22/11/2024

อยุธยา – (สทนช.) จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการหารือระดับภูมิภาค ครั้งที่ 2 สำหรับโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนพิเศษแม่โขง – ล้านช้าง ร่วมกับหน่วยงานภายใต้กรอบความร่วมมือแม่โขง – ล้านข้าง ณ.จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

อยุธยา – (สทนช.) จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการหารือระดับภูมิภาค ครั้งที่ 2 สำหรับโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนพิเศษแม่โขง – ล้านช้าง ร่วมกับหน่วยงานภายใต้กรอบความร่วมมือแม่โขง – ล้านข้าง ณ.จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

 

   

วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน 2567 เวลา 8.30 น. ณ.โรงแรมเดอะ คาวาลิ คาซ่า รีสอร์ท จ.พระนครศรีอยุธยา ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เป็นประธานในการประชุมเชิงปฏิบัติการหารือระดับภูมิภาค ครั้งที่ 2 สำหรับโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนพิเศษแม่โขง – ล้านช้าง ร่วมกับหน่วยงานภายใต้กรอบความร่วมมือแม่โขง – ล้านข้าง โดยมีผู้ร่วมงานประกอบด้วย ผู้นำเยาวชนจาก 6 ประเทศลุ่มน้ำโขง-ล้านช้างผู้แทนจากสถานทูตจีนประจำกรุงเทพฯ หน่วยงานหลักที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเยาวชนในภูมิภาค หน่วยงานที่ดำเนินการโครงการการสร้างเครือข่ายผู้นำเยาวชนภาคส่วนน้ำในภูมิภาคล้านช้าง-แม่โขง (WSYLN project) ได้แก่ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (ONWR) สถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (The Sustainable Environment Research Instiute (SERI),Chulalongkorn University) สถาบันสิ่งแวดล้อมสตอกโฮล์ม ศูนย์เอเชีย (Stockholm Environment Institute, Asia Centre) และศูนย์ความร่วมมือทรัพยากรน้ำล้านช้าง-แม่โขง (LMC Water Center) เครือข่ายเยาวชนที่เกี่ยวข้องรวมถึง SUMERNET Young Professionals ผู้ปฏิบัติ ผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานภาครัฐและสถาบันการศึกษา และบริษัทเอกชน

   

การมีส่วนร่วมของเยาวชนและชุมชนในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ ภูมิภาคล้านช้าง-แม่โขง ซึ่งจะเป็นประเด็นสำคัญของ การประชุมเชิงปฏิบัติการระดับภูมิภาคครั้งที่ 2 ในโครงการ “การสร้างเครือข่ายผู้นำเยาวชนภาคส่วนน้ำในภูมิภาคล้านช้าง-แม่โขง” และโครงการ “การส่งเสริมเทคโนโลยีและนวัตกรรมอัจฉริยะด้านการบริหารจัดการน้ำและะการผลิตข้าวอย่างยั่งยืน ภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศในภูมิภาคล้านช้าง-แม่น้ำโขง” ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประเทศไทย ระหว่างวันที่ 13-15 พฤศจิกายน 2567 งานนี้เป็นการรวมตัวของผู้นำเยาวชน ผู้ดำเนินโครงการ ผู้ปฏิบัติ เกษตรกรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญจากทั้ง 6 ประเทศลุ่มน้ำโขง-ล้านช้างเข้าด้วยกันเพื่อหารือเกี่ยวกับความสำเร็จของโครงการ ได้แก่ ร่างแผนปฏิบัติการ 5 ปีสำหรับผู้นำเยาวชนในภาคส่วนน้ำและเพิ่มขีดความสามารถด้านการสื่อสาร การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะด้านการบริหารจัดการน้ำและะการผลิตข้าว การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลายกลุ่ม และความเป็นผู้นำ ตามที่ได้รับการยืนยันในปฏิญญาเวียงจันทน์ของการประชุมผู้นำ MLC ครั้งที่ 3 เมื่อปี 2561ความร่วมมือลุ่มน้ำโขง-ล้านช้าง (Mekong-Lancang Cooperation – MLC) เน้นย้ำถึงการรวมเยาวชนเข้าไว้ในความคิดริเริ่มที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการน้ำการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มุ่งหวังที่จะส่งเสริมวิสัยทัศน์นี้โดยการเสริมสร้างศักยภาพของเยาวชน ส่งเสริมความร่วมมือของชุมชน และสรุปผลงานสำคัญรวมถึงการออกแบบแผนปฏิบัติการและแถลงการณ์ร่วมของเครือข่ายผู้นำเยาวชน

   

การประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของความคิดริเริ่มระยะยาวในการสร้างเครือข่ายผู้นำเยาวชนในภูมิภาคที่มุ่งเน้นธรรมาภิบาลด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแบบบูรณาการในภูมิภาคแม่น้ำโขง-ล้านช้าง นางชญานิศ กฤตสุทธชีวะ รองผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมสตอกโฮล์ม ภาคพื้นเอเชีย (Stockholm Environment Institute, Asia Centre) และหัวหน้าโครงการ “การสร้างเครือข่ายผู้นำเยาวชนภาคส่วนน้ำในภูมิภาคล้านช้าง-แม่โขง” กล่าวว่า “การประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ถือเป็นโอกาสอันมีค่าที่จะเน้นย้ำถึงบทบาทที่เพิ่มมากขึ้นของเยาวชนในการมีส่วนร่วมการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง-ล้านช้าง เพื่อความมั่นคงด้านน้ำและความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศซึ่งเป็นความท้าทายระดับโลกที่เร่งด่วน การมีส่วนร่วมของผู้นำเยาวชนจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการสร้างแนวทางแก้ปัญหาที่ยั่งยืนและเป็นครั้งแรกที่ผู้นำเยาวชนและผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำรุ่นเยาว์จากประเทศลุ่มน้ำโขง-ล้านข้างทั้ง 6 ประเทศมารวมตัว กันเพื่อทำแผนปฏิบัติการในกรอบระยะเวลา 5 ปี แผนนี้จะช่วยให้เยาวชนมีโอกาสในการสร้างศักยภาพความ

 

สุจินดา อุ่นขาว รายงานจากอยุธยา