22/11/2024

เพชรบูรณ์   Kick-Off  ยกระดับ 30 บาท รักษาได้ทุกที่ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว ยกระดับคุณภาพบริการสุขภาพพร้อมจังหวัดนำร่องระยะที่ 2

เพชรบูรณ์   Kick-Off  ยกระดับ 30 บาท รักษาได้ทุกที่ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว ยกระดับคุณภาพบริการสุขภาพพร้อมจังหวัดนำร่องระยะที่ 2
  30 มีนาคม 2567 เวลา 18.30 น.  ที่วิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตเพชรบูรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์   นายแพทย์โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รักษาการในตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 2   เป็นประธาน Kick-Off  ยกระดับ 30 บาท รักษาได้ทุกที่ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว  ในพื้นที่ จังหวัดเพชรบูรณ์   โดยมี นายสืบพงษ์  นิ่มพูลสวัสดิ์  รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์  วิชาญ คิดเห็น นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเพชรบูรณ์ หัวหน้าส่วนราชการ แพทย์ พยาบาล  อสม.   และประชาชน เข้าร่วม
สำหรับการดำเนินการ Kick-Off  ยกระดับ 30 บาท รักษาได้ทุกที่ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว ในครั้งนี้ เป็นการ Kick-Off   พร้อมกัน  8 จังหวัด นำร่อง ระยะที่ 2 ประกอบไปด้วย จ.เพชรบูรณ์ จ.นครสวรรค์ จ.สิงห์บุรี จ.สระแก้ว จ.หนองบัวลำภู จ.นครราชสีมา จ.อำนาจเจริญ และ จ.พังงา   ซึ่ง รัฐบาลโดยกระทรวงสาธารณสุข ได้จัดพิธีคิกออฟ ยกระดับ 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว ระยะที่ 2 อย่างเป็นทางการ ที่ อาคารชาติชาย ฮอลล์ สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาฯ   จ.นครราชสีมา
นายวิชาญ คิดเห็น นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเพชรบูรณ์ กล่าวว่า   นโยบาย ยกกระดับ 30 บาท รักษาได้ทุกที่ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว มีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับคุณภาพบริการสุขภาพประชาชนด้วยดิจิทัล สามารถเชื่อมโยงข้อมูลการรับบริการได้ทุกหน่วยบริการ ทั้งสถานบริการภาครัฐ และภาคเอกชน ซึ่งจะทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ข้อมูลสุขภาพของตนเองด้วยดิจิทัล โดยจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็น 1 ใน 8 จังหวัดนำร่องระยะที่ 2 ที่ดำเนินงานและพัฒนาระบบการบริการตามนโยบายสุขภาพดิจิทัล ของกระทรวงสาธารณสุข นโยบายบัตรประชาชนใบเดียวรักษาได้ทุกที่ นับว่าเป็นนโยบายสำคัญที่จะช่วยให้เกิดระบบบริการสาธารณสุขในพื้นที่อย่างไร้รอยต่อ เพิ่มการเข้าถึงบริการคุณภาพได้อย่างเท่าเทียม
เช่น การบริการประวัติสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์ สมุดสุขภาพประชาชน ใบรับรองแพทย์ดิจิทัล สามารถสั่งยา/สั่งแล็ป ผ่านระบบออนไลน์ การบริการการแพทย์และเภสัชกรรมทางไกล การนัดหมายออนไลน์ การบริการรับ-ส่งยาทางไปรษณีย์ รวมถึงการเบิกจ่ายกับกองทุนสุขภาพต่างๆ ผ่านระบบคลังข้อมูลกลาง ตลอดจนการส่งต่อการรักษาโดยไม่ใช้ใบส่งตัวแบบเดิม มีการบริการเจาะเลือดใกล้บ้าน สามารถดูแลผู้ป่วยที่บ้าน ลดระยะเวลารอคอยของประชาชนผู้รับบริการ นำไปสู่การบริหารระบบบริการที่ถูกต้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ  โดยในเดือนพฤษภาคม 2567 จะเพิ่ม 20 จังหวัด จากนั้นขยายครอบคลุมทั้งประเทศ ภายในปี 2567

ข่าวที่น่าติดตาม