ชุมพร – การประชุมประชาสัมพันธ์โครงการ ครั้งที่ 1 โครงการศึกษาเพื่อกำหนดแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ระยะที่ 2 พื้นที่ในระบบกลุ่มหาดตั้งแต่พื้นที่ตำบลตำบลเขาแดง อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ถึงตำบลบางน้ำจืด อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร
ชุมพร – การประชุมประชาสัมพันธ์โครงการ ครั้งที่ 1 โครงการศึกษาเพื่อกำหนดแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ระยะที่ 2 พื้นที่ในระบบกลุ่มหาดตั้งแต่พื้นที่ตำบลตำบลเขาแดง อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ถึงตำบลบางน้ำจืด อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร
[embedyt] https://www.youtube.com/watch?v=m9iUiuU9PHc[/embedyt]
วันพฤหัสบดีที่ 21 เมษายน 2565 เวลา 13.00-16.30 น. ณ สตาร์ไลท์บีช รีสอร์ท ตำบลหาดทรายรี อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร นายโชตินรินทร์ เกิดสม ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร ให้เกียรติมาเป็นประธานการประชุมประชาสัมพันธ์โครงการ ครั้งที่ 1 โครงการศึกษา เพื่อกำหนดแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ระยะที่ 2 พื้นที่ในระบบ กลุ่มหาดตั้งแต่พื้นที่ตำบลตำบลเขาแดง อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ถึงตำบลบางน้ำจืด อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร และระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ (Video Conference) ผ่านโปรแกรม Zoom Cloud Meeting ในวันนี้ พร้อมกับ นายจิรวัฒน์ สุวรรณลิขิต โยธาธิการและผังเมืองจังหวัดชุมพร นายวิทวัส วงศ์เครือศร วิศวกรโยธาชำนาญพิเศษ – ผู้แทนกรมโยธาฯ วิทยากรทั้ง 2 ท่าน ผศ.ดร.สมฤทัย ทะสดวก ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมชายฝั่ง นางสาวนุชรินท์ กาหลง ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม และ หัวหน้าส่วนราชการ ตัวแทนองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น หน่วยงานภาคเอกชน สื่อมวลชน บริษัทที่ปรึกษา และประชาชนทุกท่าน
นายจิรวัฒน์ สุวรรณลิขิต กล่าว่า ในวันนี้ กรมโยธาธิการและผังเมืองได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ประกอบด้วย บริษัท แมคโคร คอนซัลแตนท์ จำกัด และบริษัท เอส ที เอส เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด ให้เป็น ผู้ดำเนินการโครงการศึกษาโครงการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและจัดทำแผนหลักแนวทาง และมาตรการการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งเป็นไปในลักษณะเชิงพื้นที่หรือในลักษณะ กลุ่มหาดอย่างบูรณาการ ส่งเสริมให้เกิดองค์ความรู้ร่วมกันระหว่างหน่วยงานทุกภาคส่วน ที่เกี่ยวข้อง และแก้ไขความเดือดร้อนของประชาชนที่ได้รับผลกระทบในพื้นที่ตามระบบกลุ่มหาด ทั้งนี้เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางในการดำเนินมาตรการป้องกันแก้ไขปัญหาในเชิงพื้นที่ให้กับชายฝั่ง ที่ประสบปัญหาการกัดเซาะอย่างบูรณาการและเกิดผลสัมฤทธิ อย่างแท้จริง ทั้งนี้ ในการดำเนินการศึกษาต้องดำเนินการควบคู่ไปพร้อมกับการประชาสัมพันธ์และ การรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยต้องดำเนินการประชาสัมพันธ์และประชุม รับฟังความคิดเห็น จำนวน 3 ครั้ง และการประชุมเชิงวิชาการเฉพาะด้านวิศวกรรมการป้องกัน การกัดเซาะชายฝั่ง จำนวน 1 ครั้ง ซึ่งการประชุมในวันนี้เป็นการประชุมประชาสัมพันธ์โครงการ ครั้งที่ 1 เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการและชี้แจงสรุปผลการศึกษาร่างแผนหลักแนวทางและ มาตรการการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งโดยใช้ระบบกลุ่มหาด พร้อมรับฟังความคิดเห็นและ ข้อเสนอแนะต่อโครงการในพื้นที่ศึกษาตามระบบกลุ่มหาด โดยได้เชิญหน่วยงานราชการที่ เกี่ยวข้อง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน ภาคเอกชนด้านการท่องเที่ยว และภาค ประชาชน เพื่อร่วมรับฟังข้อมูลโครงการและร่วมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นข้อเสนอแนะที่เป็น ประโยชน์ต่อการศึกษา ในนามของกรมโยธาธิการและผังเมือง ใคร่ขอเรียนเชิญท่านผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร กรุณาให้โอวาท คำแนะนำเพื่อเป็นแนวทางการประชุม และเปิดการประชุมประชาสัมพันธ์ โครงการครั้งที่ 1 โครงการศึกษาเพื่อกำหนดแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ระยะที่ 2 พื้นที่ในระบบกลุ่มหาดตั้งแต่พื้นที่ตำบลตำบลเขาแดง อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ถึงตำบลบางน้ำจืด อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร
นายโชตินรินทร์ เกิดสม เปิดเผยว่า ผมรู้สึกยินดีและเป็นเกียรติที่ได้มาเป็นประธานในการประชุมประชาสัมพันธ์โครงการ ครั้งที่ 1 โครงการศึกษาเพื่อกำหนดแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ระยะที่ 2 พื้นที่ในระบบกลุ่มหาดตั้งแต่พื้นที่ตำบลตำบลเขาแดง อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ถึงตำบลบางน้ำจืด อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ในนามของจังหวัดชุมพร ขอต้อนรับทุกท่าน ด้วยความยินดีเป็นอย่างยิ่ง เป็นที่ทราบกันดีว่าประเทศไทยมีแนวชายฝั่งทะเลทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน เป็นระยะทางยาวกว่า 3,151.13 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 23 จังหวัด เป็นชายฝั่งทะเลอ่าวไทย จำนวน 17 จังหวัด ความยาว 2,039.78 กิโลเมตร และชายฝั่งทะเลอันดามัน จำนวน 6 จังหวัด ความยาว 1,111.35 กิโลเมตร โดยปัจจุบันมีการใช้ประโยชน์พื้นที่ชายฝั่งทะเลที่หลากหลาย เช่น เป็นที่อยู่อาศัยของชุมชน กิจกรรมการท่องเที่ยว การประมงและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และท่าเรือ เป็นต้น ดังนั้น ชายฝั่งทะเลจึงมีความสำคัญทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ดี พื้นที่ชายฝั่งทะเลนั้นต่างประสบปัญหาการกัดเซาะตลอดแนวชายฝั่ง โดยมี ระดับความรุนแรงและสาเหตุที่แตกต่างกันไปทั้งจากปัจจัยทางธรรมชาติและกิจกรรมของมนุษย์ ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมาแต่ละหน่วยงานมีรูปแบบการป้องกันคลื่นกัดเซาะชายฝั่งทะเล ที่หลากหลายแตกต่างกันไป ทั้งนี้ หากรูปแบบการป้องกันการกัดเซาะที่เลือกใช้ไม่เหมาะสม จะทำให้ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งและสิ้นเปลืองงบประมาณ
อย่างไรก็ดี ทราบว่ากรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งได้มีการกำหนดแนวทางการจัดการ ชายฝั่งโดยใช้ระบบกลุ่มหาด เพื่อให้สามารถดำเนินการวางแผนการบริหารจัดการชายฝั่งได้อย่าง มีประสิทธิภาพและยั่งยืน ซึ่งระบบกลุ่มหาดแต่ละกลุ่มประสบปัญหาการกัดเซาะที่รุนแรงแตกต่าง กันไปจึงควรได้รับการศึกษาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง รวมทั้งต้องมี การบูรณาการแก้ไขปัญหาร่วมกันระหว่างหน่วยงานต่างๆ พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไขปัญหา ให้ครอบคลุมปัญหาในแต่ละระบบกลุ่มหาดที่แตกต่างกัน จากรายงานของผู้แทนกรมโยธาธิการและผังเมือง ที่ระบุว่า การดำเนินงานโครงการ ได้นำเอาแนวคิดการจัดการชายฝั่งด้วย “ระบบกลุ่มหาด” มาประยุกต์ใช้ในการศึกษา และ ได้จัดทำโครงการฯ ต่อเนื่องจากโครงการฯ เดิม เพื่อให้ครอบคลุมกลุ่มหาดทั่วทั้งประเทศไทย ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดการพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ ส่งเสริมให้เกิดการบูรณาการองค์ความรู้ร่วมกัน ระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ที่รับผิดชอบในด้านการจัดการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง อีกทั้ง ยังให้ความสำคัญกับการประชาสัมพันธ์และการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน โดยกำหนด ให้มีการประชาสัมพันธ์และประชุมรับฟังความคิดเห็น จำนวน 3 ครั้ง และการประชุม เชิงวิชาการเฉพาะด้านวิศวกรรมการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง จำนวน 1 ครั้ง โดยในครั้งนี้จะ เป็นการประชุมประชาสัมพันธ์โครงการ ครั้งที่ 1 “เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการ และชี้แจง สรุปผลการศึกษาร่างแผนหลักแนวทางและมาตรการการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งโดย ใช้ระบบกลุ่มหาด พร้อมรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อโครงการในพื้นที่ศึกษาตาม ระบบกลุ่มหาด” ซึ่งผมเชื่อมั่นว่าทุกท่านที่ร่วมอยู่ในที่ประชุมแห่งนี้ มีศักยภาพ และพร้อมที่จะให้ ความร่วมมือในการแสดงความคิดเห็นในแง่มุมต่างๆ ที่หลากหลาย เพื่อที่หน่วยงานจะได้นำ แนวคิดที่ได้จากการรับฟังความคิดเห็นไปบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิด ประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหา และเกิดความยั่งยืนต่อไป ผมขอขอบคุณ กรมโยธาธิการและผังเมืองที่ได้จัดให้มีการประชุมในวันนี้ และขอขอบคุณ หัวหน้าส่วนราชการ ตัวแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานภาคเอกชน ผู้นำชุมชน สื่อมวลชน และผู้มีเกียรติทุกท่าน ที่เสียสละเวลามาร่วมประชุม บัดนี้ ได้เวลาอันสมควรแล้ว ผมขอเปิดการประชุมประชาสัมพันธ์โครงการ ครั้งที่ 1 โครงการศึกษาเพื่อกำหนดแนวทางการ ป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ระยะที่ 2 ขอให้การประชุมในวันนี้ดำเนินการประชุม ไปด้วยความเรียบร้อย และบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ทุกประการ
ธิติมา โกศลเมธี รายงาน