24/11/2024

เสมา 2 รมช.ศธ. (คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช) ลงพื้นที่เปิดศูนย์การเรียนรู้ของโรงเรียนในพื้นที่เกาะหลีเป๊ะจังหวัดสตูล โดยใช้การเรียนรู้แนว STEAM และนิทศติดตามเชิงประจัษ์ # การศึกษาสอน กระบวนการเรียนรู้ สร้างคุณภาพชีวิต

เสมา 2 รมช.ศธ. (คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช) ลงพื้นที่เปิดศูนย์การเรียนรู้ของโรงเรียนในพื้นที่เกาะหลีเป๊ะจังหวัดสตูล โดยใช้การเรียนรู้แนว STEAM และนิทศติดตามเชิงประจัษ์ # การศึกษาสอน กระบวนการเรียนรู้ สร้างคุณภาพชีวิต

 

วันที่ 21 เมษายน 2565 นายประหยัด สุขขี ผอ.สพป.สตูล ต้อนรับ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช) ลงพื้นที่เปิดศูนย์การเรียนรู้ของโรงเรียนในพื้นที่เกาะจังหวัดสตูล โดยใช้การเรียนรู้แนว STEAM และนิทศติดตามเชิงประจัษ์เพื่อให้เห็นสภาพจริงของการเตรียมความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนในสังกัด สพป.สตูล โดยมี นายเอกรัฐ หลีเส็น ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล ดร.พรชัย อินทร์ฉาย รองผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผศ.ดร. สิงหา ประสิทธิ์พงศ์ ผู้ช่วยคณบดี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ท่ามกลางคณะผู้ติดตาม ครู ผู้บริหาร นักเรียนและชุมชนในพื้นที่ ได้เห็นมิติใหม่ในการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ ของโรงเรียนพื้นที่เกาะ จังหวัดสตูล นำเอาอัตลักษณ์ท้องถิ่นมาเป็นเครื่องมือสร้างการเรียนรู้ ในขณะเดียวกัน ก็ใช้วิธีการแบบวิทยาศาสตร์ในการสกัด สร้าง และต่อยอดความรู้ทักษะไปถึงการสร้างองค์ความรู้ใหม่ ทำให้วันนี้ได้เห็นผลลัพธ์การเรียนรู้ที่มหาวิทยาลัยทักษิณ สถาบันส่งเสริมกรสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นผู้จุดประกายการจัดกระบวนการเรียนรู้ ด้วย STEAM Education โดย นายประหยัด สุขขี ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล ดำเนินการขับเคลื่อน นิเทศ กำกับดูแลทั้งด้านการบริหารจัดการ ด้านคุณภาพของโรงเรียนพื้นที่เกาะทั้ง 11 โรง


ความพยายามในการเปลี่ยนแปลงวิธีคิด วิธีการในการจัดการศึกษานั้น ต้องอาศัยระยะเวลา ความต่อเนื่อง ความเข้าใจ หรือกระบวนทัศน์ที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงได้ในปัจจุบันนี้ สังคมโลกของเราเผชิญกับสถานการณ์ที่ทำให้วิถีการเรียนรู้ไม่เหมือนเดิม ภาวะ social disruption ทำให้ครูต้องปรับเปลี่ยนวิธีสอน นักเรียนปรับตัวเพื่อเรียนรู้ ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต้องมีความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการแต่ยึดโยงกับแก่นของคุณภาพ
ทุกวันนี้ห้องเรียน ไม่ได้ถูกจำกัดเฉพาะในห้องสี่เหลี่ยม แต่ทุกที่ นั้นเป็นแหล่งเรียนรู้ผู้คนที่นอกเหนือจากคุณครู ก็เป็นผู้ให้ความรู้ได้ แต่สิ่งสำคัญคือ ทักษะในการจะเข้าถึงความรู้ ทักษะที่จะ “เรียนรู้” เป็นตัวแปรสำคัญที่จะช่วยให้การเรียนรู้วิถีใหม่เกิดคุณภาพเกิดความยั่งยืนและกิจกรรมในวันนี้ ก็สะท้อนให้เห็นถึงกระบวนทัศน์ที่มุ่งจะเปลี่ยนแปลงวิธีการจัดการศึกษาให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรม

ในโอกาสนี้ขอชื่นชมคณะทำงานทุกท่านผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องขอขอบคุณชุมชน ที่ให้การสนับสนุนเป็นกำลังสำคัญให้โรงเรียน การขับเคลื่อนการพัฒนางานในทุกๆ มิติ โรงเรียนตั้งอยู่ในชุมชน เป็นของชุมชน ชุมชนก็เป็นวงล้อมของโรงเรียนที่เกื้อหนุนซึ่งกันและกัน วันนี้ได้เห็นภาพความร่วมมือดังกล่าวแล้ว ต้องขอบคุณ ชื่นชม และขอให้ทุกภาคส่วนรักษาสัมพันธภาพที่ดีเช่นนี้ เพื่อเด็กๆ เพื่อลูกหลานชาวเลของเรา
โครงการพัฒนาฐานอาชีพของโรงเรียนในพื้นที่เกาะ จังหวัดสตูล
1. โรงเรียนตันหยงอุมาชัยพัฒนา การแปรรูปอาหารทะเล
2. โรงเรียนบ้านเกาะบูโหลน การทำไซใหญ่
3. โรงเรียนบ้านเกาะยะระโตดนุ้ย น้ำพริกหอยหวาน
4. โรงเรียนบ้านเกาะสาหร่ายชัยพัฒนา โรตีจิ๋วสร้างรายได้
5. โรงเรียนบ้านตันหยงกลิง น้ำพริกปูม้า
6. โรงเรียนบ้านตำมะลังเหนือ การแปรรูปหอยกาบง
7. โรงเรียนบ้านตำมะลังใต้ กุ้งแห้งสุไหงตำมะลัง
8. โรงเรียนเพียงหลวง ๔ ในทูลกระหม่อมฯ ยาสระผมจากน้ำผึ้งชันโรง
9. โรงเรียนบ้านเกาะยาว อร่อยหรรษากับปลาเส้น
10. โรงเรียนบ้านตันหยงกาโบยชัยพัฒนา มัคคุเทศก์น้อยรักถิ่นเกิด
11. โรงเรียนบ้านเกาะหลีเป๊ะ ผลิตภัณฑ์ที่ระลึกจากเตยทะเล ขนมปำจีจากแป้งท้าวยายม่อม
ทั้ง 11 โรง เป็นโรงเรียนในโครงการพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อให้พสกนิกรได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

 

นายปรีชา สถิตย์เรืองศักดิ์ / หาดใหญ่ จ.สงขลา

ข่าวที่น่าติดตาม