เพชรบูรณ์- โครงการจ้างวิศวกรที่ปรึกษาสำรวจและออกแบบทางหลวง 4 ช่องจราจรบนทางหลวงหมายเลข 113 ช่วง อ.ชนแดน- ต.ดงขุย เพื่อนำเสนอความก้าวหน้า
เพชรบูรณ์- โครงการจ้างวิศวกรที่ปรึกษาสำรวจและออกแบบทางหลวง 4 ช่องจราจรบนทางหลวงหมายเลข 113 ช่วง อ.ชนแดน- ต.ดงขุย เพื่อนำเสนอความก้าวหน้า
หอประชุมที่ว่าการอำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์ นายนาวิน สังฆมาตรนายอำอภอชนแดน ได้เป็นประธานเปิดการประชุม และในช่วงบ่ายจะมีการเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการศึกษาของโครงการฯอีกที่วัดจันทราราม ตำบลตะกุดไร อำเภอชนแดนด้วย เพื่อสรุปผลการคัดเลือกรูปแบบการพัฒนาโครงการ (สัมมนา ครั้งที่ 2 โครงการจ้างวิศวกรที่ปรึกษาสำรวจและออกแบบทางหลวง 4 ช่องจราจรบนทางหลวงหมายเลข 113 ช่วง อ.ชนแดน- ต.ดงขุย นำเสนอความก้าวหน้าผลการศึกษาและสรุปผลการคัดเลือกรูปแบบทางเลือกที่เหมาะสม พร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการศึกษาของโครงการ เพื่อนำไปพิจารณาประกอบการศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานราชการรัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรธุรกิจเอกชน และภาคประชาชน เข้าร่วมการประชุม
สำหรับการจัดประชุมในครั้งนี้ ที่ปรึกษาโครงการฯ ได้นำเสนอแนวคิดเบื้องต้นในการพัฒนาแนวเส้นทาง โดยมีจุดเริ่มต้นบริเวณทางหลวงหมายเลข 1 13 กม.27-000 และมีจุดสิ้นสุดโครงการบนทางหลวงหมายเลข 113กม.54 +000 รวมระยะทางประมาณ 27 กิโลมตร จากเดิมแนวเส้นทางดังกล่าว มี 2 ช่องจราจร บางช่วงเป็น 4 ช่องจราจร ซึ่งกรมทางหลวงมีแผนดำเนินการเพื่อจะขยายช่องทางจราจรให้มีขนาด 4 ช่องจราจร เพื่อให้มีความเหมาะสมกับโครงข่ายทางหลวง และรอบรับปริมาณการจราจรในอนาคต ซึ่งที่ปรึกษาโครงการฯ ได้นำเสนอรูปแบบการพัฒนา โครงการ 3 รูปแบบ
โดยมีรายละเอียดดังนี้ รูปแบบที่ 1 ทางหลวง 4 ช่องจราจร เกาะกลางแบบยก (Raised Median)รูปแบบที่ 2 ทางหลวง 4 ช่องจราจร เกาะกลางแท่งคอนกรีต (Barier Median) รูปแบบที่ 3 ทางหลวง 4 ช่องจราจรเกาะกลางแบบกดเป็นร่อง (Depressed Median) ซึ่งจากการพิจารณาหลักเกณฑ์ต่างๆ ทั้งด้านวิศวกรรมและการจราจรด้านเศรษฐกิจและการลงทุน และด้านผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม พบว่า รูปแบบการพัฒนาโครงการที่เหมาะสมสำหรับพื้นที่นอกเขตชุมชน ได้แก่ รูปแบบ ที่ 2 ทางหลวง 4 ช่องจราจร เกาะกลางแท่งคอนกรีต (Barier Median) ข้อดี คือถนนมีความปลอดภัย หากเกิดอุบัติเหตุรถชนกับกำแพงคอนกรีต รถสามารถพลิกกลับมาอยู่ในช่องจราจรของตัวเองได้รวมถึงค่าบำรุงรักษาต่ำที่สุดและใช้พื้นที่เกาะกลางน้อย
ส่วนรูปแบบการพัฒนาโครงการที่เหมาะสมสำหรับพื้นที่ในเขตชุมชน ได้แก่ รูปแบบที่ 1 ทางหลวง 4 ช่องจราจร เกาะกลางแบบยก (Raised Median) ข้อดี คือ มีความสะดวกปลอดภัยต่อผู้ใช้รถและการข้ามถนน เหมาะสำหรับพื้นที่ชุมชนที่จำกัดความเร็วรถ เนื่องจากมีช่องจราจรรอเลี้ยวกลับรถและมีพื้นที่เกาะกลางสำหรับยืนรอข้ามถนน รวมทั้งค่าก่อสร้างถูกกว่ารูปแบบเกาะกลางแท่งคอนกรีตส่วนรูปแบบจุตตัดทางแยกของโครงการ จากการตรวจสอบพื้นที่ตามแนวเส้นทางพบ 6 จุด โดยมีรายละเอียดจุดตัดทางแยก ดังนี้ จุดตัดที่ 1 บริเวณสามแยกบ้านโคกเจริญ (กม.27+296) จุดตัดกับทางหลวงหมายเลข 2398 จำนวน 4ช่องจราจร จุดตัดที่ 2 บริเวณวัดพระพุทธบาทชนแดน (กม.28+619) จุดตัดกับทางหลวงหมายเลข 1205 จำนวน 2ช่องจราจร
และจุตตัดที่ 3 บริเวณแยกตะกุดไร ชนแดน (กม.43+532) จุดตัดกับทางหลวงหมายเลข 1069 จำนวน 4ช่องจราจร ที่ปรึกษาพิจารณาให้ใช้สัญญาณไฟจราจรเดิม ส่วนจุดตัดที่ 4 บริเวณแยกเข้าบ้านตะกุดไร ใกล้ที่ Lotus สาขาดงขุย (กม.144+615) จุดตัดกับทางหลวงชนบท พช.3036 จำนวน 2 ช่องจราจร ที่ปรึกษาพิจารณาให้เพิ่มสัญญาไฟจราจร จุดตัดที่ 5 บริเวณแยกเข้าโรงเรียนหนองระมาน (กม.49+435) จุดตัดถนนท้องถิ่นชุมชนบ้านนุ่งคล้า จำนวน 2. ช่องจราจร ที่ปรึกษาพิจารณาให้ปิดทางแยกและใช้ทางกลับรถแทน จุดตัดที่ 6 บริเวณ หน้าโรงเรียนบ้านท่าข้าม(กม.36+746) จำนวน 2. ช่องจราจร ที่ปรึกษาพิจารณาเปิดเป็นทางแยกในอนาคตและเพิ่มสัญญาณไฟจราจร
มนสิชา คล้ายแก้ว