23/11/2024

‘เพื่อไทย’ ร่วมขบวนพาเหรด BANGKOK NARUEMIT PRIDE 2022 ยืนยันจุดยืนผลักดันสร้างความเท่าเทียมและศักดิ์ศรีคุณค่าความเป็นมนุษย์ของกลุ่มอัตลักษณ์ที่หลากหลาย พร้อมรับฟังข้อเสนอต่างๆ เพื่อศึกษาและผลักดันเป็นนโยบายของพรรค

‘เพื่อไทย’ ร่วมขบวนพาเหรด BANGKOK NARUEMIT PRIDE 2022 ยืนยันจุดยืนผลักดันสร้างความเท่าเทียมและศักดิ์ศรีคุณค่าความเป็นมนุษย์ของกลุ่มอัตลักษณ์ที่หลากหลาย พร้อมรับฟังข้อเสนอต่างๆ เพื่อศึกษาและผลักดันเป็นนโยบายของพรรค

พรรคเพื่อไทย นำโดย นายแพทย์พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช กรรมการยุทธศาสตร์และทิศทางการเมือง จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ ส.ส.เชียงใหม่และรองหัวหน้าพรรค ธีรรัตน์ สําเร็จวาณิชย์ ส.ส.กทม.และโฆษกพรรค ณหทัย ทิวไผ่งาม กรรมการบริหารพรรค ธีราภา ไพโรหกุล กรรมการบริหารพรรค ตรีชฎา ศรีธาดา รองโฆษกพรรค ขัตติยา สวัสดิผล อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ วิสาระดี เตชะธีราวัฒน์ อดีต ส.ส.เชียงราย วิพุธ ศรีวะอุไร ส.ก. เขตบางรัก ชานันท์ ยอดหงษ์ ผู้รับผิดชอบนโยบายด้านอัตลักษณ์และความหลากหลายพรรคเพื่อไทย พร้อมด้วยสมาชิกพรรคเพื่อไทยและทีมคนรุ่นใหม่ เข้าร่วมเดินแสดงพลังความเท่าเทียมทางเพศ ในกิจกรรม BANGKOK NARUEMIT PRIDE 2022 ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อสื่อสารสาธารณะถึงการยอมรับศักดิ์ศรีคุณค่าความเป็นมนุษย์ของกลุ่มอัตลักษณ์ที่หลากหลาย สะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้นต่อกลุ่ม LGBTQ ทั้งในเรื่องเศรษฐกิจ สังคม คุณภาพชีวิต การถูกเลือกปฏิบัติโดยกฎหมายและรัฐ

ชานันท์ ยอดหงษ์ เปิดเผยว่า ทีมพรรคเพื่อไทย ร่วมกิจกรรมขบวนพาเหรดในโซนสีเหลือง ที่มีความหมายถึงการเติบโตอย่างมีความหวัง เพื่อแสดงความจริงใจถึงการให้ความสำคัญกับคุณภาพชีวิต สิทธิและเสรีภาพทางเพศ อันเป็นส่วนหนึ่งของประชาธิปไตย สนใจรับฟังเสียงของกลุ่ม LGBTQ พร้อมจะมีส่วนร่วมกับกิจกรรมที่ประชาชนร่วมกันจัด และยืนยันเจตนารมณ์ในการแก้ไขปัญหาที่เกิดกับทุกอัตลักษณ์ความหลากหลาย

โดยตลอดระยะทางของขบวนไพรด์ ได้สื่อสารเสนอข้อเรียกร้อง เพื่อ LGBTQ และกลุ่มอัตลักษณ์ต่างๆ อย่างหลากหลาย อาทิ
.
– การสมรสเท่าเทียม ซึ่งเป็นการการเสยอให้แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 – 6 โดยเฉพาะมาตรา 1448 ซึ่งหัวใจหลักคือ ให้บุคคลสองคนสามารถจดทะเบียนสมรสได้ โดยไม่กำหนดเฉพาะ ‘ชายกับหญิง’ เท่านั้น เพื่อให้คู่รักทั้งเพศเดียวกันและรักต่างเพศสามารถจดทะเบียนสมรสได้อย่างเสมอภาคกัน เพื่อให้ทุกอัตลักษณ์ที่หลากหลาย มีศักดิ์ศรีอย่างเท่าเทียมกัน ไม่ถูกเลือกปฏิบัติ

– การไม่เห็นด้วยกับการมี พ.ร.บ.คู่ชีวิต พราะนั่นคือการเลือกปฏิบัติ ไม่ยอมรับว่าคนรักเพศเดียวกันจะได้รับการยอมรับทางกฎหมายเทียบเท่าคนรักต่างเพศ และไม่ว่าคู่สัมพันธ์เพศวิถีใดก็สามารถเป็นคู่งชีวิตกันได้
.
– การแก้กฎหมายคำนำหน้านาม โดยไม่ต้องยึดติดกับเพศกำเนิด ให้แต่ละเพศสภาพสามารถเลือกใช้คำนำหน้านามตามความต้องการ

– การแก้กฎหมายคุ้มครองแรงงานให้ มีวันลาปวดประจำเดือน ลาเพื่อข้ามเพศได้ โดยได้รับค่าจ้าง นายจ้างกับประกันสังคมจ่ายร่วมกัน
.
– กระบวนการข้ามเพศ อยู่ใน สปสช.
.
– สวัสดิการผ้าอนามัยฟรีถ้วนหน้า ซึ่งเรื่องนี้พรรคเพื่อไทยได้ดำเนินศึกษาพร้อมทำโครงการทดลอง เผยแพร่ในรูปแบบนิทรรศกี เมือเดือนมีนาคม 2565 ที่ผ่านมา

– เสรีทรงผมเครื่องแต่งกายและในสถานศึกษา สิ่งแวดล้อมและบรรยากาศในสถานศึกษาที่เป็นมิตรกับทุกเพศสภาพที่หลากหลาย แก้ไขหลักสูตรการศึกษาให้เป็น non-binary สร้างความรู้ความเข้าใจความหลากหลายทางเพศ
.
– ต่อต้านความรุนแรงต่อ LGBTQ non-binary ทั้งในบ้านและนอกบ้าน ขจัดการเลือกปฏิบัติในการสมัครงาน
.
– Sex work is work , sex creator is worker ต้อง decriminalized

– เรือนจำที่ non-binary และปลอดภัยกับทุกเพศ
.
– การยุติการตั้งครรภ์อย่างปลอดภัย
.
– สิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ คนไร้สัญชาติ , คนไร้รัฐได้รับการคุ้มครอง และยุติความรุนแรง

– สันติภาพโลก พม่า ยูเครน ปาเลสไตน์ make love not war
.
“ข้อเรียกร้องของประชาชนทุกข้อพรรคเพื่อไทยให้ความสำคัญรับฟังและพร้อมที่จะศึกษาเพื่อพัฒนาเป็นนโยบาย เพื่อสร้างความเท่าเทียมให้กับคนทุกกลุ่มในสังคม” ผู้รับผิดชอบนโยบายด้านอัตลักษณ์และความหลากหลาย กล่าวย้ำ

#BangkokPride2022
#ไพรด์พาเหรด
#นฤมิตไพรด์
#Pridemonth2022