ชุมพร – ประกวดวิสาหกิจชุมชนดีเด่นระดับเขต ปี 2566
ชุมพร – ประกวดวิสาหกิจชุมชนดีเด่นระดับเขต ปี 2566
วันอังคาร 9 พฤษภาคม 2566 ณ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มกาแฟบ้านถ้ำสิงห์ อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร นายวิสาห์ พูลศิริรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร กล่าวต้อนรับคณะกรรมการประกวดวิสาหกิจชุมชนดีเด่นระดับเขต ปี 2566
[embedyt] https://www.youtube.com/watch?v=P4QeDabrQzA[/embedyt]
ประธานคณะกรรมการประกวดวิสาหกิจชุมชนดีเด่นระดับเขต ปี 2566 คณะกรรมการ เกษตรจังหวัดชุมพร หัวหน้าส่วนราชการ คณะกรรมการวิสาหกิจชุมชน สมาชิกวิสาหกิจชุมชนและท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน
นายวิสาห์ พูลศิริรัตน์ กล่าวว่า ตามที่คณะทำงานการประกวดวิสาหกิจชุมชนดีเด่น ระดับจังหวัดชุมพร ดำเนินการประกวดวิสาหกิจชุมชนดีเด่นระดับจังหวัด ประจำปี 2566 เพื่อคัดเลือกวิสาหกิจชุมชนที่มีการบริหารจัดการที่ดีมีแนวโน้มการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นตัวอย่างหรือต้นแบบแก่วิสาหกิจชุมชนอื่นในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อันจะเป็นการกระตุ้นและพัฒนาประสิทธิภาพการประกอบการวิสาหกิจชุมชนให้เกิดความมั่นคง เป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. 2548 รวมทั้งเป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เกียรติคุณของวิสาหกิจชุมชนที่มีผลงานเด่นสู่สาธารณชน นั้น โดยวิสาหกิจชุมชนกลุ่มกาแฟบ้านถ้ำสิงห์ ตำบลถ้ำสิงห์ อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพรได้รับรางวัลชนะเลิศ และส่งผลงานเข้าประกวดวิสาหกิจชุมชนดีเด่นระดับเขต ประจำปี 2566
วิสาหกิจชุมชนกลุ่มกาแฟบ้านถ้ำสิงห์เป็นวิสาหกิจชุมชนที่มีการดำเนินงานเกี่ยวกับกาแฟโรบัสตาแบบครบวงจร ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ซึ่งการจัดตั้ง “วิสาหกิจชุมชนกลุ่มกาแฟบ้านถ้ำสิงห์” ขึ้นในตำบลถ้ำสิงห์สามารถฟื้นฟูการปลูกกาแฟพันธุ์โรบัสตาซึ่งเคยเป็นพืชเศรษฐกิจดั้งเดิมชองเกษตรกรทำให้เกษตรกรได้เพิ่มมูลค่าผลผลิตกาแฟด้วยการแปรรูปโดยไม่ต้องพึ่งพากลไกจากภายนอกมากนัก การดำเนินงานของกลุ่มมีความเข้มแข็งในทุกๆ ด้าน ตั้งแต่การบริหารจัดการกลุ่ม โดยประธานกลุ่มเป็นผู้ที่มีความสามารถเป็นที่ยอมรับและไว้วางใจจากสมาชิกภายในกลุ่มคณะกรรมการกลุ่มมีความรู้ ความสามารถ มีการแบ่งบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบที่ชัดเจน มีแนวคิดที่เหมือนกันสมาชิกและคณะกรรมการกลุ่มมีแนวคิดสอดคล้องกัน มีการพึ่งพากันภายในกลุ่มก่อนจะพึ่งพาภายนอกโดยมีการระดมหุ้นจากสมาชิกเพื่อใช้ในการบริหารจัดการกลุ่ม มีการพัฒนากลุ่มอย่างต่อเนื่องให้ทันกับยุคสมัยกลุ่มให้ความ ร่วมมือในการดำเนินงานกับหน่วยงานภาคีอย่างต่อเนื่อง กลุ่มให้ความสำคัญกับสวัสดิการชุมชน สาธารณประโยชน์เปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกมาศึกษาดูงานด้านการผลิตกาแฟทุกกระบวนการ เพื่อให้ผู้สนใจมาศึกษานำไปพัฒนาต่อยอดชุมชนของตนเอง มีการผลิตที่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมโดยการใช้พลังงานทดแทนมีการใช้ทรัพยากรชีวภาพในชุมชนเป็นวัตถุดิบ มีการผลิตเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และนำรายได้ส่วนหนึ่งไปอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรชีวภาพ ซึ่งเห็นได้จากรางวัลต่าง ๆ ที่กลุ่มได้รับ
วิสาหกิจชุมชนกลุ่มกาแฟบ้านถ้ำสิงห์ เป็นวิสาหกิจชุมชนที่มีการดำเนินงานเกี่ยวกับกาแฟโรบัสตา แบบครบวงจร ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ซึ่งการจัดตั้ง “วิสาหกิจชุมชนกลุ่มกาแฟบ้านถ้ำสิงห์” ขึ้น ในตำบลถ้ำสิงห์ สามารถฟื้นฟูการปลูกกาแฟพันธุ์โรบัสตาซึ่งเคยเป็นพืชเศรษฐกิจดั้งเดิมชองเกษตรกร ท้าให้ เกษตรกรได้เพิ่มมูลค่าผลผลิตกาแฟด้วยการแปรรูปโดยไม่ต้องพึ่งพากลไกจากภายนอกมากนัก นอกจากนี้เมื่อ มีกลุ่มแปรรูปผลผลิตกาแฟตั้งอยู่ในชุมชนจะท้าให้สมาชิกที่มีความสามารถด้านการตลาดมีรายได้เพิ่มขึ้นจาก การน้าผลิตภัณฑ์กาแฟถ้ำสิงห์ไปจ้าหน่าย และสมาชิกที่มีความสามารถด้านการใช้แรงงานก็มาท้างานใน ตำแหน่งหน้าที่ต่างๆ จึงเป็นการเพิ่มรายได้ เพิ่มอาชีพให้กับคนในชุมชนอย่างแท้จริงท้าให้ เกษตรกรมีรายได้ เพิ่มขึ้น สามารถช้าระหนี้และพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ถือเป็นการสร้างกลุ่มอาชีพทั้งผู้ปลูกกาแฟ ผู้แปรรูป กาแฟ และผู้ขายผลิตภัณฑ์กาแฟ สร้างโอกาส สร้างรายได้ สร้างชีวิตที่ดีให้กับสมาชิกและคนในชุมชน และเป็น การคงไว้ซึ่งพืชกาแฟในจังหวัดชุมพร ดังค้าขวัญที่ว่า “ชุมพรประตูภาคใต้ ไหว้เสด็จในกรม ชมไร่กาแฟ แลหาด ทรายรี ดีกล้วยเล็บมือ ขึ้นชื่อรังนก” สามารถจ้างคนในชุมชนมาท้างานกับกลุ่มและสร้างรายได้ให้กับจังหวัด ชุมพร ปี 2565 กว่า 30 ล้านบาท การดำเนินงานของกลุ่มมีความเข้มแข็งในทุกๆ ด้าน ตั้งแต่การบริหารจัดการกลุ่ม โดยประธานกลุ่ม เป็นผู้ที่มีความสามารถ เป็นที่ยอมรับและไว้วางใจจากสมาชิกภายในกลุ่ม คณะกรรมการกลุ่มมีความรู้ ความสามารถ มีการแบ่งบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบที่ชัดเจน มีแนวคิดที่เหมือนกัน สมาชิกและ คณะกรรมการกลุ่มมีแนวคิดสอดคล้องกัน มีการพึ่งพากันภายในกลุ่มก่อนจะพึ่งพาภายนอกโดยมีการระดมหุ้น จากสมาชิกเพื่อใช้ในการบริหารจัดการกลุ่ม มีการพัฒนากลุ่มอย่างต่อเนื่องให้ทันกับยุคสมัย กลุ่มให้ความร่วมมือในการดำเนินงานกับหน่วยงานภาคีอย่างต่อเนื่อง กลุ่มให้ความสำคัญกับ สวัสดิการชุมชน สาธารณประโยชน์ เปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกมาศึกษาดูงานด้านการผลิตกาแฟทุก กระบวนการ เพื่อให้ผู้สนใจมาศึกษาน้าไปพัฒนาต่อยอดชุมชนของตนเอง มีการผลิตที่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมโดย การใช้พลังงานทดแทนมีการใช้ทรัพยากรชีวภาพในชุมชนเป็นวัตถุดิบ มีการผลิตเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ น้ารายได้ส่วนหนึ่งไปอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรชีวภาพ ซึ่งเห็นได้จากรางวัลต่าง ๆ ที่กลุ่มได้รับ
ธนากร โกศลเมธีรายงาน 0818923514