ภูเก็ต – คณะผู้แทนรัฐสภาไทย เข้าร่วมการประชุม (SEAPAC) ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กลับถึงไทยแล้ว พร้อมความร่วมมือภาคีต่อต้านการทุจริต ทรัพยากรสีเขียว
ภูเก็ต – คณะผู้แทนรัฐสภาไทย เข้าร่วมการประชุม (SEAPAC) ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กลับถึงไทยแล้ว พร้อมความร่วมมือภาคีต่อต้านการทุจริต ทรัพยากรสีเขียว
จากกรณีที่ประเทศไทย ส่งคณะผู้แทนรัฐสภาฯ นำโดย นายสุทา ประทีป ณ ถลาง เข้าร่วมการประชุม (SEAPAC) ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อการต่อต้านการทุจริต ณ กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ระหว่างวันที่ 26 – 28 ก.พ. 66 เป็นการประชุมประจำปีและการประชุมสมัชชาใหญ่ของกลุ่มสมาชิกรัฐสภาภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อการต่อต้านการทุจริต (Southeast Asia Parliamentarians Against Corruption (SEAPAC) Conference and General Assembly)
คืบหน้าล่าสุดเมื่อวันที่1 มีนาคม 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะตัวแทนรัฐสภาจากประเทศไทยได้เดินทางกลับมาถึงประเทศไทยแล้ว
เมื่อวันที่ 28 ก.พ 66 เวลา 17:25 นาที
นายสุทา ประทีป ณ ถลาง ตัวแทนคณะรัฐสภาฯ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รอง กมธ.สภาผู้แทนราษฎร์ กล่าวว่า ตนในฐานะคณะผู้แทนรัฐสภาไทย ได้เข้าร่วมการประชุมของกลุ่มสมาชิกรัฐสภาภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อการต่อต้านการทุจริต (SEAPAC) การประชุมในครั้งนี้ มีประเทศสมาชิก SEAPAC เข้าร่วมการประชุม โดยมี ดร. Fadli Zon ประธาน SEAPAC และประธานคณะกรรมาธิการด้านความร่วมมือรัฐสภาระหว่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎรแห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซีย เป็นประธานการประชุม
การประชุม ในหัวข้อ “การอภิปรายถึงมูลเหตุของการทุจริตทางการเมืองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้: บทบาทของรัฐสภาในการวางระเบียบและกำกับดูแลการให้เงินสนับสนุนทางการเมือง” (Addressing the Root of Political Corruption in Southeast Asia: Parliaments’ Role in Regulating and Monitoring Political Finance) ผู้แทนรัฐสภาไทยได้กล่าวถ้อยแถลงเกี่ยวกับประเด็นปัญหาการทุจริตในประเทศไทย และการดำเนินการเพื่อการต่อต้านการทุจริต โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมกฎหมายเพื่อเปิดเผยข้อมูลภาครัฐให้ประชาชนสามารถเข้าถึงและตรวจสอบการทำงานของภาครัฐได้ และในระดับนานาชาติ ไทยพร้อมสนับสนุนเครือข่ายการทำงานเพื่อการต่อต้านการทุจริตในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
นายสุทา ประทีป ณ ถลาง ยังกล่าวต่ออีกด้วยว่า สำหรับการประชุม ในหัวข้อ “การกระตุ้นการดำเนินการของรัฐสภาและภาคีเพื่อการต่อต้านการทุจริตสีเขียว” (Galvanizing Parliamentary Actions and Partnerships to Combat Green Corruption) โดย ผู้แทนรัฐสภาไทยได้กล่าวถ้อยแถลงถึงปัญหาการทุจริตสีเขียวที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งไทยและประเทศในภูมิภาคที่มีทรัพยากรธรรมชาติอยู่มาก ล้วนต่างเป็นเป้าหมายในการก่ออาชญากรรมต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้รัฐสภาไทยพร้อมจะร่วมมือกับประเทศสมาชิก SEAPAC เพื่อร่วมกันทำหน้าที่ด้านนิติบัญญัติในการออกกฎหมายเพื่อส่งเสริมการต่อต้านการทุจริตและปกป้องสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนตาม BCG Economic Model
การประชุมครั้งนี้ในกลุ่มสมาชิกรัฐสภาภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ใด้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นประเด็นปัญหาการทุจริตในประเทศ และดำเนินการเพื่อ ต่อต้านการทุจริต ในฐานะตนเป็นตัวแทนในประเทศไทย ตนพร้อมสนับสนุนเครือข่ายการทำงานเพื่อการต่อต้านการทุจริตในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเร่งเห็นความสำคัญที่จะต้องใด้รับการแก้ไข ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจให้อย่างยั่งยืนในระดับนานาชาติต่อไป.
นายสมชาย สังข์สนธ์ รายงานศูนย์ข่าวสารจังหวัดภูเก็ต