเชิดให้กับเด็กพิเศษได้รับชม อีกทั้งได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของเยาวชน ซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญของประเทศชาติในอนาคต นอกจากนี้ยังเป็นการส่งมอบความสุข สนุกสนาน แก่เด็กและเยาวชนเหล่านี้ ทั้งนี้ทางคณะแม่นายสิปปะธรรมมีความยินดีที่จะเดินทางไปมอบความสุขให้กับเด็กด้อยโอกาสและเยาวชนไทยที่มีความต้องการเรียนรู้การเชิดหุ่นละครเล็กในทุกที่
ทั้งนี้ทางคณะแม่นายสิปปะธรรม ได้จะเปิดการเรียนการสอนโครงการ “ เรียน รำ เล่น ”โดยเปิดสอนโขนและเชิดหุ่นละครเล็ก แก่เด็กและเยาวชนที่สนใจโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด ซึ่งจะเริ่มเปิดสอนในวันเด็กแห่งชาติปี 2566 ซึ่งความอนุเคราะห์จากทางผู้บริหาร ททบ.5 ในการสนับสนุนพื้นที่ในการสอนเยาวชนที่นใจ ทั้งนี้สำหรับผู้ปกครองและน้อง ๆ เยาวชนที่สนใจสามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่เพจเฟสบุ๊คหุ่นละครเล็ก คณะแม่นายสิปปะธรรม ซึ่งทางคณะฯมีความต้องการเฟ้นหาเยาวชนไทย เพื่อไปแข่งการเชิดหุ่นระดับโลกต่อไป
สำหรับประวัติหุ่นละครเล็กคณะแม่นายสิปปะธรรม เกิดขึ้นจากนางวรัทยา วิวัฒน์อนันน์ (ลูกปลา) เจ้าของคณะแม่นายสิปปะธรรม ได้พบกับหุ่นละครเล็กครั้งแรกพร้อมกับบุตรชาย ในงานเลี้ยงเตรียมทหาร จปร. โดยบุตรชายมีความสนใจตั้งแต่ครั้งแรกที่ได้รับชมการแสดงจนเมื่อเวลาผ่านไป 3 ปี จึงได้ติดต่อคณะหุ่นละครเล็กอีกครั้ง เพื่อนามาแสดงในงานศพคุณแม่และวันฌาปนกิจ อีกทั้งบุตรชายมีความชื่นชอบที่จะเรียนศิลปะโขนและการเชิดหุ่นละครเล็ก ซึ่งถือเป็นการจุดประกายของความสนใจหุ่นละครเล็ก จึงยื่นมือเข้าร่วมกับคุณครูและคณะหุ่นละครเล็ก ภายใต้ชื่อ หุ่นละครเล็ก “คณะแม่นายสิปปะธรรม” โดยมุ่งหวังในการถ่ายทอด ศิลปวัฒนธรรมไทยให้ดำรงอยู่ คู่แผ่นดินไทย เพื่อเป็นการคืนคุณแก่แผ่นดิน