23/11/2024

ตาก – ชาวบ้านลุกฮือ ปกป้องดอยชาติ ไม่เอาเหมืองหิน

ตาก – ชาวบ้านลุกฮือ ปกป้องดอยชาติ ไม่เอาเหมืองหิน

ที่ บริเวณศูนย์จำหน่ายสินค้าทางการเกษตรพื้นที่สูงและสินค้าชุมชนตำบลแม่ท้อ (ตลาด อบต.) หมูที่ 11 ต.แม่ท้อ อ.เมืองตาก จว.ตากสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดตากโดยเจ้าพนักงานอุตสาหกรรมแร่ประจำท้องที่จังหวัดตากได้จัดเวที รับฟังความคิดเห็นของชุมชนในพื้นที่ขอประทานบัตร เหมืองแร่ประเภทที่ 2 ของชุมชนหมู่ที่ 11 ต.แม่ท้อ อ.เมือง จ.ตากโครงการเหมือพแหันอุตสาหกรรมชนิดหินปูนเพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้างคำขอประทานบัตรที่ 5/2556ของบริษัท ซีพีเอ็น ไมนิ่ง จำกัด ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 99 ตำบลแม่ท้อ อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก

โดยอุตสาหกรรมแร่ประจำท้องที่จังหวัดตาก จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของชุมชนในพื้นที่ที่ขอประทานบัตรในระยะ 500 เมตร จากแนวเขตคำขอประทานบัตร โดยมีประชาชน เข้าร่วม แสดงความคิดเห็นทั้งฝ่ายที่สนับสนุนและคัดค้านประมาณ 600 คน โดย เป็นฝ่าย ชาวบ้านที่สนับสนุนประมาณ 214 คน มีการชูป้ายทั้งสนับสนุนและคัดค้านของแต่ละฝ่าย ทั้งนี้พ.ต.อ.ลิขิตพงศ์ ศรีนาราง ผกก.สภ.แม่ท้อ ได้สนธิกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจสภ.แม่ท้อ,นปพ.กก.สส.ภ.จว.ตาก ชุดสืบสวน กก.สส.ภ.จว.ตาก ,อส.อำเภอเมืองตาก และ ตชด.34

โดยเวทีรับฟังความคิดเห็นนั้น เปิดให้ประชาชนตัวแทนทั้งสองฝ่ายยืนขึ้นทีละฝ่ายและกล่าวความคิดเห็นสลับกัน โดยใช้ไมโครโฟนที่ฝ่ายจัด ได้เตรียมไว้ให้ มีประชาชน อยู่ในพื้นที่ที่ได้จัดเตรียมไว้ให้ในแต่ละฝ่ายของตัวเอง โดย ฝ่ายสนับสนุนยกเหตุผลในเรื่องของความต้องการที่จะมีงานทำ และการพัฒนาโครงสร้างต่างๆที่ทางบริษัทผู้ประกอบการเสนอหยิบยื่นให้เช่นถนนและสะพาน ในขณะที่ ประชาชนผู้ที่คัดค้าน การเปิดป่าเพื่อ ทำเหมืองหิน ไม่เห็นด้วย โดย บอกว่าต้องการอนุรักษ์ปกป้องผืนป่าที่เป็นป่าใหญ่เป็นต้นน้ำของลำห้วยแม่ท้อ ที่จะไหลลงสู่แม่น้ำปิงก่อนที่จะไหลไปรวมกับแม่น้ำเจ้าพระยา ผืนป่าดังกล่าวยังมีความสมบูรณ์ เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า ควรค่าแห่งการอนุรักษ์ไว้ สิ่งที่พวกตนเองคัดค้านไม่ใช่เพื่อ ตัวเอง แต่เพื่อ ปกป้องสมบัติ ทางธรรมชาติ ของประเทศชาติให้คงอยู่สืบไป

ซึ่งแกนนำชาวบ้านที่ต่อสู้เพื่อปกป้องดอยชาติ หมู่ที่ 11บ้านลานสาง ต.แม่ท้อ อ.เมือง จ.ตาก บอกว่า ได้มีเอกชนยื่นขอประทานบัตรทำเหมืองแร่มาแล้ว 2 ครั้ง ซึ่งชาวบ้านลานสางก็ออกมาคัดค้านเพื่อปกป้องผืนป่าอย่างเหนียวแน่น พร้อมยินดียกพื้นที่ดังกล่าวผนวกเป็นเขตอุทยานแห่งชาติดอยสอยมาลัย เพราะพื้นที่นี้ยังคงเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์ เป็นป่าต้นน้ำติดลำห้วยแม่ท้อก่อนจะไหลลงสู่อ่างเก็บน้ำแม่ท้อที่ไหลลงแม่น้ำปิง มีอาณาเขตติดต่อกับอุทยานแห่งชาติตากสินมหาราช มีสัตว์ป่าอาศัย เข้ามาหากิน เช่น เก้ง กวาง นกเงือก ไก่ป่า หมูป่า ฯลฯ

ตลอดระยะเวลา ที่ผ่านมาชาวบ้านช่วยกันดูแบผืนป่า ปลูกต้นไม้ยิงเมล็ดพันธ์จนตอนนี้ต้นไม้หนาแน่นขึ้น เป็นที่อาศัยของ สัตว์ป่า และมีวิ่งผ่านให้เห็นบ่อยขึ้นมากขึ้น

ปัจจุบันชาวบ้านบางคนแก่มากแล้ว บางคนป่วย บางคนกลับไปบนท้องฟ้าฝากฝังลูกหลานทุกคนส่งต่อผืนนี้ให้พวกเราดูแลและปกป้องต่อไป พวกเราจะสู้ได้ไหม? 10ปีที่เราปกป้องดูแลรักษาธรรมชาติ ,10ปีที่เราเป็นชาวบ้านตำบลแม่ท้อจิตอาสา, 10ปีที่ชาวบ้านตำบลแม่ท้อคัดค้านการขอสัมปทานเหมืองแร่มาโดยตลอด,10ปีที่เราต่อสู้มาโดยลำพังตามประสาชาวบ้าน,10ปีแล้วที่ อุตสาหกรรมพื้นฐานและเหมืองแร่ จ.ตาก ไม่ฟังเสียงชาวบ้านเค้าเลย

10ปีแล้วที่ชาวบ้านแม่ท้อผวาทุกครั้งที่มีการขอสัปทานเหมืองแร่ กินไม่ได้นอนไม่หลับเครียดงานการไม่ต้องดีทำ อย่าให้เราชาวบ้านตำบลแม่ท้อลุกขึ้นสู้เพียงลำพัง ทรัพยากรธรรมชาติป่าต้นน้ำแม่ท้อไม่ใช่ของใครคนใดคนหนึ่ง มาช่วยกัน พร้อมกันแสดงพลังคัดค้าน เพื่อปกป้องผืนป่าดอยชาติ ในวันที่7กันยายน2566เวลา9.00น.เป็นต้นไปที่ ตลาดนัดลานสาง (ศาลาจำหน่ายพืชผลทางการเกษตรตำบลแม่ท้อ) ต.แม่ท้อ อ.เมือง จ.ตาก

โดยเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2560
ชาวบ้านได้ยืนหนังสือกราบบังคมทูล สมเด็จพระเทพร้ตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ขอความช่วยเหลือในการคัดค้านการขอประทานบัตรทำเหมืองแร่หินปูน เนื่องจากเกรงว่าการทำเหมืองแร่ อาจส่งผลกระทบต่อบำแม่ท้อบริเวณเขากระแต่ซึ่งเป็นป่าธรรมชาติ อีกทั้งบริเวณใกล้เคียงเขากระแต เป็นแหล่งเกษตรกรรมของชาวบ้านและมีเขื่อนกั้นน้ำ ซึ่งแรงระเบิดจากการทำเหมืองหินปูนอาจทำให้เขื่อน กั้นน้ำเสียหายได้ โดยจังหวัดตาก และกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ได้ชี้แจงว่า ขณะนี้ยังไม่มีการดำเนินการไดๆ เนื่องจากราษฎรในพื้นที่มีมติคัดค้านการยื่นคำขอประทานบัตรดังกล่าว

แต่ความพยายามของนายทุนไม่ลดละ ยังคงปักหลัก ทำคะแนนเสียงเพื่อแยกมวลชน ให้สนับสนุนกลุ่มนักการเมืองในพื้นที่ มีเต็นท์ และน้ำแข็งให้ฟรี เวลาหมู่บ้านมีกิจกรรม ทำให้ขนาดนี้แนวร่วม ชาวบ้านที่ปกป้องผืนป่าเริ่มลดลง และแม้ว่าที่ผ่านมา พื้นป่าดอยชาติจะถูกผนวกเข้าอยู่ในแผนที่ของเขตอุทยานแห่งชาติดอยสอยมาลัย (เตรียมการ) มีเจ้าหน้าที่และชาวบ้านร่วมกันออกตรวจตราพื้นที่ เป็นประจำ แต่ดอยชาติยังถูกบรรจุ อยู่ใน แผนที่อุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ การปกป้องผืนป่าของชาวบ้าน เหล่านี้ ถูกปล่อยให้ ต่อสู้อย่างโดดเดี่ยว และนี่เป็นสัญญาณว่าเราจะสูญเสียผืนป่าธรรมชาติที่สมบูรณ์ ที่เป็นป่าต้นน้ำ ของประเทศ ไปอีก 1 แห่ง

อย่างไรก็ตาม เมื่อ 6 ก.ย.2566 นายคริษฐ์ ปานเนียม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดตาก เขต 1 พรรคก้าวไกล ได้ยื่นขอร้องทุกข์ ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ดังนี้ สืบเนื่องจากพื้นที่ หมู่ 11 ตำบลแม่ท้อ อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก เป็นพื้นที่อนุญาตประทานบัตรเหมืองแร่หินปูน
โดยกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งมีการอนุญาตประทานบัตรเลขที่ 20844/14337(ตก 10/2527) ให้แก่ บริษัท พี.แอนด์.เอส.แบไรท์ไมนิ่ง จำกัด ต่อมา บริษัทดังกล่าวเลิกกิจการ และมี บริษัท ศิลาแม่ท้อ จำกัด รับช่วงดำเนินการต่อ
บนเนื้อที่ 110 ไร่ 6 งาน 33 ตารางวา ซึ่งอนุญาตประทานบัตรนี้ เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 เป็นต้นมา และยังเปิดทำการอยู่ อดีต เมื่อ พ.ศ. 2533 การดำเนินโครงการของรัฐ หรือ การอนุญาตโดยรัฐ สามารถกระทำได้เลย ระหว่างผู้ร้องขอ
กับหน่วยงานของรัฐ โดยประชาชนไม่มีสิทธิ์คัดค้าน โต้แย้ง ทำให้ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ในพื้นที่หมู่ที่ 11 ตำบลแม่ท้อ อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก ใช้วิถีชีวิตอยู่ในสภาวะจำยอม จำทน ในพื้นที่เต็มไปด้วยมลพิษทางเสียง มลพิษทางอากาศ รถขนหิน เศษซาก ฝุ่นผง หมอกควัน ตามแนวถน บ้านเรือนราษฎรมาอย่างยาวนาน กระทั่งรัฐบาลกำหนด “ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ. 2548 ของเจ้าหน้าที่รัฐ” ประชาชนจึงเริ่มร้องขอให้ผู้ได้รับประทานบัตร
ให้บริการในด้านอื่นๆ ที่ส่งผลกระทบต่อชุมชน อาทิ การใช้รถน้ำพรมดินแนวถนนป้องกันฝุ่น เป็นต้น

ต่อมา เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2556 ประชาชนบ้านลานสาง หมู่ 11 ตำบลแม่ท้อ รวมตัวกันกว่า 50 คน ยื่นหนังสือ คัดค้านการสัมปทานเหมืองแร่ในเขตป่าชุมชนใกล้หมู่ข้าน “บริเวณเขาแก้ว” เนื่องจากมีประกาศของอุตสาหกรรมจังหวัด แจ้งว่าให้ คัดค้านภายใน 20 วัน

ปี พ.ศ. 2563 มีบริษัทเอกชนรายใหม่ ต้องการขออนุญาตประทานบัตร เพื่อทำเหมืองแร่หิน ในพื้นที่ 246 ไร่ 1 งาน 55 ตารางวา โดยเมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2563 ประชาชนหมู่ที่ 11 ตำบลแม่ท้อ ได้รวมตัวกันคัดค้านการจะทำประชาคม ในวันที่ 10 มกราคม 2573 และมีเหตุให้ทางจังหวัด โดยผู้ว่าราชการจังหวัด สั่งให้อุตสาหกรรมจังหวัดตาก เลื่อนการทำประชาคมออกไป/////
ภาพและข่าว วรภา พันลุตัน จ.ตาก

ข่าวที่น่าติดตาม