27/01/2025

จันทบุรี//“รำสวดหน้าศพ” ที่กำลังจะจางหาย ที่จันทบุรี

S__13262858_0

จันทบุรี//“รำสวดหน้าศพ” ที่กำลังจะจางหาย ที่จันทบุรี

รำสวดหน้าศพตั้งกันเป็นคณะ จะมีอยู่ในพื้นที่จังหวัดจันทบุรีอาทิเช่นอำเภอนายายอาม อำเภอท่าใหม่ ของจังหวัดจันทบุรี และอาจกระจายอยู่ เป็นการละเล่นหน้าศพ ที่มีมาอย่างยาวนานเป็น 100 ปี ซึ่งเหมือนเป็นประเพณีสืบต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่นของคณะสวดหน้าศพ และหนึ่งในนั้นคือ ผู้ใหญ่สดับ อรชร และคุณบังอร ซึ่งคณะของตนนั้น ได้มารวมกับคณะของ ผู้ใหญ่สดับ เนื่องจากนักรำน้อยในแต่ละคณะไม่สามารถที่จะไปแสดงได้ต้องมารวมกันจากสองคณะเป็นหนึ่งคณะคณะ ซึ่งก็จะทำให้ง่ายต่อการติดต่องานต่างๆในการแสดงรำหน้าศพ

ซึ่งได้ตั้งคณะรำสวดซึ่งเป็นคณะที่เก่าแก่ในเขตอำเภอนายายอามและอำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี ซึ่ง ผู้ ผู้สื่อข่าวได้สอบถามได้ความว่า การละเล่น รำและสวดหน้าศพนั้น เป็นการสืบทอดจากรุ่นปู่ย่าตายาย จนมาถึงรุ่นของตน ซึ่งได้ผ่านการ สั่งสอนและฝึกหัดในการรำและการร้องที่เป็นทำนองโบราณ ก่อนที่จะทำการแสดงต้องมีการเส้นไหว้เจ้าที่ มีการบอกกล่าวกับศพ มีการเซ่นไหว้ครูบาอาจารย์ ก่อนที่จะทำการแสดงรำสวด ในแต่ละที่ที่คณะไปเล่นในงานศพต่างๆที่ผ่านมา และต้องมีการสั่งเปรต สวดส่งวิญญาณ การเอื้อนเอยคำร้องเป็นคำโบราณ ซึ่งก็หาฟังหรือหาดูในงานศพนั้นยากจริงขึ้นมาเรื่อยเรื่อยเนื่องจากช่วงที่มีโค-วิดระบาด 3-4 ปีที่ผ่านมา ทำให้คณะรวมตัวกันยากขึ้นซึ่งไม่มีงานในการเล่นหน้าศพเนื่องจากกลัวการระบาดของโรคโค-วิด

ที่ผ่านมานั้นก็เล่าถึงการเล่นในที่ต่างๆคุณของคุณบังอรได้เล่าว่า ตัวเองและคณะก็ไปเล่นกันในที่ต่างๆภายในจังหวัดจันทบุรีและจังหวัดใกล้เคียงโดยส่วนมากจะเป็นในเขตภาคตะวันออก เมื่อก่อนเล่นถึงตี 5 แต่ช่วงนี้ เล่นถึงตี 1 ซึ่งก็ในช่วงนั้น สมัยนั้น มีงานชุกมากๆ มีหลายคณะแข่งขันกัน มีสาวๆมารำร้อง มีสาวสวยมา ก็ได้รับความสนใจจากหนุ่มๆ ต่างก็จะทราบกันเองว่าคณะไหนมีสาวสวยอยู่ก็จะตามไปให้กำลังใจ และจีบสาวในคณะ

วัฒนธรรมในการให้คณะรำสวด ไปเล่นรำหน้าศพเหมือนเป็นเพื่อนศพ ยามกลางคืนซึ่งจะเน้นคืนสุดท้ายของการสวดอภิธรรม และดึงดูดผู้ที่มาฟังพระสวดอภิธรรมเสร็จสิ้นแล้ว หลังจากนั้นก็จะมีการรำรำสวดของคณะรำสวด


ทั้งนี้ยุคสมัยพัดเปลี่ยนไป การละเล่นรำสวดหน้าศพ เริ่มลดน้อยถอยลงเนื่องจากเจ้าภาพต่างๆนั้นส่วนมากเริ่มจะเป็นคนรุ่นใหม่ เริ่มที่จะไม่รู้จักคณะลำสวดซึ่งเป็นคณะเก่าแก่ ที่อยู่ในพื้นบ้านก็เริ่มที่จะไม่นำคณะรำสวดมาเล่นเป็นเพื่อนหน้าศพ ซึ่งก็ทำให้งานนั้นมีน้อยลงและไม่มีตัวที่จะไล่ลำเนื่องจากต่างคนต่างไปทำงานและบางคนก็ไปมีครอบครัวส่วนมาก จะเป็นผู้หญิงซะส่วนมาก ซึ่งถ้าออกไปมีครอบครัวแล้วก็อยากที่จะมาแสดง การรายรำ เนื่องจากสามีไม่อนุญาตก็เลย ทำให้คณะนั้นเริ่มหมดคน หรือตัวมารำ นี่ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่ง

 
อีกหนึ่งสาเหตุ การ สืบทอดการแสดงการไล่รำนั้นต้องมีการอบรมการสอนเหมือนกับการเล่นลิเกและการเล่นละคร ต้องการฝึกซ้อมท่าไล่ลำและคำร้อง เนื่องจากเป็นคำร้องที่เป็นการแต่งขึ้นมาเองในคณะและสืบทอดกันมาเป็น 100 ปี และกว่าจะได้ผู้ที่มีความสามารถในการร้องและได้รำได้เก่งเพราะต้องฝึกฝนกันตั้งแต่เด็กๆ ในเมื่อหัดร้องและหัดรำจนคล่องแล้วถึงออกมาแสดงในคณะรำสวดได้

 

คณะรำสวดยังคงหลงเหลืออีก ในเขตอำเภอนายายอามและ อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี นั่นคือคณะลำสวดของ อดีตผู้ใหญ่บ้าน สดับ อรชร และคุณบังอรซึ่งยังรวบรวม ทีมงานใกล้เคียงที่ยังหลงเหลืออยู่ซึ่งก็เริ่มมีอายุมากขึ้น แต่ก็ยังคงรักษาประเพณีและวัฒนธรรมที่สืบต่อในการรายรำและร้องในทำนองจังหวะโบราณ ซึ่งเหลือไม่ถึง 12 ชีวิต ที่ยังคงสืบทอดการร้องและรำทำนองโบราณนี้ ซึ่งก็แทบจะหาดูแทบไม่ได้แล้วในขณะนี้ ตึงก็เป็นที่น่าเสียดาย เนื่องจากไม่มีใครสนับสนุน และไม่มีใครมาเป็นนางรำ ทั้งสองท่านห่วงว่าอนาคตจะไม่เหลือการสืบทอดการรำและร้องหน้าศพอีกถ้าหมดรุ่นของต้น อยากให้มีการสืบทอด ให้มีการสนับสนุน เพราะในตอนนี้ ต้องสืบทอดกันเองโดยไม่มีการได้รับการอนุรักษ์ หรือช่วยเหลือ จากสวนราชการใดๆ จึงเป็นที่น่าเสียดายที่อนาคตคงจะต้องสูญหาย ไป อย่างแน่นอน

กิตติพงศ์ คงคาลัย ผู้สื่อข่าว สยามโฟกัสไทม์ จ.จันทบุรี

ข่าวที่น่าติดตาม