18/12/2024

กาฬสินธุ์ไดโนพาเลาะส่งเสริมการท่องเที่ยวสร้างสรรค์

1832184_0

กรมทรัพยากรธรณี จัดโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรม “ไดโนพาเลาะ ครั้งที่ 6 ท่องเที่ยว สร้างสรรค์ เบิ่งวัฒนธรรม มรดกธรณี” โชว์เส้นทางท่องเที่ยวทางธรณีถ้ำฝ่ามือแดง สะพานหิน ลานหินปุ่ม ที่ภูผาผึ้ง และตลาดสินค้าพื้นเมืองพร้อมกิจกรรม ดีไอวาย ของเยาวชน

 

ที่พิพิธภัณฑ์สิรินธร สำนักงานทรัพยากรธรณี เขต 2 กรมทรัพยากรธรณี ต.โนนบุรี อ.สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์ นายสุเมธ สายทอง รองอธิบดีกรมทรัพยากรธรณี นายนพดล จอมเพชร รอง ผวจ.กาฬสินธุ์ เป็นประธานเปิดโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรม การเผยแพร่ความรู้แหล่งมรดกธรณีถ้ำฝ่ามือแดง สะพานหิน ลานหินปุ่ม ภูผาผึ้ง จ.กาฬสินธุ์ ภายใต้ชื่องาน “ไดโนพาเลาะ ครั้งที่ 6 ท่องเที่ยว สร้างสรรค์ เบิ่งวัฒนธรรม มรดกธรณี”
ระหว่างวันที่ 4 – 8 ธันวาคม 2567 ณ พิพิธภัณฑ์สิรินธร จ.กาฬสินธุ์ โดยมีนางสาวพรเพ็ญ จันทสิทธิ์ ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์สิรินธร นางเฉลิมขวัญ หล่อตระกูล นายกอบจ.กาฬสินธุ์ ให้การต้อนรับ ซึ่งมี นางสาวสายพิรุณ เพิ่มพูล ที่ปรึกษาอธิบดีกรมทรัพยากรธรณี นายอุทัย สิงห์ทอง พัฒนาการจ.กาฬสินธุ์ นางนภัสสร พระยาลอ วัฒนธรรมจ.กาฬสินธุ์ นางสาวแววตา นระทัด นายอำเภอสหัสขันธ์ นายสิทธิชัย อินทุประภา รองผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานขอนแก่น และส่วนราชการ ประชาชนในพื้นที่อุทยานธรณีกาฬสินธุ์ 7 อำเภอ ร่วมกิจกรรมพิธีเปิด และร่วมทริปนั่งรถรางท่องเที่ยวชมเมืองไดโนเสาร์ ซึ่งมีเส้นทางไดโนพาเลาะ ชมเมือง เยี่ยมสวนผักบ้านโนนสวาท เช็คอินไดโนเสาร์สอยน้ำ และสะพานเทพสุดา

 

นายสุเมธ สายทอง รองอธิบดีกรมทรัพยากรธรณี กล่าวว่า กรมทรัพยากรธรณี มีนโยบายสนับสนุนส่งเสริมแหล่งมรดกธรณี ที่สำคัญของประเทศไทย รวมทั้ง แหล่งมรดกธรณี ถ้ำฝ่ามือแดง สะพานหิน ลานหินปุ่ม ภูผาผึ้ง อ.กุฉินารายณ์ แหล่งมรดกธรณีผาแดง อ.สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์ ให้ได้รับการพัฒนา ยกระดับ อนุรักษ์ และมีการบริหารจัดการโดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เพื่อผลักดันให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางธรณีวิทยาที่สำคัญของจ.กาฬสินธุ์ ในอนาคต รวมถึงการผลักดันให้อุทยานธรณีกาฬสินธุ์ ซึ่งปัจจุบันอยู่ระดับท้องถิ่น ยกระดับสู่การเป็นอุทยานธรณีระดับประเทศ และระดับยูเนสโก ต่อไป
อย่างไรก็ตามโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรม ภายใต้ชื่องาน “ไดโนพาเลาะ ครั้งที่ 6 ท่องเที่ยว สร้างสรรค์ เบิ่งวัฒนธรรม มรดกธรณี” มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้ และประชาสัมพันธ์แหล่งมรดกธรณี ถ้ำฝ่ามือแดง สะพานหิน ลานหินปุ่ม ภูผาผึ้ง อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์ และส่งเสริมอัตลักษณ์เชื่อมโยงกับวิถีชุมชนและเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยา ในพื้นที่อุทยานธรณีกาฬสินธุ์ ให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ กรมทรัพยากรธรณี มีความยินดีให้การสนับสนุนข้อมูลทางวิชาการ รวมถึงการสร้างการรับรู้ และตระหนักรู้ถึงคุณค่าและความสำคัญของแหล่งมรดกธรณี ให้กับเยาวชน ประชาชนทั่วไป และนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ โดยมีพิพิธภัณฑ์สิรินธร จ.กาฬสินธุ์ เป็นศูนย์กลาง

 

นายนพดล จอมเพชร รองผวจ.กาฬสินธุ์ กล่าว่า จ.กาฬสินธุ์ มีมรดกอันล้ำค่า
ทั้งทางด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ชาติพันธุ์ และทางธรณีวิทยา โดยเฉพาะแหล่งมรดกธรณี ภูผาผึ้ง ถ้ำฝ่ามือแดง สะพานหิน ลานหินปุ่ม อ.กุฉินารายณ์ แหล่งมรดกธรณีผาแดง บนยอดเขาภูสิงห์ อ.สหัสขันธ์ ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรณีวิทยา ธรรรมชาติวิทยา ที่มีสวยงาม ซึ่งจ.กาฬสินธุ์ และกรมทรัพยากรธรณี จะมีการทำงานบูรณาการร่วมกัน ในการพัฒนา ผลักดันให้แหล่งมรดกธรณีภูผาผึ้ง และผาแดง รวมทั้งแหล่งมรดกธรณีอื่น ในพื้นที่อุทยานธรณีกาฬสินธุ์ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ และเป็นที่รู้จักของคนในจ.กาฬสินธุ์เอง และนักท่องเที่ยวทั่วประเทศ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการสร้างรายได้ให้กับชุมชนและประชาชน อย่างยั่งยืน ต่อไป

   

นางเฉลิมขวัญ หล่อตระกูล นายกอบจ.กาฬสินธุ์ กล่าว่า ขอบเขตพื้นที่อุทยานธรณีกาฬสินธุ์ ประกอบด้วย 7 อำเภอ คือ สหัสขันธ์ คำม่วง สมเด็จ ห้วยผึ้ง นาคู กุฉินารายณ์ และ เขาวง ในแต่ละอำเภอมีความโดดเด่น ครบทั้ง 3 มรดกที่สำคัญ ทั้งด้านธรณีวิทยา ธรรมชาติวิทยา
และทางด้านวัฒนธรรม ซึ่งอบจ.กาฬสินธุ์ พร้อมสนับสนุน และผลักดัน ให้อุทยานธรณีกาฬสินธุ์ ยกระดับสู่อุทยานธรณีระดับประเทศ และระดับยูเนสโก โดยทุกภาคส่วน รวมทั้งประชาชนในพื้นที่
ต้องให้ความสำคัญ และร่วมมือกัน เพราะหัวใจหลักของอุทยานธรณี คือประชาชน ดังคำที่ว่า“GEOPARK
IS PEOPLE” นั่นเอง

 

ข่าวที่น่าติดตาม