สงขลา-เลือกนายก อบจ.สงขลา “เงินไม่มากามาเป็น” ชาวบ้านขู่ “นายทุน” เงินอยู่กับใคร ให้คนนั้นไปลงคะแนน
สงขลา-เลือกนายก อบจ.สงขลา “เงินไม่มากามาเป็น” ชาวบ้านขู่ “นายทุน” เงินอยู่กับใคร ให้คนนั้นไปลงคะแนน
แถม “ลดราคา” จากเสียงละ 500 เป็น 300 ในการเลือกตั้ง ลดราคาการ”ขนคน” ไปฟังการปรายศรัย” จาก 300 เป็น 200 และ 100 ตามสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ
ผู้สื่อข่าว ที่ติดตามความเคลื่อนไหวของการเมืองท้องถิ่น การหาเสียงของ ผู้สมัคร นายก อบจ. และ ส.อบจ. หรือ สจ. ในแต่ละเขตเลือกตั้ง ซึ่งขณะนี้เหลือเพียง 10 วันสุดท้าย ก็ที่จะมีการ เข้าคูหาหย่อนบัตรเลือกตั้งในวันที่ 1 กุมภาพันธุ์ 2568 พบว่า ยังคงเป็นการแข่งขันของ 3 ทีมใหญ่ คือ ทีมพรรคประชาชน ที่มี นายนิรันดร์ จินดานาค เป็น ผู้สมัคร นายก อบจ. หมายเลข 2 นายประสงค์ บริรักษ์ หมายเลข 3 และ นายสุพิศ พิทักษ์ธรรม หมายเลข 5 ซึ่งก่อนหน้านี้ นิดาโพล ได้มีการสำรวจ พบว่า คะแนนของหมายเลข 5 ยังนำหมายเลข 2 และ 3 อยู่ เล็กน้อย แต่ที่น่าสังเกตคืนยังมีผู้ที่ไม่ตัดสินใจว่าจะเลือกใครอีกเกือบ ร้อยละ 30 ที่ยังเป็น ตัวแปร ในการเลือกตั้ง นายก อบจ.ในครั้งนี้
ผู้สื่อข่าว ที่ เกาะติด ความเคลื่อนไหวของ การเลือกตั้งในพื้นที่รายงานว่า ทีมของผู้สมัครเริ่มจัดให้มีเวทีการหาเสียง ในอำเภอรอบนอกของจังหวัดสงขลา เช่น อ.สิงหนคร .สทิงพระ .จะนะ ,นาทวี เพื่อ หาเสียง กับประชาชน โดยบอกถึง นโยบาย ที่จะบริหารท้องถิ่น หากได้รับการเลือกตั้ง โดย บางทีมยังใช้วิธีการเดิมๆ นั้นคือให้ ผู้สมัคร สจ. ในพื้นที่ ขนคนมาฟังการปราศรัย เพื่อให้เห็นว่ามีประชาชนให้การสนับสนุนจำนวนมาก มีการจ่ายเงินให้ผู้มาฟังปราศรัย ตั้งแต่ หัวละ 100 บาท 200 บาท และ 300 บาท ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่า การจ่ายเงินให้คนมาฟังการปราศรัยในการเลือกตั้งครั้งนี้ น้อยกว่าการเลือกตั้งที่ผ่านมา ซึ่งจะอยู่ที่หัวละ 300 บาท ส่วน หัวคะแนน ที่นำคนมาร่วมเวลาจะได้ค่าตอบแทนหัวละ 200 บาท แต่ถึงจะจ่ายไม่มาก ประชาชน ส่วนหนึ่ง ก็ยังคงมาร่วมเวที เพราะสภาพของความยากจน ที่เงิน 100 หรือ 200 บาท ก็มีความหมาย
หัวคะแนน ของทีมใหญ่รายหนึ่ง ให้ข้อมูลกับผู้สื่อข่าวว่า มีการ เก็บรายชื่อ ของผู้มีสิทธิ์ในการลงคะแนนแล้ว โดยมีการ บริหารจัดการอย่างเป็นระบบ โดยการตรวจสอบความซ้ำซ้อนของรายชื่อ และมีการแจ้งให้เจ้าของรายชื่อทราบว่าจะมีการ ซื้อเสียงๆละ 500 บาท หลังจากที่มีการตรวจสอบรายชื่อแล้ว โดยประชาชนส่วนหนึ่ง ยอมที่จะรับ 500 บาท ในการไปใช้สิทธิ์ให้กับ ผู้สมัครที่เป็น หัวหน้าทีม แต่มีส่วนหนึ่งมีการต่อรองว่า ถ้าจ่าย หัวละ 500 บาท จะเลือกผู้ที่สมัคร สจ. ที่เป็นคนในพื้นที่ ที่ชาวบ้านรู้จัก แต่จะไม่เลือก หัวหน้าทีม ที่ตนเองไม่รู้จัก ถ้าจะให้เลือกทั้ง ผู้สมัครนายก อบจ. และผู้สมัคร สจ. ต้องจ่าย 1,000 บาท ในขณะที่ประชาชนส่วนหนึ่งให้ข้อมูลว่า ขณะนี้มีเพียง ทีมเดียว ที่ หัวคะแนน มาเก็บรายชื่อเพื่อ ซื้อเสียง ส่วนทีมอื่นๆ ยังไม่มีการมาติดต่อ ดังนั้นต้องรอก่อนว่าทีมไหนให้ มากกว่า ก็จะเลือกทีมนั้น
ในขณะเดียวกัน ก็มีการปล่อยข่าวว่า นายทุนได้นำเงินไปให้กับ ผู้นำท้องถิ่น และ ผู้นำท้องที่ เพื่อใช้ในการซื้อเสียงจากผู้มีสิทธิ์ในการเลือกตั้ง ทำให้ ประชาชน ในพื้นที่ ที่ทราบข่าวว่า และ เชื่อว่าเป็นเรื่องจริง ได้บอกกับผู้สื่อข่าวว่า ถ้าเงินที่ให้ ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำท้องที่ ไม่ถึงมือชาวบ้าน ก็ให้ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำท้องที่ ไปเลือก เจ้าของเงินแทน ส่วนชาวบ้านจะไม่ไปเลือก
และจากการติดตาม ข่าวสารในโซเชียล พบว่า มีการต่อรองว่า ถ้าไม่ได้เสียงละ 1,000 บาท จะไม่ไปใช้สิทธิ์ และหากให้ดีในภาวะที่เศรษฐกิจตกต่ำต้องมีการจ่ายให้ประชาชนเสียงละ 2,000 บาท ซึ่งสร้างความฮือฮาในหมู่ประชาชนเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนั้นยังพบว่ามีการลงในโซเซียล ว่าจะไป โนโวต เพราะไม่เชื่อมั้นในผู้สมัครว่าจะทำตามนโยบายที่นำเสนอต่อประชาชน
รายงานจากแหล่งข่าว ที่ใกล้ชิดกับผู้สมัครแจ้งว่า มีการจ่ายเงินให้ สจ.เขตในทีมๆละ 2 ล้านบาท เพื่อใช้เป็น ปัจจัย ในการ หาเสียงในแต่ละเขตเลือกตั้ง ทั้งในส่วนของ นายก อบจ. และของ สจ. ซึ่งมีการจ่ายไปแล้ว 1 ล้าน ส่วนอีก 1 ล้าน จะจ่ายก่อนสัปดาห์ก่อนที่จะถึงวันเลือกตั้ง
ในขณะที่ ผู้สมัคร สจ. ในบางอำเภอ อยู่ระหว่างการ เก็บรายชื่อของประชาชนผู้มีสิทธิ์ในการเลือกตั้ง ซึ่งต้องมีการ ซื้อเสียง ตั้งแต่ 10,000 ถึง 13,000 คน ถ้าต้องจ่ายเสียงละ 1,000 ต่อหัว ต้องใช้เงินไม่ต่ำกว่าเขตละ 5 ล้านบาทขึ้นไป จึงมีการต่อรองกับ หัวคะแนน ให้เหลือเสียงละ 500 และ 300 บาท ในบางพื้นที่ เพื่อที่จะไม่ต้องใช้เงินถึง 5 ล้านบาท ในการ เลือกตั้งครั้งนี้
รายงานข่าวแจ้งว่า บางทีมที่ไม่ใช้เงินในการขนคนมาฟังการปราศรัย จะมีคนมาร่วมเวทีครั้งละ 500 คนขึ้นไป แต่เป็น ประชาชน ที่ตั้งใจมา ส่วนทีมที่มีการ จ่ายเงิน ให้ประชาชนมาร่วมฟังการหาเสียง จะมี ประชาชน มาร่วมฟังการหาเสียง ตั้งแต่ 5,000 -7,000 คน ซึ่งไม่สามารถบอกได้ว่า ทุกคนที่มา จะเลือกทีมของผู้มาหาเสียงหรือไม่
ที่น่าสังเกตคือมี 2 ทีมของผู้สมัคร ที่ใช้เครื่องมือของ “โซเชียลมีเดีย” ในการ หาเสียง และมีการ สำรวจคะแนนนิยมเป็นระยะๆ เพื่อการวางแผน ในการ เข้าถึงประชาชน ในการเลือกตั้งครั้งนี้ ซึ่งโดยภาพรวมการ จัดเวทีปราศรัย ทำให้มีเงินสะพัดในแต่ละพื้นที่ ส่วน ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำท้องที่ ก็ได้รับ อานิสงส์ ในการมีส่วน บริหาร จัดการ การเลือกตั้งท้องถิ่นครั้งนี้ และ สุดท้าย เงินจะสะพัดด้วยการ จ่ายซื้อเสียงใน 3 วันสุดท้าย ก่อนวันลงคะแนนในวันที่ 1 กุมภาพันธ์
แหล่งข่าว กล่าวว่า เงินส่วนหนึ่งที่ใช้ในการ “ซื้อเสียง” มาจาก ธุรกิจบ่อนออนไลน์ ที่เป็นธุรกิจผิดกฎหมาย และมี นายทุน และ ผู้สมัคร บางคน ที่อยู่ในธุรกิจดังกล่าว และที่เป็นข่าวฮือฮาการเลือกตั้งครั้งนี้คือ มีนักการเมืองบางคน ประกาศที่จะ ล้ม อดีต สจ.ใน อ.นาหม่อม จ.สงขลา เพื่อให้แพ้การเลือกตั้งในครั้งนี้ ทั้งหมดคือภาพรวมของการ เลือกตั้ง องค์การบริหารส่วนจังหวัดในครั้งนี้ ซึ่ง ประชาชน ส่วนหนึ่งใน จังหวัดสงขลา กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า อยากให้ กกต.จังหวัดสงขลา ส่ง เจ้าหน้าที่ ออกติดตาม การ ซื้อสิทธิ์ ขายเสียง ที่เกิดขึ้น
นายปรีชา สถิตย์เรืองศักดิ์ / หาดใหญ่ จ.สงขลา