ชัยภูมิ-แก้ปัญหาน้ำเสียจากครัวเรือนยั่งยืน
ชัยภูมิ-แก้ปัญหาน้ำเสียจากครัวเรือนยั่งยืน
เมื่อเร็วๆนี้ ที่บ้านโนนปะคำ หมู่ 7 ต.นาฝาย อ.เมือง จ.ชัยภูมิ พ.ต.อ.สรวิศ มาอินทร์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาฝาย อ.เมือง จ.ชัยภูมิ นำชาวบ้านในชุมชนสร้างธนาคารน้ำจากน้ำเสียในครัวเรือนของหมู่บ้าน เป็นการแก้ปัญหาน้ำเสียจากครัวเรือนที่ไหลลงไปรวมกันข้างถนนแล้วไหลลงในที่นาของชาวบ้าน เกิดปัญหาน้ำท่วมขังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
หากผันน้ำลงพื้นดิน ดินจะมีน้ำความอุดมสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น สามารถปลูกพืชผักสวนครัวให้เจริญงอกงามเป็นอย่างดีอีกด้วย
โดยเจ้าหน้าที่ อบต.นาฝาย ได้นำชาวบ้านขุดหลุมทำบ่อธนาคารน้ำใช้แล้วจากครัวเรือนของประชาชน ที่ประยุกต์วิธีการทำมาจากธนาคารน้ำใต้ดิน มาทำธนาคารน้ำใช้แล้ว ซึ่งเมื่อน้ำใช้แล้วจากครัวเรือนบ้านประชาชน ที่ถูกปล่อยไหลลงพื้นดินจนเจิ่งนอง เฉอะแฉะ กลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายพาหะโรคไข้เลือดออก จนมีผู้เสียชีวิต ขณะเดียวกันยังเป็นต้นเหตุของความขัดแย้งระหว่างเพื่อนบ้าน เพราะน้ำที่ใช้แล้ว ที่ชาวบ้านปล่อยทิ้งในบ้านของตัวเอง แม้จะไหลลงดิน แต่น้ำมากและและทิ้งทุกวันบ่อยๆ จึงซึมลงดินไม่ทัน ทำให้เกิดมีน้ำขัง ไหลเจิ่งนองออกนอกตัวบ้าน ไหลไปตามหน้าบ้าน ข้างถนน เกิดการเฉอะแฉะ นอกจากนั้นยังเป็นแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย พาหะโรคไข้เลือดออก และเกิดโรคระบาดจากแมลงวัน ซึ่งชาวบ้านต่างเห็นดีด้วยจึงพร้อมใจกันในการขุดหลุมทำบ่อธนาคารน้ำใช้แล้วจากครัวเรือน หลังบ้านตัวเอง และร่วมกันทำบ่อธนาคารน้ำใช้แล้วข้างถนน เพื่อไม่ให้เกิดน้ำไหลนองบริเวณข้างถนน บนถนน เพื่อที่จะให้เดินทางสัญจรไปมาได้สะดวกมากยิ่งขึ้น โดยได้ร่วมกันขุดบ่อขนาดความลึกประมาณ 1.50 เมตร และมีเส้นผ้าศูนย์กลางประมาณ 80 เซนติเมตร ก้นหลุมกว้างประมาณ 20 – 30 เซนติเมตร นำตระกร้าพลาสติกที่ใส่ขวดน้ำพลาสติกเปล่าลงไปในตระกร้าพลาสติก เพื่อให้ก้นหลุมมีพื้นที่ว่างของอากาศ ที่จะช่วยบีบอัดอากาศระบายน้ำสู่ดินรอบๆ หลุมธนาคารน้ำใช้แล้ว ไม่ให้เกิดน้ำเสียไหลออกนอกบ้านสู่ชุมชนอีกต่อไป
นายรัตนศักดิ์ รัตนมณี หัวหน้าฝ่ายปฎิบัติการธนาคารน้ำใต้ดิน สถาบันน้ำนิเทศน์ศาสนคุณ บอกว่าวิธีการนี้คือการจัดการที่เหลือใช้ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นจากการใช้น้ำในการล้างถ้วยล้างจานในครัวเรือน หรือจากการอาบน้ำ ซึ่งเมื่อไหลออกไปทางหน้าบ้าน ไปตามถนนในหมู่บ้าน จะเกิดน้ำขังในชุมชน ซึ่งเมื่อเราได้จัดการน้ำโดยการนำน้ำลงดินด้านหลังบ้านในระดับตื่น จะแพร่กระจายสู่ด้านล่าง ดินด้านล่างเปรียบเสมือนทิปชู่ซับน้ำไว้ ซึ่งหลุมธนาคารน้ำใช้แล้วที่ทำไว้หลังบ้านนี้จะเป็นหลุมที่เก็บน้ำแลกกับอากาศออกมา แล้วระบายน้ำออกไปด้านข้างหลุม ซึ่งเมื่อทุกครัวเรือนขุดหลุมเก็บน้ำใช้ของตนเองแล้งระบายลงดินจะทำให้ไม่มีน้ำเสียไหลออกมาสู่ด้านนอกตัวบ้านสู่ชุมชน จะช่วยให้ชุมชน บ้านใกล้เรือนเคียงไม่ทะเลาะกัน เกิดความรักใคร่กัน ไม่มีน้ำไหลไปขังตามข้างถนน หรือพื้นถนน ไม่มีน้ำขังอีกต่อไป ทำให้ไม่มียุงอีกต่อไป พื้นดินบ้านใดที่ทำหลุมธนาคารน้ำใช้แล้ว หลังบ้านจะมีความเย็น ไม่ร้อนลดการใช้พลังงานไฟฟ้าในการความเย็นได้อีกด้วย แถมพื้นดินรอบหลุม รอบบ้านมีความอุดมสมบูรณ์ด้วยแร่ธาตุบำรุงดิน สามารถปลูกต้นไม้ ปลูกพืชผักส่วนครัวได้เป็นอย่างดี แทบไม่ต้องรดต้นไม้อีกด้วย หรือลดการรดน้ำผักได้ไม่น้อยกว่า 50%
ด้าน พ.ต,อ.สรวิศ มาอินทร์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาฝาย อ.เมือง จ.ชัยภูมิ กล่าวว่า ในปัจจุบันการสร้างบ้านในปัจจุบันนี้ จะสร้างบ้านสูงกว่าถนนหน้าบ้าน น้ำใช้สอยภายในบ้านจึงไหลลงสู่พื้นถนนหน้าบ้าน และไม่ร่องระน้ำที่ดีพอจะทำให้เกิดน้ำขังตามผิวถนน หากเมื่อเราขุดหลุมธนาคารน้ำใช้แล้วหลังบ้าน ซึ่งใช้เงินไม่มาก จะเป็นการช่วยแก้ปัญหาน้ำเน่าเสียหน้าบ้านของตัวเองได้เป็นอย่างดี ซึ่งจะเร่งให้ทุกหมู่ ทุกครัวเรือนใน ต.นาฝายได้เร่งทำให้ทุกครัวเรือนได้ทำหลุมธนาคารน้ำใช้แล้วหลังบ้าน เพื่อให้มีขังตามถนน ข้างถนน ในชุมชน หมู่บ้านอีกต่อไป
ด้านยายทองสุข อาจฤทธิ์ วัย 73 ปี บ้านเลขที่ 70 หมู่ 12 บ้านโนนปะคำ ต.นาฝาย อ.เมือง จ.ชัยภูมิ กล่าวว่าที่ผ่านมาถนนหน้าบ้านตัวเองมีน้ำขังจากน้ำทิ้งของบ้านเรือนเจิ่งนองไม่เคยแห้งเลย ชาวบ้าน พระภิกษุออกรับบิณบาตรเดือดร้อนมาก เดินผ่านถนนที่มีน้ำขังด้วยความลำบาก เมื่อมาทำหลุมธนาคาน้ำใช้แล้ว น้ำที่ไหลมาจากบ้านเรือนจะซึมลงดินไม่ท่วมขังตามผิวถนนอีกต่อไป