ขอนแก่น-กฟผ.เขื่อนอุบลรัตน์ นำคณะสื่อมวลชนจังหวัดขอนแก่น ศึกษาดูภารกิจของ กฟผ.ในพื้นที่ภาคเหนือ
ขอนแก่น-กฟผ.เขื่อนอุบลรัตน์ นำคณะสื่อมวลชนจังหวัดขอนแก่น ศึกษาดูภารกิจของ กฟผ.ในพื้นที่ภาคเหนือ
เมื่อระหว่างวันที่ 26-29 พฤศจิกายน 2565 นายชาญชัย พรนิคม ช่างระดับ 7 และนางเจนจิรา ปันมูล ช่างระดับ 5 แผนกประชาสัมพันธ์และชุมชนสัมพันธ์ เขื่อนอุบลรัตน์ นำคณะสื่อมวลชนในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น โดยมีนายเจริญ เพ็งมูล อดีตนายกสมาคมสื่อมวลชนจังหวัดขอนแก่น ปี 2463-2565 พร้อมคณะกรรมการบริการและพี่น้องสื่อมวลชนจากหลายสังกัด ศึกษาดูภารกิจของ กฟผ.ในพื้นที่ภาคเหนือ ได้แก่
1.โรงไฟฟ้าแม่เมาะ เหมืองแม่เมาะ จ.ลำปาง
2.เขื่อนภูมิพล จ.ตาก
3.เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์
-เหมืองแม่เมาะ เป็นเหมืองถ่านหินลิกไนต์ทีใหญ่ที่สุดในเอเชียอาคเนย์ อยู่ในเขตพื้นที่ อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง ดำเนินการโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประทศไทย(กฟผ.) มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการผลิตถ่านหินลิกไนต์ เพื่อเป็นเชื้อเพลิงให้กับโรงไฟฟ้าแม่เมาะสำหรับผลิตกระแสไฟฟ้าปัจจุบันบ่อเหมืองแม่เมาะมีพื้นที่ประมาณ 30 ตร.กม. มีส่วนกว้างที่สุดประมาณ 4 กม. และยาวที่สุดประมาณ 7 กม. จากการสำรวจพบว่า มีปริมาณถ่านหินสำรองที่คุ้มค่าทางเศรษฐกิจประมาณ 827 ล้านตัน ภารกิจหลักของเหมืองแม่เมาะเป็นการทำเหมืองแบบเปิด ซึ่งปฏิบัติงานตลอด 24 ชั่วโมง ปัจจุบันเหมืองแม่เมาะมีการขุดดินออกปีละประมาณ 80-100 ล้าน ลบ.ม.
เพื่อผลิตและส่งถ่านหินลิกไนต์ ปีละประมาณ 14-15 ล้านตันให้โรงไฟฟ้าแม่เมาะจำนวน 7 หน่วย เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งมีกำลังผลิตรวม 2,455 เมกกะวัตต์หรือเฉลี่ยปีละ18,000 ล้านหน่วยข้อมูล ณ มีนาคม 2564
-เขื่อนภูมิพล เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เขื่อนยันฮี เป็นเขื่อนเอนกประสงค์แห่งแรกในประเทศไทย สร้างเป็นเขื่อนคอนกรีตรูปโค้งขนาดใหญ่ที่สูงที่สุดในประเทศไทยและเอเชียอาคเนย์ จัดอยู่ในอันดับ 8 ของโลก มีความสูงจากฐานถึงสันเขื่อน 154 เมตร
เขื่อนภูมิพลเป็นเขื่อนคอนกรีตโค้งแห่งเดียวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยและเป็นอันดับ 8 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อีกทั้งยังเป็นเขื่อนเอนกประสงค์แห่งแรกของประเทศไทยอีกด้วย เดิมทีเขื่อนแห่งนี้มีชื่อว่าเขื่อนยันฮี ต่อมาเมื่อวันที่ 25 กรกฏาคม พ.ศ. 2500 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระปรมาภิไธยให้เป็นชื่อเขื่อนว่า เขื่อนภูมิพล และต่อมาพระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์การก่อสร้าง เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2504 ทั้งนี้ การสร้างเขื่อนแห่งนี้ขึ้นมานั้น เพื่อปิดกั้นลำน้ำปิงที่บริเวณเขาแก้ว อำเภอสามเงา จังหวัดตาก มีรัศมีความโค้ง 250 เมตร สูง 154 เมตร ยาว 486 เมตร ความกว้างของสันเขื่อน 6 เมตร โดยอ่างเก็บน้ำของเขื่อนนับว่ามีความจุสูงสุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
-เขื่อนสิริกิติ์ ก่อสร้างขึ้นตามโครงการพัฒนาลุ่มน้ำน่าน เพื่อป้องกันอุทกภัย ในพื้นที่ตอนใต้ของจังหวัดอุตรดิตถ์ เดิมชื่อ เขื่อนผาซ่อม ตั้งอยู่ที่อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ ต่อมาได้รับพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญพระนามาภิไธย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ขนานนามว่า “เขื่อนสิริกิติ์”
เขื่อนสิริกิติ์ สร้างปิดกั้นลำน้ำน่าน ที่ตำบลผาเลือด อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ เริ่มดำเนินการก่อสร้างโดยกรมชลประทาน เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๖ แล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๕๑๕ เป็นเขื่อนดินถมแกนดินเหนียว สูง ๑๓๓.๖๐เมตร
ยาว ๘๑๐เมตร กว้าง ๑๒เมตร อ่างเก็บน้ำสามารถเก็บกักน้ำได้สูงสุด ๘,๕๑๐ ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งมีความจุมากเป็นอันดับสามรองจากเขื่อนศรีนครินทร์และเขื่อนภูมิพล
สำหรับโรงไฟฟ้าเขื่อนสิริกิติ์ ดำเนินการก่อสร้างโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)ในปี พ.ศ. ๒๕๑๑ แล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๕๑๕ พร้อมๆ กับตัวเขื่อน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธีเปิดเขื่อนสิริกิติ์และโรงไฟฟ้า เมื่อวันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๐.