22/11/2024

ม.ทักษิณ ร่วมมือเครือข่ายเคลื่อนธุรกิจชุมชนอำเภอศรีนครินทร์ ส่งเสริมการปลูกผักเหลียงใบใหญ่เพื่อเป็นพืชแซมเพิ่มรายได้

ม.ทักษิณ ร่วมมือเครือข่ายเคลื่อนธุรกิจชุมชนอำเภอศรีนครินทร์ ส่งเสริมการปลูกผักเหลียงใบใหญ่เพื่อเป็นพืชแซมเพิ่มรายได้

 


วันที่ 15 มีนาคม 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยทักษิณ เป็นประธานเปิดกิจกรรม พร้อมนำทีมวิจัย มหาวิทยาลัยทักษิณ ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการด้านการวิจัยและพัฒนาเชิงพื้นที่ : กิจกรรม “ส่งเสริมการปลูกเหลียงใบใหญ่เพื่อเป็นพืชแซม เพิ่มรายได้ร้อยละ 20 จำนวน 1,310 ต้น ให้แก่ครอบครัวบ้านเหลียงใบใหญ่ 131 ครัวเรือน ในอำเภอศรีนครินทร์” กิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นภายใต้ โครงการวิจัย “วิชชายุทธเกษตรสู้จน คนศรีนครินทร์” โดยมีผู้แทนส่วนราชการในพื้นที่จังหวัดพัทลุง ผู้บริหารมหาวิทยาลัยทักษิณ นักวิจัย และเครือข่าย เข้าร่วมโครงการ ณ ศูนย์เรียนรู้เครือข่ายสินธุ์แพรทอง ตำบลลำสินธุ์ อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง
รองศาสตราจารย์ ดร.ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยทักษิณ กล่าวในโอกาสเป็นประธานเปิดงานว่า การแแก้ไขปัญหาความยากจนในจังหวัดพัทลุง มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา และยกระดับ รวมทั้งสร้างโอกาสทางสังคม เพื่อเพิ่มโอกาสของการเข้าถึงพัฒนาอาชีพ การศึกษา

เรียนรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำได้อย่างตรงจุด และเหมาะสมกับบริบทของพื้นที่อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง ด้านการเกษตร โดยส่งเสริมการส่งเสริมการปลูกเหลียงใบใหญ่เพื่อเป็นพืชแซมในสวนผลไม้ หรือสวนยางพารา สำหรับเป็นแหล่งอาหารปลอดภัยช่วยลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนในระยะสั้น และสามารถเพิ่มรายได้ร้อยละ 20 ต่อครัวเรือน ได้ในระยะยาว ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการและร่วมเป็นสมาชิกบ้านเหลียงใบใหญ่ จำนวน 131 ครัวเรือน เพิ่มพื้นที่สีเขียว จำนวน 1,310 ต้น ให้แก่ครอบครัวบ้านเหลียงใบใหญ่
ทั้ง 4 ตำบลในอำเภอศรีนครินทร์ เพื่อแก้ไขปัญหาเพิ่มรายได้ให้กับกลุ่มเป้าหมายอย่างยั่งยืน ดังนั้น จึงมีการจัดกิจกรรมในวันนี้ขึ้น ความตั้งใจของทีมนักวิจัยและนักพัฒนาเชิงพื้นที่ในชุมชนที่ร่วมกันสร้างกระบวนการทำงานร่วมกัน และคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายเพื่อพัฒนาและยกระดับ ร่วมทั้งสร้างโอกาสทางสังคม เพื่อเพิ่มโอกาสของการเข้าถึงพัฒนาอาชีพ การศึกษาเรียนรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำได้อย่างตรงจุดและ เหมาะสม

ซึ่งทุกท่านที่ได้รับตันเหลียงใบใหญ่ จำนวน 10 ต้นต่อครัวเรือนไปปลูก และช่วยดูแลอย่างต่อเนื่อง และปฏิบัติตามข้อตกลงในธรรมนูญ ผักเหลียงใบใหญ่ ที่จะทำการปลูกเพื่อเพิ่มปริมาณเป็น 30 ต้น หลังจากนี้ 6 เดือน
รองศาสตราจารย์ คร.สมัคร แก้วสุกแสง รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม รักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและนวัตกรรม ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า มหาวิทยาลัยทักษิณ ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนา ระดับพื้นที่ (บพท.) ดำเนินการโครงการวิจัยภายใต้โครงการริเริ่มสำคัญ (Flagship Project) ปีงบประมาณ 2566 เรื่อง “การวิจัยและนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างเบ็ดเสร็จและแม่นยำในจังหวัดพัทลุง ปีที่ 3 ” และ ดำเนินการโครงการย่อยที่ 4 ภายใต้ชื่อ “วิชชายุทธเกษตรสู้จน คนศรีนครินทร์” เพื่อให้โครงการบรรลุวัตถุประสงค์ ในการพัฒนาโครงการที่ตอบโจทย์การพัฒนาพื้นที่ด้านเกษตรในอำเภอศรีนครินทร์ จึงกำหนดให้มีกิจกรรม “ส่งเสริมการปลูกเหลียงใบใหญ่เพื่อเป็นพืชแซม เพิ่มรายได้ร้อยละ 20 จำนวน 1,310 ต้น ให้แก่ครอบครัวบ้านเหลียงใบใหญ่ 131 ครัวเรือน ในอำเภอศรีนครินทร์ ” โดยมีกิจกรรมหลัก ได้แก่ กิจกรรมที่ 1 การส่งมอบต้นกล้าจำนวน 1,310 ต้น ให้แก่สมาชิกบ้านเหลียงใบใหญ่ 313 ครัวเรือน และกิจกรรมที่ 2 การลงนามความร่วมมือทางการวิจัยและพัฒนาเชิงพื้นที่ร่วมกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับเหลียงใบใหญ่ ส่วนกิจกรรมที่ 3 พิธีเปิดห้องปฏิบัติการชุมชนเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช และกิจกรรมที่ 4 การเสวนา “การก้าวไกลของผักเหลียงใบใหญ่จากศักยภาพท้องถิ่นไทยสู่สากล (Local to Global) ” ณ ศูนย์เรียนรู้เครือข่ายสินธุ์แพรทอง ตำบลลำสินธุ์ อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง

 

นายปรีชา สถิตย์เรืองศักดิ์ / หาดใหญ่ จ.สงขลา

ข่าวที่น่าติดตาม