ชุมพร – เปิดหีบเลือกตั้งล่วงหน้า ประชาชนออกมาใช้สิทธิ์เลือกตั้งล่วงหน้า สามพันกว่าคน
ชุมพร – เปิดหีบเลือกตั้งล่วงหน้า ประชาชนออกมาใช้สิทธิ์เลือกตั้งล่วงหน้า สามพันกว่าคน
[embedyt] https://www.youtube.com/watch?v=83iB9BweCw4[/embedyt]
วันที่ 7 พฤษภาคม 2566 เวลา 8.00 น. ณ ร.ร. สอาดเผดิมวิทยา ต. ท่าตะเภา อ. เมือง จ. ชุมพร นายธนนท์ พรรพีภาส ปลัด จ.ชุมพร นำคณะกรรมการเลือกตั้งชุมพร ได้ให้ผู้ลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้า ในวันนี้ตั้งแต่เวลา 8.00 น. – 17.00 น.ร่วมกับ นายสมยศ บุญทาน ผอ.กกต.ชุมพร นายศักดิ์สิทธิ์ แร่ทอง ผอ.เขตพื้นที่การศึกษาฯ เขต 1 ,พ.ต.อ. จิตเกษม สนขำ รอง ผบก.ภ.จว.ชุมพร , นายนุกูล แกล้วทนง ปธ.กกต.เขต 1 และเจ้าหน้าที่ร่วมเป็นกรรมการ มาช่วยดูแลอำนวยความสะดวกแก่ผู้การมาใช้สิทธิ์เลือกตั้งล่วงหน้าในวันนี้ มีประชาชนที่ลงทะเบียนมาใช้สิทธิ์เลือกตั้งล่วงหน้า ทั้งในเขตและนอกเขตที่ได้ลงทะเบียนมาก่อนหน้า จำนวน สามพันกว่าคน
นายสมยศ บุญทาน ผอ.กกต.ชุมพร ในวันนี้เป็นการใช้สิทธิ์เลือกตั้งล่วงหน้า ของจังหวัดชุมพร ในเขตเลือกตั้งที่ 1 กำหนดสถานที่ที่ลงคะแนนก็คือ อาคาร 9 และก็ อาคารโดมเฟื่องฟ้า มี 2 อาคาร ร.ร. สอาดเผดิมวิทยา จังหวัดชุมพร มียอดของผู้มาแสดงตนใช้สิทธิ์เลือกตั้งล่วงหน้า ของเขตที่ 1 จะมีจำนวนสามพันกว่าคน
บรรยากาศการเลือกตั้งล่วงหน้าเป็นไปด้วยความคึกคักตั้งแต่เช้ายังมีเวลาที่จะเดินทางมาลงคะแนนได้ตั้งแต่ เวลา 8.00 น. – 17.00 น. ท่านใดที่ยังทำธุระไม่เสร็จ หรือว่าเสร็จสิ้นภารกิจแล้วก็ยังสมารถเดินทางมาใช้สิทธิ์การเลือกตั้งได้ ในการเลือกตั้งในครั้งนี้เราพยายามลดความแออัดของสถานที่ในการลงคะแนน จากเดิมเมือปี 2562 ที่ เราใช้สถานที่ในการลงคะแนนการเลือกตั้งล่วงหน้าเป็นอาคารเดียว คืออาคาร 9 ในรอบนี้เราเห็นว่ามีความแออัด เลยเพิ่มสถานที่ขึ้นมาอีก 1 อาคาร จะได้มาใช้สิทธิ์ได้สะดวกและลดความแออัดลดขันต้อนที่จะต้องรอได้ดีขึ้น ในการจัดการครั้งนี้ก็คิดว่าเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
สำหรับประชาชนที่ยื่นลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้า สามารถไปใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้งในวันที่ 7 พ.ค. ตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น. และไม่สามารถไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ 14 พ.ค. ได้อีก หากไม่สามารถไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันนี้ได้ ต้องแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง เพื่อป้องกันการถูกจำกัดสิทธิตามที่กฎหมายกำหนดไว้
ขั้นตอนใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าในการเลือกตั้งล่วงหน้า มี 7 ขั้นตอนง่าย ๆ ดังนี้
ตรวจสอบรายชื่อ และลำดับที่จากบัญชีรายชื่อผู้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตเลือกตั้ง ที่ประกาศไว้หน้าที่เลือกตั้งกลางที่ผู้มีสิทธิลงทะเบียนขอใช้สิทธิไว้ หรือตรวจสอบได้ทางแอปพลิเคชันสมาร์ทโหวต (Smart Vote) ยื่นหลักฐานแสดงตน (บัตรประชาชน หรือหลักฐานแสดงตนอื่น) ให้กรรมการประจำที่เลือกตั้งกลาง เพื่อตรวจสอบข้อมูลและยืนยันตัวตน พร้อมลงลายมือชื่อในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งนอกเขตเลือกตั้ง รับซองใส่บัตรเลือกตั้ง และบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ โดยสีม่วง เป็นบัตรเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง และสีเขียว เป็นบัตรเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พร้อมลงลายมือชื่อ หรือพิมพ์ลายนิ้วหัวแม่มือขวา บนต้นขั้วบัตรเลือกตั้งทั้ง 2 ใบ โดยกรรมการประจำที่เลือกตั้งกลางลงลายมือชื่อในต้นขั้วบัตรเลือกตั้ง พร้อมลงรายการเกี่ยวกับจังหวัด เขตเลือกตั้งและรหัสเขตเลือกตั้งของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ลงบนซองใส่บัตรเลือกตั้ง (ส.ส. 5/2) เข้าคูหาลงคะแนน ทำเครื่องหมายกากบาทลงในช่องทำเครื่องหมายในบัตรเลือกตั้งแต่ละประเภท โดยสามารถเลือกผู้สมัคร หรือพรรคการเมืองได้เพียงบัตรละหมายเลขเดียว หากไม่ต้องการเลือกผู้สมัครใด หรือบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองใดเลย ให้ทำเครื่องหมายกากบาทในช่อง “ไม่ประสงค์เลือกผู้สมัครผู้ใด”เมื่อลงคะแนนเสร็จแล้ว พับบัตรเลือกตั้งทั้ง 2 ใบ แล้วใส่ลงในซองใส่บัตรเลือกตั้ง ปิดผนึกให้เรียบร้อยก่อนออกจากคูหาเลือกตั้ง มอบซองใส่บัตรเลือกตั้งที่ให้ปิดผนึกเรียบร้อยให้กรรมการประจำที่เลือกตั้งกลาง ผู้ทำหน้าที่ควบคุมหีบบัตรลงลายมือชื่อ กำกับตรงรอยต่อผนึกซองดังกล่าว พร้อมปิดทับรอยต่อผนึกซองด้วยเทปกาวใส เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วให้กรรมการประจำที่เลือกตั้งกลางยื่นซองใส่บัตรเลือกตั้งคืนให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
ผู้มีสิทธิเลือกตั้งนำซองใส่บัตรเลือกตั้ง ใส่ลงในหีบบัตรเลือกตั้งด้วยตนเองภายหลังปิดหีบเลือกตั้งล่วงหน้า เจ้าหน้าที่จะคัดแยกบัตรเลือกตั้งที่สำนักงานไปรษณีย์ ให้เจ้าหน้าลงนามกำกับ ก่อนส่งไปนับรวมที่เขตของผู้มีสิทธิเลือกตั้งพร้อมกันในวันที่ 14 พ.ค.
ข้อห้ามวันเลือกตั้งล่วงหน้า สำนักงาน กกต. ยังแจ้งเตือนผู้สมัครรับเลือกตั้งและประชาชนให้พึงระวัง ไม่กระทำการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ในวันเลือกตั้งล่วงหน้า 7 พ.ค. ดังนี้
ห้ามขาย จำหน่าย จ่ายแจก หรือจัดเลี้ยงสุราทุกชนิด ในเขตเลือกตั้ง ระหว่างเวลา 18.00 น. ของวันที่ 6 พ.ค. จนถึงเวลา 18.00 น. ของวันที่ 7 พ.ค. >> หากฝ่าฝืน มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ห้ามไม่ให้ผู้สมัครจัดยานพาหนะนำผู้มีสิทธิเลือกตั้งไปยังที่เลือกตั้ง หรือนำกลับไปจากที่เลือกตั้ง หรือจัดให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไปหรือกลับ เพื่อการออกเสียงลงคะแนน โดยไม่ต้องเสียค่าโดยสาร โดยห้ามไม่ให้ผู้ใดกระทำการเพื่อจูงใจ หรือควบคุมให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ไปลงคะแนนเลือกหรือลงคะแนนไม่เลือกผู้สมัครผู้ใด >> หากฝ่าฝืน มีโทษจำคุก 1-10 ปี หรือปรับ 20,000-200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 20 ปี ทั้งนี้ ไม่ใช้บังคับ หน่วยงานของรัฐในการจัดยานพาหนะเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
ห้ามไม่ให้ผู้บังคับบัญชาหรือนายจ้างผู้ใดขัดขวาง หรือหน่วงเหนี่ยว หรือไม่ให้ความสะดวกพอสมควรต่อการไปใช้สิทธิ เลือกตั้งของผู้ใต้บังคับบัญชา หรือลูกจ้าง >> หากฝ่าฝืน มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
นอกจากนี้ สำนักงาน กกต. ยังออกแนวทางปฏิบัติในการหาเสียงเลือกตั้งในวันเลือกตั้งล่วงหน้า ห้ามมิให้ผู้สมัคร หรือพรรคการเมือง หรือผู้ช่วยหาเสียงของผู้สมัคร หรือพรรคการเมือง หรือผู้ใด ดำเนินการแจกเอกสาร หรือวีดิทัศน์เกี่ยวกับการหาเสียงเลือกตั้ง หรือใช้พาหนะต่าง ๆ ที่ติดป้ายหาเสียง หรือใช้เครื่องขยายเสียงเพื่อช่วยในการหาเสียงเลือกตั้ง หรือจัดเวทีหาเสียงเลือกตั้ง ณ ที่เลือกตั้งกลาง
ห้ามมิให้ผู้สมัคร หรือพรรคการเมือง หรือผู้ช่วยหาเสียงของผู้สมัคร หรือพรรคการเมือง หรือผู้ใด กระทำการหาเสียงที่บริเวณใกล้เคียงกับที่เลือกตั้งกลาง หรือบริเวณอื่นใดที่จะทำให้เกิดการรบกวน รับรู้ หรือรับทราบข้อมูล เมื่ออยู่ในที่เลือกตั้งกลาง
ธนากร โกศลเมธีรายงาน 0818923514