23/11/2024

อบจ.พิษณุโลก เปิดโครงการ อปท.ต้นแบบ จัดการน้ำตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ธนาคารน้ำใต้ดิน) นำร่องในพื้นที่ อ.บางระกำ

อบจ.พิษณุโลก เปิดโครงการ อปท.ต้นแบบ จัดการน้ำตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ธนาคารน้ำใต้ดิน) นำร่องในพื้นที่ อ.บางระกำ

 


วันที่ 25 สิงหาคม 2565 นายมนต์ชัย วิวัฒน์ธนาฒย์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก เป็นประธานเปิดโครงการ อปท.ต้นแบบ จัดการน้ำตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ธนาคารน้ำใต้ดิน) รุ่นที่ 1 ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลท่านางงาม อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก จัดโดยกองทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก มี นางสุรางคณา คุ้มครอง ผู้อำนวยการกองทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก กล่าวรายงาน ภายในพิธีเปิดได้รับเกียรติจาก นายเชาวลิต บุญก่อ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก เขตอำเภอบางระกำ พร้อมด้วย นางสีไพร โกธรรม ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก หัวหน้าส่วนราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก และนายบุญช่วย สีปานนาค นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่านางงาม พร้อมคณะเข้าร่วมฯ

โดยในการดำเนินโครงการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงพัฒนาในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลกให้แก่ บ้าน วัด โรงเรียน ได้มีความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการน้ำเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและสร้างรายได้ให้กับประชาชน ลดความเหลื่อมล้ำในสังคมโดยการสร้างโอกาสให้คนยากจนได้ใช้ประโยชน์จากน้ำและดินสู่แปลงเกษตรผสมผสานด้วยการพึ่งพาตนเอง ตลอดจนเพื่อพัฒนายกระดับองค์กรปกรองส่วนท้องถิ่นพื้นที่เป้าหมายเป็นศูนย์เรียนรู้ อปท. ต้นแบบจัดการน้ำตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (ธนาคารน้ำใต้ดิน) เป็นแบบอย่างและขยายผลการพัฒนาสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานอื่น และเพื่อช่วยแก้ปัญหาน้ำแล้งน้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลกต่อไป โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 100 คน ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน และประชาชนในพื้นที่ตำบลท่านางงาม


ทั้งนี้สำหรับโครงการ อปท.ต้นแบบ จัดการน้ำตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ธนาคารน้ำใต้ดิน) ได้นำร่องจัดทำธนาคารน้ำใต้ดินขึ้นในพื้นที่ตำบลท่านางงาม อำเภอบางระกำ จำนวน 10 จุด ทั้ง บ้าน วัด โรงเรียน ที่มีความเหมาะสมและมีความพร้อมในการดำเนินโครงการ ประกอบด้วย พื้นที่หมู่ 3 บ้านบางแก้ว จำนวน 2 จุด, หมู่ที่ 8 บ้านย่านใหญ่ จำนวน 2 จุด, หมู่ที่ 10 บ้านแท่นนางงาม จำนวน 2 จุด, หมู่ที่ 5 บ้านห้วยชัน ตำบลท่านางงาม จำนวน 3 จุด และโรงเรียนบ้านกรุงกรัก หมู่ที่ 2 ตำบลท่านางาม จำนวน 1 จุด พร้อมกันนี้นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลกและคณะได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานจัดทำธนาคารน้ำใต้ดินในพื้นที่ตำบลท่านางงามครั้งนี้ด้วย.


โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำหลักการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงพัฒนาในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก ให้แก่ บ้าน วัด โรงเรียน ได้มีความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการน้ำเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและสร้างรายได้ให้กับประชาชน ลดความเหลื่อมล้ำในสังคมโดยการสร้างโอกาสให้คนยากจนได้ใช้ประโยชน์จากน้ำและดินสู่แปลงเกษตรผสมผสานด้วยกาพึ่งพาตนเอง ตลอดจนเพื่อพัฒนายกระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพื้นที่เป้าหมายเป็นศูนย์เรียนรู้ อปท.ต้นแบบจัดการน้ำตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (ธนาคารน้ำใต้ดิน) เป็นแบบอย่างและขยายผลการพัฒนาสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานอื่น และเป็นโครงการนำร่องเพื่อช่วยแก้ปัญหาน้ำแล้งน้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก


ทั้งนี้สืบเนื่องจากประเทศไทยประสบปัญหาด้านการบริหารจัดการน้ำ การขาดแคลนน้ำในฤดูแล้งเนื่องจากภาวะฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน ส่วนในฤดูฝนหากเกิดฝนตกในปริมาณมากและมีน้ำหลากทำให้เกิดปัญหาอุทกภัย ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพของประชาชนในพื้นที่อย่างกว้างขวาง ฉะนั้นการบริหารจัดการน้ำที่ดีและมีประสิทธิภาพย่อมทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นได้ การพัฒนาแหล่งน้ำและการบริหารจัดการน้ำทั้งในฤดูแล้งและฤดูฝนจึงเป็นงานที่มีความสำคัญและเป็นประโยชน์สำหรับประชาชน ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และชุมชน ในการทำงานแบบร่วมคิดและดำเนินการแก้ปัญหาในพื้นที่ จึงเป็นการบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการ ซึ่งจะเกิดผลสัมฤทธิ์อย่างยั่งยืน ซึ่งประโยชน์ของการจัดทำธนาคารน้ำใต้ดิน เช่น แก้ไขปัญหาน้ำท่วมขัง ปัญหาพื้นที่แห้งแล้ง ช่วยเพิ่มระดับน้ำใต้ดินน้ำบาดาล และช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวดินทำให้ต้นไม้และพืชเขียวทั้งปี ตลอดจนลดความเสียหายด้านโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนนขวางทางน้ำ การกัดเซาะถนนของน้ำหรือน้ำป่าไหลหลาก และกลุ่มเกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น

เนื่องจากมีปริมาณน้ำที่เพียงพอในการทำการเกษตร สามารถพึ่งพาตนเองได้ โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการ ประกอบด้วย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน และประชาชน ในพื้นที่ตำบลท่านางงาม จำนวน 100 คน
น้ำเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิต และการพัฒนาทางเศรษฐกิจ น้ำตามสภาพธรรมชาติที่ประชาชนทุกท้องที่อาศัยใช้ ได้แก่น้ำในบรรยากาศ น้ำผิวดิน และน้ำบาดาล นับเป็นผลิตผลจากธรรมชาติที่เราไม่สามารถผลิตเพิ่มขึ้นมา หรือลดปริมาณที่มีอยู่ในธรรมชาติได้เองตามต้องการ บางปีอาจเกิดฝนแล้งเป็นเหตุให้น้ำในแม่น้ำลำธารมีน้อย จนไม่สามารถแบ่งปันได้ทั่วถึงหรือบางปีฝนตกชุกต่อเนื่องจนเกิดความเสียหายเนื่องจากน้ำท่วมทรัพย์สินและพื้นที่ชุมชน ตลอดจนการมีน้ำเสียหรือมลพิษทางน้ำเกิดขึ้นในหลายท้องที่ตามมาอีกด้วย นับเป็นวิกฤตการณ์เกี่ยวกับน้ำ ซึ่งปัจจุบันนี้เกิดขึ้นอยู่ตามท้องถิ่นต่างๆ ทั้ง บ้าน วัด โรงเรียน น้ำจึงเป็นทรัพยากรธรรมชาติ ที่ต้องมีการบริหารจัดการทั้ง ปริมาณและคุณภาพอย่างเป็นรูปธรรมทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างยั่งยืน โดยการเสริมสร้างความรู้นำไปสู่การปฏิบัติและร่วมการขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรมด้วยวิธีการจัดทำระบบธนาคารน้ำใต้ดินตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อแก้ปัญหาน้ำแล้งน้ำท่วมในพื้นที่ต่อไป

ธันย์ชนก ทองเพิ่ม รายงานข่าวพิษณุโลก

ข่าวที่น่าติดตาม