23/11/2024

เชียงใหม่-พิธีลงนามความร่วมมือทางวิชาการ”หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต”เพื่อพัฒนาหลักสูตรและบุคลากรไทย-จีน

เชียงใหม่-พิธีลงนามความร่วมมือทางวิชาการ”หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต”เพื่อพัฒนาหลักสูตรและบุคลากรไทย-จีน

 

วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2565 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรวิชญ์ จันทร์ฉาย คณบดีวิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นประธานกล่าวเปิดพิธีลงนามความร่วมมือทางวิชาการเพื่อพัฒนาหลักสูตรและบุคลากรไทย-จีนร่วมกันในโครงการวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต“สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีดิจิทัล (พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดนไทย-จีน)”พร้อมด้วย อาจารย์ Lian Chen ผู้อำนวยการสถาบันขงจื่อ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมี อาจารย์ Lai Lin อาจารย์ประจำสถาบันขงจื่อ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่” คุณจักรี เตจ๊ะวารี ผู้จัดการหน่วยบริหารจัดการและส่งมอบผลลัพธ์แผนงานคนไทย 4.0 และแขกผู้มีเกียรติ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรวิชญ์ จันทร์ฉาย คณบดีวิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า พิธีลงนามความร่วมมือทางวิชาการเพื่อพัฒนาหลักสูตรและบุคลากรไทย-จีนร่วมกัน ในโครงการวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต “สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีดิจิทัล (พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดนไทย-จีน)”โดยมีวิทยาลัยศิลปะ สื่อและเทคโนโลยี สถาบันขงจื่อ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศูนย์ China Intelligence Center ภายใต้การสนับสนุนของกองทุนพิเศษแม่โขง-ล้านช้าง และโครงการวิจัยภายใต้ชุดโครงการ การสร้างผู้ประกอบการเชิงดิจิทัล”ภายใต้การสนับสนุนของ แผนงานคนไทย4.0 โดยเข้ามามีส่วนในการจัดตั้งสาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีดิจิทัลนี้ขึ้น

สำหรับหลักสูตร Digital Technology Management (DTM) เป็นหลักสูตรหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีดิจิทัล (พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดนไทย-จีน)มีจุดเด่นของ ที่จะช่วยให้ทุกสาขาอาชีพสามารถมาต่อยอดเรียนรู้ทักษะเชิง digital และ digital platform เพื่อกลายเป็น startups หรือ digital workforce ได้ในอนาคต อีกทั้งสถาบันขงจื่อ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือเป็นสถาบันที่มีความทันสมัย นอกเหนือจากการทำหน้าที่เผยแพร่ภาษาวัฒนธรรมของจีนในแบบ traditional แล้วทางสถาบันขงจื่อยังมองเห็นความสำคัญต่อการสร้าง digital workforce ผ่านการทำกิจกรรมต่างๆเพื่อเรียนรู้ Platform E-commerce และการตลาดออนไลน์โดยใช้ภาษาจีนเป็นสื่อกลาง โดยได้ร่วมมือกับ วิทยาลัยศิลปะ สื่อและเทคโนโลยีจัดประกวดการทำสื่อการตลาดออนไลน์สินค้าไทยบุกตลาดจีน มาเป็นเวลาต่อเนื่องถึง 5 ปี โดยครั้งล่าสุดใช้ชื่อว่า “จงชิงคัพ” ที่มีนักศึกษาจากภาควิชาภาษาจีนและบริหารธุรกิจจากสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศกว่า 100 คนเข้าร่วมการแข่งขัน  ดังนั้นจึงเชื่อว่าหลักสูตร DTM ที่ร่วมมือกันระหว่าง วิทยาลัยศิลปะ สื่อและเทคโนโลยี สถาบันขงจื่อ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือเป็นก้าวแรกในกระบวนการสร้าง Project Manager หรือผู้จัดการโครงการ ที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการบุคลากรที่มีทั้งทักษะภาษาไทย-จีน และทักษะภาษาดิจิทัลเพื่อการค้าผ่านแพลทฟอร์มออนไลน์ได้อย่างสมบูรณ์

Ms.Lian Chen ผู้อำนวยการฝ่ายจีน สถาบันขงจื่อ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า สถาบันขงจื่อ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ร่วมมือกับวิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี ก่อตั้งหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต “สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีดิจิทัล (พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดนไทย-จีน)” เป็นแห่งแรกของประเทศไทย ซึ่งโครงการนี้จะเป็นเส้นทางใหม่ในการพัฒนางานวิจัยและปลูกฝังบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดนไทย-จีน

จีน-ไทยใช่อื่นไกล พี่น้องกัน การพัฒนาของทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันอย่างแน่นแฟ้น วันนี้สถาบันขงจื่อ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมมือกับ วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี ได้ก่อตั้งหลักสูตรปริญญาโทด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดนไทย-จีนร่วมกันเป็นแห่งแรกในประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปลูกฝังทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพในด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดน โดยผสมผสานการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงและการสร้างนวัตกรรมเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อให้นักศึกษาและบัณฑิตในหลักสูตรมีศักยภาพในการสร้างธุรกิจ สอดคล้องกับการผลักดันการพัฒนาของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดน ทำให้ผลิตภัณฑ์ไทยสามารถเข้าสู่ตลาดจีน และยังเป็นการช่วยให้ประเทศไทยสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าชาวจีนได้

ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2565 ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ (RCEP) ได้เริ่มต้นขึ้นอย่างเป็นทางการ เป็นสัญลักษณ์แห่งการเริ่มต้นอย่างเป็นทางการของเขตการค้าเสรีที่มีประชากรมากที่สุด มีขนาดเศรษฐกิจการค้าใหญ่ที่สุดและมีศักยภาพในการพัฒนามากที่สุดในโลก และจะกลายเป็นผู้นำและตัวเร่งในการเติบโตของเศรษฐกิจการค้าของกลุ่มสมาชิก RCEP และประเทศจีน ทำให้การพัฒนาด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดนของประเทศไทยพบกับโอกาสและความท้าทาย ซึ่งหลักสูตรของพวกเราเป็นการสร้างสิ่งแวดล้อมสำหรับศึกษาวิจัยสำหรับนักสึกษา ทำให้นักศึกษาทั้งไทยและจีนได้เผชิญหน้ากับปัญหาต่างๆที่เป็นจุดเจ็บของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดน เช่น ปัญหาด้านการขนส่งที่มีต้นทุนสูงและใช้เวลานาน ความแตกต่างด้านภูมิประเทศทำให้ไม่สามารถดำเนินการหลังการขายได้ทันที ความไม่แน่นอนจากนโยบายการควบคุมด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดนของแต่ละประเทศ เป็นต้น

ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องต่อการผลักดันการยกระดับการเปลี่ยนแปลงระบบอุตสาหกรรมและการสร้างสรรค์รูปแบบอุตสาหกรรม อีกทั้งยังเป็นการเสนอนโยบายการพัฒนาและการศึกษาวิจัยที่มีคุณภาพสูงให้แก่ภาครัฐและภาคธุรกิจของไทยและจีน

พัฒนชัย/เชียงใหม่

 

ข่าวที่น่าติดตาม