กระทรวงสาธารณสุข ประกาศนโยบาย (Kick off) ขับเคลื่อนการพัฒนาสถานที่จำหน่ายอาหาร Clean Food Good Taste Plus และอาหารเป็นยา
กระทรวงสาธารณสุข ประกาศนโยบาย (Kick off) ขับเคลื่อนการพัฒนาสถานที่จำหน่ายอาหาร Clean Food Good Taste Plus และอาหารเป็นยา
เมื่อ 28 มิถุนายน 2565 ดร.สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธานในพิธีประกาศนโยบาย (Kick off) เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาสถานที่จำหน่ายอาหาร Clean Food Good Taste Plus และอาหารเป็นยา ณ SURALAI HALL ชั้น 7 ไอคอนสยาม กรุงเทพมหานคร ร่วมกับสมาคมการค้าธุรกิจอาหาร และภาคีเครือข่ายด้านอาหาร เนื่องจากทุกวันนี้วัฒนธรรมการบริโภคอาหารของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่นิยมประกอบอาหารกินเองที่บ้านเปลี่ยนเป็นกินอาหารนอกบ้านหรือบริโภคอาหารปรุงสำเร็จจึงจำเป็นต้องกำหนดมาตรการในการจัดการสุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหาร และออกกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหาร
โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ควบคุม กำกับ ดูแลสถานที่จำหน่ายอาหารให้ถูกสุขลักษณะตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ลดปัจจัยความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆที่มากับการบริโภคอาหาร สำหรับมาตรการการจัดการด้านสุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหาร กระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินการ ดังนี้ 1)ส่งเสริมให้องค์ปกครองส่วนท้องถิ่น และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ประสานความร่วมมือ ผู้ประกอบการธุรกิจอาหารในพื้นที่พัฒนาและยกระดับร้านอาหาร ให้ได้รับการรับรองมาตรฐาน “อาหารสะอาด รสชาติอร่อย(Clean Food Good Taste และ Clean Food Good TastePlus)”2)ร้านอาหาร ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานดังกล่าว ให้เพิ่มเมนู “อาหารเป็นยา”ซึ่งเป็นอาหารพื้นบ้านของคนไทย ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและ
3)ส่งเสริมความร่วมมือของภาคีเครือข่าย ภาครัฐ ภาคเอกชน สมาคมการค้าธุรกิจอาหาร ผู้ประกอบกิจการร้านอาหาร และผู้บริโภคให้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาร้านอาหารให้มีมาตรฐาน” รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้กล่าวขอแสดงความยินดีและชื่มชมกับภาคีเครือข่าย ที่เข้าร่วมโครงการ Clean Food Good Taste Plus และอาหารเป็นยา ทางด้าน ดร.วิฑูร อินทจันท์ นายกสมาคมการค้าธุรกิจอาหาร ได้ให้ข้อมูลว่า “ปัจจุบันการบริโภคอาหารของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เน้นอาหารเพื่อสุขภาพ ผู้บริโภคจะตระหนักถึงการมีสุขภาพที่ดี ได้รับข้อมูลในสิ่งที่จะบริโภค เช่น สมุนไพรไทยต่างๆ ที่ใช้ในการปรุง ประกอบอาหาร ว่า มีส่วนผสม มีสรรพคุณ มีประโยชน์ อย่างไรบ้าง โดยเฉพาะในช่วงการเกิดวิกฤตของ การแพร่ระบาดโควิด19″ ผู้ประกอบการค้าอาหารต้องเพิ่มคุณค่าด้านโภชนาการ เสริมผลิตภัณฑ์ไอโอดีน มีการสื่อสารความรู้ด้านสุขภาพแก่ผู้บริโภค จัดเมนูอาหารที่มีผัก ผลไม้พื้นบ้านและสมุนไพรท้องถิ่น เพื่อสร้างกระแสให้ผู้บริโภคตระหนักถึงความสำคัญในการบริโภคอาหารเป็นยา”
ภาพ/ข่าว ประภาพรรณ ขาวขำ/รายงาน