“อลงกรณ์ ประธานFKII”เสนออัพเกรดประเทศสู่ก้าวใหม่เศรษฐกิจไทย ตั้งเป้าก้าวใหญ่“มหาอำนาจอาหารและการท่องเที่ยวโลก”
“อลงกรณ์ ประธานFKII”เสนออัพเกรดประเทศสู่ก้าวใหม่เศรษฐกิจไทย ตั้งเป้าก้าวใหญ่“มหาอำนาจอาหารและการท่องเที่ยวโลก”
สมาคมเครือข่ายผู้สื่อข่าวและสื่อมวลชนนานาชาติ เชิญ นายอลงกรณ์ พลบุตร ประธานสถาบันเอฟเคไอไอ ไทยแลนด์ รองประธานคณะกก.ยุทธศาสตร์ ปชป.
อดีตรองประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ
บรรยายพิเศษเรื่อง
“ก้าวใหม่เศรษฐกิจไทย
โอกาสในวิกฤติ”ในการสัมนาจัดโดยสมาคมฯ.และหนังสือพิมพ์ THAILAND TODAY NEWS ที่โรงแรมเดอะบาซาร์
นายอลงกรณ์ได้นำเสนอใน 5 ประเด็น
1. ก้าวเก่าเศรษฐกิจไทย
2. ทุกความท้าทาย คือ โอกาส
3. เศรษฐกิจแห่งอนาคต
4. มหาอำนาจอาหารการท่องเที่ยวโลก
: เกมที่ไทยเอาชนะได้
5. ก้าวใหม่เศรษฐกิจไทย : ก้าวข้ามขีดจำกัด
โดยฉายภาพ
“ก้าวเก่าเศรษฐกิจไทย”ว่า เป็นเศรษฐกิจดั้งเดิมเคยรุ่งเรืองในทศวรรษที่80-90จนได้ชื่อว่าเป็นเสือตัวที่5แห่งเอเชียขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมแต่เป็นอุตสาหกรรมโออีเอ็ม.(OEM)ขาดการวิจัย&พัฒนา(R&D)มีโครงสร้างเศรษฐกิจแบบกระจุกตัวและผูกขาดมีการคอรัปชั่นมากเหมือนมะเร็งร้ายขาดพลังในการยกระดับศักยภาพตัวเองทำให้การขยายตัวของ GDP โตช้าโตต่ำเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างมีความเหลื่อมล้ำสูง การกระจายรายได้ต่ำ รายได้ประชาชนชะลอตัว การส่งออกอ่อนแรง รายได้รัฐต่ำ ต้องทำงบประมาณขาดดุลต่อเนื่องเกือบ20ปีทำให้ เมื่อเผชิญวิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้งวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ วิกฤติโรคระบาดโควิ-19 พร้อมกับสงครามรัสเซีย-ยูเครนสงครามอิสราเอล-ปาเลสไตน์ และสงครามการค้าสหรัฐ-จีน ทำให้สถานการณ์ยิ่งทรุดหนักส่งผลกระทบทำให้
จีดีพี.ปี2566เติบโตเพียง 1.9%และไตรมาสแรกปีนี้ขยายตัวเพียง1.5%เป็นประเทศที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจต่ำสุดอันดับ9ของอาเซียนเหนือกว่าเมียนมาร์เพียงประเทศเดียวจากสภาพการณ์ดังกล่าวทำให้ปัจจุบันมีหนี้สาธารณะกว่า10ล้านล้านหรือกว่า60%ของจีดีพีมีหนี้ครัวเรือนกว่า16ล้านล้านบาทหรือกว่า90%ของจีดีพี. ติดกับดักประเทศรายได้ปานกลางกลายเป็นเสือตัวที่5ของอาเซียน
นอกจากนี้ยังเผชิญกับความผันผวนความท้าทายและโอกาสของแนวโน้มและโจทย์เมกะเทรนด์และเมกะเทรธ(Megatrend & Megathreat)เช่น
1.โลกร้อน โลกรวน (Climate Change)
2.ภูมิรัฐศาสตร์ ภูมิเศรษฐศาสตร์(Geo-Politics &Geo-Economics)
3.สังคมสูงวัย(Aging Society)
4.เอไอ เทคโนโลยี ดิสรัปชั่น(AI-Technology Disruption)
5.ความมั่นคงทางอาหาร(Food Security)
เราต้องสร้างโอกาสในวิกฤติด้วยการปฏิรูปโครงสร้างและระบบเศรษฐกิจแบบยกเครื่องเป็นก้าวใหม่เศรษฐกิจไทยบนหลักการ สมดุล&ยั่งยืน (Balance & Sustainability)และอีเอสจี.(ESG:Environmental, Social,Governance ) ด้วยการสร้างโมเดลเศรษฐกิจใหม่
1.เศรษฐกิจดิจิตอล(Digital Economy)
2.เศรษฐกิจสีเขียว(Green Economy)
3.เศรษฐกิจสร้างสรรค์(Creative Economy)
4.เศรษฐกิจสีเงินหรือเศรษฐกิจสูงวัย(Silver Economy)
5.เศรษฐกิจนวัตกรรม(Innovation Economy)
6.เศรษฐกิจคาร์บอน(Carbon Economy)
นายอลงกรณ์ อดีตรัฐมนตรีช่วยพาณิชย์และอดีต ส.ส กล่าวว่า
”…โมเดลเศรษฐกิจใหม่เป็นคานงัดยกระดับอัพเกรดศักยภาพใหม่ให้ประเทศ
เราต้องปรับตัวเมื่อโลกเปลี่ยน
กล้าก้าวข้ามขีดจำกัดในอดีตพลิกโฉมประเทศใหม่ตอบโจทย์ความท้าทายในอนาคตด้วยระบบเศรษฐกิจใหม่จึงจะสามารถสร้างรายได้ให้ประเทศและประชาชนพ้นจากหนี้สาธารณะและหนี้ครัวเรือนพร้อมกับมีงบประมาณมากพอที่จะพัฒนาการศึกษา ลงทุนด้านวิจัยและพัฒนา ยกระดับการสาธารณสุขและสร้างระบบสวัสดิการรัฐให้กับประชาชนอย่างมีคุณภาพและทั่วถึง…”
ทั้งนี้นายอลงกรณ์ยังได้ยกตัวอย่างการวางวิสัยทัศน์ภายใต้โมเดลเศรษฐกิจใหม่โดยตั้งเป้าหมายให้ประเทศไทยเป็น“มหาอำนาจอาหารและการท่องเที่ยวโลก”(Food & Tourism Superpower)เป็นการต่อยอดศักยภาพเดิมเสริมศักยใหม่ที่ประเทศไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขันสูงในระดับโลก เนื่องจากประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกอาหารและสินค้าเกษตรอันดับ12และอันดับ13ของโลกและสามารถผลิตได้ตลอด365วันทั้งยังมีความหลากหลายทางชีวภาพ(Biodiversity)ท็อปเทน
ของโลก ตอบสนองปัญหาความมั่นคงอาหารจากผลกระทบของภาวะโลกร้อนโลกรวน
ยิ่งกว่านั้นยังมีโครงสร้างศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม(AIC :Agitech and Innovation Center)จัดตั้งครบ77จังหวัดในมหาวิทยาลัยทั่วประเทศสมัย ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน เป็นรัฐมนตรีเกษตรฯ.ตามนโยบายเทคโนโลยีเกษตร4.0ที่มีตนเป็นประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายปี2563-2566ซึ่งมีนวัตกรรมเกือบ1พันรายการสามารถถ่ายทอดไปยังฟาร์มและอุตสาหกรรมอาหารได้ทันที
ทางด้านการท่องเที่ยว เราเป็นประเทศที่มีทรัพยากรการท่องเที่ยวหลากหลายและวัฒนธรรมที่งดงามทั้งในเมืองและต่างจังหวัดซึ่งในช่วงก่อนโควิดมีนักท่องเที่ยวต่างชาติมาไทย40ลัานคนมีรายได้จากการท่องเที่ยวอยู่อันดับสูงสุด1ใน5ของโลกและปีนี้คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวไม่ต่ำกว่า30ล้านคน
โดยรัฐบาลตั้งเป้าหมายสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวปี 2567 ไว้ที่ 3.5 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นรายได้จากการท่องเที่ยวภายในประเทศ 1 ล้านล้านบาท และรายได้จากการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวต่างชาติ 2.5 ล้านล้านบาท
(ปี 2566 มีจำนวนนักท่องเที่ยวสะสมตลอดทั้งปี ทะลุ 28 ล้านคน มีรายได้จากการท่องเที่ยวต่างชาติ 1.2 ล้านล้านบาท)
สำหรับตัวเลขการส่งออกปี 2566 ประเทศไทยส่งออก284,561.8 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรเป็นมูลค่า 49,203.1 ล้านเหรียญสหรัฐ (1.69 ล้านล้านบาท) คิดเป็นสัดส่วน 17.3% ของมูลค่าการส่งออกรวม (สินค้าเกษตร 9.4% และสินค้าอุตสาหกรรมเกษตร 7.9%) แบ่งเป็นสินค้าเกษตร 26,801.7 ล้านเหรียญสหรัฐ (0.92 ล้านล้านบาท) ขยายตัว 0.2% และสินค้าอุตสาหกรรมเกษตร 22,401.4 ล้านเหรียญสหรัฐ (มูลค่า 0.77 ล้านล้านบาท) หดตัว 1.7%
สินค้าเกษตรส่งออกส่วนใหญ่เป็นสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodities) หรือมีการแปรรูปขั้นต้นเท่านั้น จึงต้องเร่งส่งเสริมและผลักดันให้ไทยส่งออกสินค้าเกษตรมูลค่าสูงและสินค้าอุตสาหกรรมเกษตร-อาหารเพิ่มขึ้น เช่น อาหารแห่งอนาคต อาหารฮาลาล อาหารเสริม อาหารสัตว์เลี้ยง สินค้าเกษตรอินทรีย์สินค้าเกษตรแปรรูปและผลิตภัณฑ์สารสกัดจากวัตถุดิบเกษตร.