18/12/2024

ชุมพร – ถ่ายทอดศิลปะการแสดง มโนราห์ 

S__145072145_0

ชุมพร – ถ่ายทอดศิลปะการแสดง มโนราห์

 

โรงเรียนเมืองชุมพรบ้านเขาถล่ม จัดการอบรมและถ่ายทอดศิลปะการแสดงมโนราห์ ตั้งแต่วันที่ 24,30 พฤศจิกายนถึงวันที่10 ธันวาคม 2567 ณ โรงเรียนเมืองชุมพรบ้านเขาถล่ม มีนักเรียนและผู้สนใจเข้าร่วม 50 คน เพื่อสืบสานศิลปะการแสดงพื้นบ้านมโนราห์ให้อยู่คู่ภาคใต้  นางอัจฉริยา สุจริต ผู้อำนวยการโรงเรียน นางสาวโสวนีย์ จงแดง รองผู้อำนวยการ และคณะครูทุกท่าน ให้การสนับสนุน ส่งเสริม

โดยมีวิทยากรสอนโนรา คุณครูกฤษฎา วิสัยรัตน์ (ครูหนึ่ง) ครูวาสุรัตน์ เต็มสังข์  (ครูมอส)และนักเรียนโรงเรียนสอาดเผดิมวิทยา มาฝึกหัดจนสำเร็จ และมีผู้สนับสนุน ผ.อ.สุนทรี โพธิ์ทักษิณ  คุณอนุรักษ์ จันทรสุวรรณ์ วัฒนธรรมจังหวัดชุมพร ตลอดผู้ปกครองนักเรียนให้การส่งเสริม สนับสนุนการแสดงมโนราห์ของโรงเรียนเมืองชุมพรบ้านเขาถล่มเป็นอย่างดี นายยุทธพงษ์ ปรีชาไว(หนังครูเมฆ)ผู้รับผิดชอบโครงการนี้ ขอขอบคุณทุกท่านเป็นอย่างมากที่สนับสนุน ส่งเสริม ต่อยอดการแสดงมโนราห์

หลักการและเหตุผล “มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม” หมายถึง การปฏิบัติ การแสดงออก ความรู้ ทักษะ ตลอดจน เครื่องมือ วัตถุ สิ่งประดิษฐ์ และพื้นที่ทางวัฒนธรรม ซึ่งชุมชน กลุ่มชน หรือปัจเจกบุคคลยอมรับว่า เป็นส่วน หนึ่งของมรดกทางวัฒนธรรมของตน โดยถือเป็นมรดกที่ได้รับการถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปยังคนอีกรุ่นหนึ่ง เป็นสิ่งสำคัญที่ชุมชนและ กลุ่มชนสร้างและพัฒนาขึ้นอย่างสม่ำเสมอ เพื่อตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมและ วัตถุประสงค์ของตน ซึ่งสามารถท่าให้คนเหล่านั้นเกิดความภูมิใจในตัวตนและส่านึกหวงแหนในคุณค่าของ มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชุมชน กลุ่มชน หรือปัจเจกบุคคลต่อการคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่มีนั้น ศิลปะการแสดง (Performing Arts) เป็นสาขาหนึ่งใน 7 ของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม หมายถึง การแสดงออกซึ่งอารมณ์ ความรู้สึก และเรื่องราวต่างๆ โดยมีผู้แสดงเป็นสื่อ ผ่านทางเสียง ได้แก่ การขับร้อง หรือการเล่นดนตรี และทางร่างกาย เช่น การร่ายร่า การเชิด การเต้น การแสดงท่าทาง ฯลฯ ศิลปะการแสดง ของภาคใต้ที่นิยมและมีชื่อเสียงที่ถือได้ว่าเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นของภาคใต้ที่สำคัญ ได้แก่ มโนราห์ เป็นศิลปะการแสดงที่สะท้อนเอกลักษณ์ และ อัตลักษณ์ ของท้องถิ่นภาคใต้ได้อย่างดี การแสดงมโนราห์ เป็นศิลปะการแสดงการร่ายร่าที่มีชีวิตงดงาม ขับร้องโดยใช้ภาษาไทยถิ่นใต้ พร้อม กับดนตรีประกอบจังหวะที่เร้าใจ และเครื่องแต่งกายที่วิจิตรประณีต มีรากสืบทอดมาจากความเชื่อและ พิธีกรรมของชุมชนในภาคใต้ ซึ่งผู้สืบเชื้อสายโนราจะรวมตัวกันเพื่อบวงสรวง เซ่นไหว้ครูหมอโนราหรือบรรพบุรุษ และเพื่อขจัดปัดเป่าวิญญาณชั่วร้าย พิธีกรรมโนรานั้นเป็นการเชื่อมต่อชุมชนกับบรรพบุรุษ และสืบทอดโนรา รุ่นใหม่รวมถึงรักษาความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับบุคคลและชุมชนและช่วยอำนวยอวยพรให้แก่ผู้เข้าร่วมพิธีและใน ปี พ.ศ. ๒๕๖๒ กรมส่งเสริมวัฒนธรรมได้เสนอโนรา ภายใต้ชื่อ Nora Dance Drama in Southern Thailand ขึ้นบัญชีเป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติต่อองค์การยูเนสโก

 

ธนากร โกศลเมธีรายงาน 0818923514

ข่าวที่น่าติดตาม