ชัยภูมิ-สพม.ชัยภูมิ เร่งอบรมเชิงปฏิบัติการ “ยุวมัคคุเทศก์” แก่ครูผู้สอน ขยายผลสู่นักเรียน
ชัยภูมิ-สพม.ชัยภูมิ เร่งอบรมเชิงปฏิบัติการ “ยุวมัคคุเทศก์” แก่ครูผู้สอน ขยายผลสู่นักเรียน
เมื่อเร็วๆนี้ ดร.ชัยวัฒน์ ตั้งพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิ (สพม.ชัยภูมิ) เปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการตามโครงการการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ชัยภูมิยุวมัคคุเทศก์ พัฒนาการเรียนรู้ เชิงรุก ส่งเสริมแหล่งเรียนรู้ มุ่งสู่มาตรฐานสากล (Chaiyaphum Smart Guide Enhance Active Learning through Resources Development for international Learning Pathway ) ประจำปี2567 แก่ครูภาษาอังกฤษจากโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิ โรงเรียนละ 2 คน จำนวนทั้งสิ้น 74 คน มีระยะเวลาในการจัดโครงการ 1 วัน ใน วันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 ณ ห้องประชุม 1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิ
ดร.ชัยวัฒน์ กล่าวว่า การจัดอบรมครั้งนี้ เพื่อให้ความรู้และพัฒนาทักษะ ภาษาอังกฤษ และภาษาต่างประเทศอื่น ผ่านกิจกรรมมัคคุเทศก์แก่ครูสู่การพัฒนานักเรียนในสังกัด สพม.ชัยภูมิ เป็นการสนองนโยบายเร่งด่วน ของท่าน รมว.ศึกษาธิการ ด้านการประชาสัมพันธ์ soft power สถานที่สำคัญ แหล่งท่องเที่ยว ประวัติศาสตร์ ภูมิปัญญา สินค้าอื่นๆ ของจังหวัดชัยภูมิ เป็นภาษาต่างประเทศอื่นๆ ให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง เป็นการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โดยผ่านกิจกรรมมัคคุเทศก์ในท้องถิ่น สู่การจัดการเรียนรู้เทียบเคียงมาตรฐานสากล และที่สำคัญต้องการพัฒนาวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศจากการปฏิบัติงาน (Best Practice) ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูผู้สอนภาษาต่างประเทศผ่านกิจกรรมด้านมัคคุเทศก์
ด้าน นายประทีปแสง พลรักษา รองผู้อำนวยการ สพม.ชัยภูมิ กล่าวว่า การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ชัยภูมิยุวมัคคุเทศก์ พัฒนาการเรียนรู้ เชิงรุก ส่งเสริมแหล่งเรียนรู้มุ่งสู่มาตรฐานสากล (Chaiyaphum Smart Guide Enhance Active Learning through Resources Development for international Learning Pathway ) ประจำปีงบประมาณ 2567 เนื่องจากภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางของโลก และใช้สื่อสารกันได้ทั่วโลก ประกอบกับการจัดการเรียนรู้ต้องให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยความสุข และเกิดทักษะจากการลงมือปฏิบัติจริง ประกอบกับการจัดการเรียนรู้ของครูต้องให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษหรือภาษาต่างประเทศ ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ความสุข เกิดทักษะจากการลงมือปฏิบัติจริงและ กระบวนการพัฒนาเข้าสู่ห้องเรียน เชื่อมโยงกับสิ่งที่เป็นsoft Power ของจังหวัดชัยภูมิ ซึ่งเป็นการพัฒนาการศึกษาภาษาต่างประเทศภายใต้กิจกรรมชัยภูมิ ยุวมัคคุเทศก์ ส่งผลต่อการพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุเป้าหมายในการเรียนรู้
ทั้งนี้ ได้รับความการสนับสนุนร่วมมือ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ธิเช่น สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดชัยภูมิ โรงพยาบาลชัยภูมิรวมแพทย์ มัตสุบายาชิ และอื่นๆ เนื่องจากจังหวัดชัยภูมิ เป็นจังหวัดแห่งการท่องเที่ยวตลอดทั้งปี เช่น น้ำตกตาดโตน มอหินขาว พระธาตุชัยภูมิ และแหล่งท่องเที่ยวดอกกระเจียวบาน ทั้ง 2 แห่ง ณ อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม และอุทยานแห่งชาติไทรทอง และแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆอีกมากมาย ////