การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2566
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2566
กระบวนการนับคะแนนและประกาศผลการนับคะแนน
1) ที่เลือกตั้ง ประกอบด้วยที่เลือกตั้งปกติ ที่เลือกตั้งล่วงหน้าในเขตเลือกตั้ง นอกเขตเลือกตั้ง
นอกราชอาณาจักร และที่เลือกตั้งสำหรับคนพิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้สูงอายุ (เฉพาะ 21 จังหวัด ที่มีความพร้อมในการจัดที่เลือกตั้งสำหรับคนพิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้สูงอายุโดยสำนักงานคณะกรรมการ การเลือกตั้งแจ้งให้สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดและกรุงเทพมหานคร ประสานมูลนิธิ หรืองค์กรคนพิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้สูงอายุ ในพื้นที่ว่ามีความพร้อมในการจัดที่เลือกตั้งสำหรับคนพิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้สูงอายุร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งหรือไม่)
2) ที่เลือกตั้งปกติ (ออกเสียงลงคะแนนวันอาทิตย์ที่ 14 พฤษภาคม 2566)
นับคะแนนหลังจาก 17.00 น. โดยไม่ประวิงเวลา ที่หน่วยเลือกตั้งนั้น ๆ
ประกาศผลการนับคะแนนตามแบบ ส.ส.5/18 ติด ณ ที่เลือกตั้งนั้น ๆ ทันทีที่นับคะแนน
แล้วเสร็จ โดยมีรายละเอียดครบถ้วน ประกอบด้วย
3) ที่เลือกตั้งล่วงหน้าในเขตเลือกตั้ง และที่เลือกตั้งกลางสำหรับคนพิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้สูงอายุ (ออกเสียงลงคะแนนวันอาทิตย์ที่ 7 พฤษภาคม 2566)
นับคะแนนในวันเดียวกับหน่วยเลือกตั้งปกติ คือวันอาทิตย์ที่ 14 พฤษภาคม 2566
นับคะแนนหลังจาก 17.00 น. โดยไม่ประวิงเวลา ที่คณะกรรมการประจำเขตเลือกตั้ง
ประกาศกำหนด (บริเวณที่ทำการศูนย์อำนวยการเขตเลือกตั้งนั้น ๆ)
ประกาศผลการนับคะแนนตามแบบ ส.ส.5/16 โดยมีรายละเอียดครบถ้วน ประกอบด้วย
4) ที่เลือกตั้งล่วงหน้านอกเขตเลือกตั้ง (ออกเสียงลงคะแนนวันอาทิตย์ที่ 7 พฤษภาคม 2566)
และนอกราชอาณาจักร(ออกเสียงลงคะแนนตามวันที่เอกอัครราชทูตกำหนด)
นับคะแนนในวันเดียวกับหน่วยเลือกตั้งปกติ คือวันอาทิตย์ที่ 14 พฤษภาคม 2566
นับคะแนนหลังจาก 17.00 น. โดยไม่ประวิงเวลา ที่คณะกรรมการประจำเขตเลือกตั้ง
ประกาศกำหนด (ที่ทำการศูนย์อำนวยการประจำเขตเลือกตั้งนั้น ๆ หรือบริเวณสถานที่อื่นในกรณีที่มีผู้ลงทะเบียนจำนวนมาก)
ประกาศผลการนับคะแนนตามแบบ ส.ส.5/17 โดยมีรายละเอียดครบถ้วน ประกอบด้วย
5) คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตจะนำผลคะแนนของผู้สมัครแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง
ตามข้อ 2 ข้อ 3 และข้อ 4 มารวมกัน ณ ที่ทำการศูนย์อำนวยการประจำเขตเลือกตั้งนั้น ๆ เมื่อแล้วเสร็จ
จะประกาศ ผลการนับคะแนนเรียงตามลำดับผู้ได้คะแนนสูงสุดทันที โดยผู้ที่ได้รับคะแนนสูงสุดและมีคะแนน สูงกว่าคะแนนไม่เลือกผู้สมัครผู้ใดเป็นผู้รับเลือกตั้ง และจะนำผลการรวมคะแนนนั้น ๆ ขึ้นแสดงบน
ป้ายขนาดใหญ่ ณ ที่ทำการศูนย์อำนวยการประจำเขตเลือกตั้งนั้น ๆ
6) คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตจะนำผลคะแนนของพรรคการเมืองที่สมัครแบบบัญชีรายชื่อ ตามข้อ 2 ข้อ 3 และข้อ 4 มารวมกัน ณ ที่ทำการศูนย์อำนวยการประจำเขตเลือกตั้งนั้น ๆ เมื่อแล้วเสร็จ
จะประกาศผลการนับคะแนนเรียงตามลำดับหมายเลขของบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองทันทีที่ผลคะแนน แล้วเสร็จและนำส่งให้สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งเพื่อรวมคะแนนทั้ง 400 เขต และคำนวณสัดส่วน ของพรรคการเมืองที่ได้รับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อต่อไป โดยจะนำผลการรวมคะแนนของเขตเลือกตั้งนั้น ๆ ขึ้น แสดงบนป้ายขนาดใหญ่ ณ ที่ทำการศูนย์อำนวยการประจำเขตเลือกตั้งนั้น ๆ
7) ผลการรวมคะแนนตามข้อ 5 และข้อ 6 คาดว่าคะแนนแรกจะสามารถเริ่มทยอยประกาศได้ตั้งแต่เวลาประมาณ 18.30 น. เป็นต้นไป โดยจะดำเนินการต่อเนื่องเพื่อให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ทั้งนี้คาดว่าคะแนนสุดท้ายน่าจะทราบได้ ภายในเวลาไม่เกิน 23.00 น. ของวันอาทิตย์ที่ 14 พฤษภาคม 2566
8) ความปลอดภัยของเอกสาร การประกาศผลการนับคะแนนของแต่ละหน่วยเลือกตั้ง
จัดทำขึ้นมา 3 ฉบับ ฉบับที่ 1 ใช้สำหรับนำมารวมผลคะแนน ฉบับที่ 2 ใช้สำหรับปิดประกาศหน้าที่เลือกตั้งให้ประชาชนรับทราบ และฉบับที่ 3 บรรจุลงในหีบบัตรเลือกตั้งพร้อมกับบัตรเลือกตั้งที่ใช้ในการ
ลงคะแนนแล้ว และกระดาษขีดคะแนน ทั้งนี้ผู้มีอำนาจสั่งให้มีการเปิดหีบบัตรเลือกตั้ง ต้องเป็นคณะกรรมการ
การเลือกตั้งเท่านั้น
9) ความโปร่งใสของเอกสาร ประกาศผลการนับคะแนน
ปิดประกาศบริเวณหน้าที่เลือกตั้ง หรือบริเวณหน้าที่นับคะแนนทุกแห่ง
เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดและกรุงเทพมหานคร
ทุกหน่วยเลือกตั้งภายใน 5 วันนับจากการเลือกตั้ง
กระบวนการกลั่นกรอง การประกาศผลการนับคะแนน มี 5 ลำดับขั้นตอน ดังนี้
1) คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง ของหน่วยเลือกตั้งปกติ และคณะกรรมการนับคะแนนของการเลือกตั้งล่วงหน้าในเขตเลือกตั้ง นอกเขตเลือกตั้ง และหน่วยเลือกตั้งสำหรับคนพิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้สูงอายุ
2) คณะอนุกรรมการประจำอำเภอ สำหรับจังหวัดในส่วนภูมิภาค 76 จังหวัดและคณะอนุกรรมการประจำเขตปกครองสำหรับกรุงเทพมหานคร
3) คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้ง ทั้ง 400 เขตเลือกตั้ง
4) สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดและกรุงเทพมหานคร โดยมีผู้อำนวยการ
การเลือกตั้งประจำจังหวัดและกรุงเทพมหานครเป็นหัวหน้า
5) สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยมีเลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นหัวหน้า
6) ทั้งนี้จะรายงานผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการทาง www.ectreport.com เพื่อประกาศผลอย่างเป็นทางการต่อไป
กระบวนการประกาศผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ
คณะกรรมการการเลือกตั้ง ดำเนินการตรวจสอบและประกาศผลการเลือกตั้งให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
แต่ต้องไม่ช้ากว่า 60 วันนับแต่วันเลือกตั้ง
………………………………………………………………………..