“อลงกรณ์”ดันไทยเป็นฮับรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงของอาเซียน(ASEAN Ev Conversion Hub) เสนอแผนปั้นอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าแนวใหม่ แนะรัฐออก 8 มาตรการส่งเสริมการแปลงรถยนตร์เบนซินดีเซลเป็นรถไฟฟ้า
“อลงกรณ์”ดันไทยเป็นฮับรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงของอาเซียน(ASEAN Ev Conversion Hub) เสนอแผนปั้นอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าแนวใหม่ แนะรัฐออก 8 มาตรการส่งเสริมการแปลงรถยนตร์เบนซินดีเซลเป็นรถไฟฟ้า
นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะผู้ก่อตั้งและประธานที่ปรึกษามูลนิธิสถาบันพลังงานทางเลือกแห่งประเทศไทย ให้เกียรติกล่าวปาฐกถาพิเศษ “อนาคตประเทศไทยภายใต้ความท้าทายใหม่” ในงาน “We Change … BEV Conversion” โดยมุ่งเน้นถึงทิศทางแนวโน้มอุตสาหกรรม แนวทางสนับสนุนของภาครัฐ องค์กร เพื่อลดปัญหาอุปสรรค ข้อจำกัดของอุตสาหกรรมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า และการดัดแปลงยานยนต์ไฟฟ้าของไทย ซึ่งมูลนิธิสถาบันพลังงานทางเลือกแห่งประเทศไทย (AEITF) ร่วมกับ บริษัท สื่อสากล จำกัด ตระหนักถึงความสำคัญในการสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภค ได้รับทราบถึงทิศทางการพัฒนาของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าที่จะเป็นประโยชน์ต่อการสร้างมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจการพาณิชย์ ตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ของรัฐบาล แผนการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2558-2579 ของกระทรวงพลังงาน ตลอดจนสร้างกระแสความรับรู้มาตรการส่งเสริมภาครัฐ มุมมองการดัดแปลงยานยนต์ไฟฟ้าและจักรยายนต์ไฟฟ้าสำหรับธุรกิจรายย่อยและประชาชนทั่วไป โดยมี นายสุเมฆปัณฑรานุวงศ์ ประธานมูลนิธิสถาบันพลังงานทางเลือกแห่งประเทศไทย กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ในการจัดงาน นายขวัญชัย ปภัสร์พงษ์ ประธานบริษัทสื่อสากล จำกัด และประธานจัดงานมหกรรมยานยนต์ กล่าวเปิดงานและกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมการเสวนา ณ งานมหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 39 The 39 th Thailand International MOTOR EXPO 2022 ห้องประชุมจูปีเตอร์ 8-9 อาคารชาเลนเจอร์ อิมแพ็คเมืองทองธานี
นายอลงกรณ์ ได้กล่าวปาถกถาถึงศักยภาพและอนาคตอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าประเทศไทย โอกาสและความท้าทายของสถานการณ์สำคัญของโลก และการตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศของโลก( Climate Chang)โดยรัฐบาลได้มีนโยบายส่งเสริมให้เกิดการผลิตการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศ
โดยคณะกรรมการยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ(บอร์ด EV)กำหนดนโยบาย 30@30 >>การผลิตรถ ZEV (Zero Emission Vehicle) หรือรถยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ให้ได้อย่างน้อย 30% ของการผลิตยานยนต์ทั้งหมดในปี ค.ศ. 2030โดยมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Society) และการเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนที่สำคัญของโลกหรือศูนย์กลางของภูมิภาค (EV Hub)
จากข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (Board of Investment: BOI) ได้รายงานความคืบหน้าในการส่งเสริมกิจการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วน ตั้งแต่ปี พ.ศ.2560 ถึงวันที่ 17 สิงหาคม 2565) มีโครงการที่ได้รับส่งเสริมในกิจการดังกล่าวแล้ว รวม 26 โครงการ จาก 17 บริษัท มีมูลค่าการลงทุนรวม 80,208.6 ล้านบาท (ไม่รวมค่าที่ดินและเงินทุนหมุนเวียน) รวมกำลังการผลิต จำนวน 838,775 คัน แยกเป็น HEV 38,623.9 ล้านบาท 440,955 คัน, PHEV 11,665.6 ล้านบาท 137,600 คัน, BEV 27,745.2 ล้านบาท 256,220 คัน และ Battery Electric Bus 2,173.8 ล้านบาท 4,000 คัน ส่งผลให้เกิดการผลิตชิ้นส่วนสำคัญสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าตามมา เนื่องจากเงื่อนไขการส่งเสริมการลงทุนกำหนดให้ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าจะต้องผลิตหรือใช้แบตเตอรี่ในประเทศ นอกจากนั้น หากผู้ผลิตรถยนต์มีการผลิตหรือใช้ชิ้นส่วนสำคัญ เช่น Battery Management System (BMS), Drive Control Unit (DCU) และ Traction Motorในประเทศเพิ่มเติม ก็จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติมอีกด้วย
ซึ่งในปัจจุบันมีการอนุมัติส่งเสริมการลงทุนโครงการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้า แล้ว 35 โครงการ จาก 26 บริษัท มูลค่ารวม 15,410.2 ล้านบาท (ไม่รวมค่าที่ดินและเงินทุนหมุนเวียน) ตัวอย่างชิ้นส่วนสำคัญ เช่น แบตเตอรี่, Traction Motor, BMS, DCU, Inverter, Onboard Charger, DC/DC Converter, High Voltage Harness, ระบบระบายความร้อนของแบตเตอรี่ และอุปกรณ์สำหรับสถานีอัดประจุไฟฟ้า เป็นต้น
“เรามีอุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์ใหญ่ที่สุดในอาเซียน โรงงานเหล่านี้ส่วนใหญ่ไม่มีที่ไปจะเป็นsunset industry และเรามีรถยนต์สันดาปภายในฤอยู่ในท้องถนนและเต้นท์รถมือสองจำนวน 19ล้านคัน ถ้าเราเปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาสด้วยการส่งเสริมให้มีการแปลงรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายใน(ICE)เป็นรถยนต์ไฟฟ้าและยังรักษาฐานอุดสาหกรรมชิ้นส่วนและการผลิตรถยนต์ของไทยที่ได้รับผบกระทบจากการผลิตรถไฟฟ้า
ภาครัฐต้องตระหนักและให้ความสำคัญในการส่งเสริมสนับสนุนการผลิตชุดอุปกรณ์Ev conversation kitและกำหนดมาตรการสนับสนุนยานยนต์ดังกล่าวเข่นเดียวกับมาตรการส่วเสริมการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศให้มากขึ้น
โดยมีข้อเสนอในเชิงมาตรการ 8 ประการ
1. มาตรดารส่งเสริมวิจัยและพัฒนา (R&D )รวมถึงการจัดตั้งสถาบัน Ev convertion
2.มาตรการจูงใจด้านภาษี การลงทุน กิจการ Ev convertion
3.มาตรการคาร์บอน เครดิต( Carbon Credit )
4.การจัดทำโครงการ 1 อำเภอ 1 อู่ Ev Convertion โดยศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม( AIC)และวิทยาลัยอาชีวะ
5.การยกระดับคุณวุฒิวิชาชีพช่าง
6.การส่งเสริมอุตสาหกรรมในประเทศและส่งออก Ev convertion ในอาเซียนและ ประเทศเศรษฐกิจใหม่ และประเทศกำลังพัฒนา
7.การแก้ไขกฎระเบียนเพื่อสนับสนุนEv Conversion
8.การส่งเสริมระบบการเงินและสินเชื่อ(financial scheme)