เชียงใหม่-คณะกรรมการฝ่ายการศึกษานอกระบบ สศอ.ชม. ประชุมวางแผนพัฒนาการศึกษาเอกชนนอกระบบจังหวัดเชียงใหม่
เชียงใหม่-คณะกรรมการฝ่ายการศึกษานอกระบบ สศอ.ชม. ประชุมวางแผนพัฒนาการศึกษาเอกชนนอกระบบจังหวัดเชียงใหม่
วันที่ 12 พฤษภาคม 2566 เวลา 9.30 น. นายประพัทธ์ รัตนอรุณ รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาเอกชน ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการประชุมคณะกรรมการฝ่ายการศึกษานอกระบบ สมาคมสถานศึกษาเอกชน จังหวัดเชียงใหม่ โดยมี อ.ดวงสมร ไชยรัตน์ ประธานฝ่ายการศึกษานอกระบบ สมาคมสถานศึกษาเอกชน จ.เชียงใหม่ กล่าวรายงาน ณ ห้องประชุม London, EFL Learning Centre เชียงใหม่ พร้อมด้วยผอ.ญาณิกา ปานทอง ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมการศึกษาเอกชน และ อ.ปาริชาติ ป้อมไธสง นักวิชาการศึกษาชำนาญการ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเชียงใหม่ / ดร.วิไลวรรณ วรรณโชติผาเวช ผู้แทนผู้บริหาร กช.&ประธานปส.กช.นอกระบบ จ.เชียงใหม่ เพื่อวางแผนพัฒนาการศึกษาเอกชนนอกระบบจังหวัดเชียงใหม่ ให้สอดคล้องกับยุคสมัย วิสัยทัศน์ และ ยุทธศาสตร์ ของสมาคมฯ
นายประพัทธ์ รัตนอรุณ รองเลขาธิการ คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กล่าวว่า โรงเรียนเอกชนสังกัด สช. จำนวนทั้งสิ้น 11,792 โรง
มีโรงเรียนเอกชนนอกระบบอยู่ถึง 7,803 โรง โดยโรงเรียนเอกชนนอกระบบ หมายถึง โรงเรียนที่จัดการศึกษาโดยมีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสำเร็จการศึกษา แบ่งออกเป็นประเภทต่างๆได้แก่ 1)ประเภทสอนศาสนา2)ประเภทศิลปะและกีฬา 3)ประเภทวิชาชีพ 4)ประเภทกวดวิชา 5) ประเภทเสริมสร้างทักษะชีวิต 6)สถาบันศึกษาปอเนาะ 7) ศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด(ตาดีกา) โรงเรียนเอกชนนอกระบบเหล่านี้ หากตัดเอาโรงเรียนที่สอนเกี่ยวเนื่องกับศาสนา คือประเภทที่ 1,6,7 ออกไป ก็จะพบว่ามีอยู่ 4 ประเภท รวมทั้งสิ้น 4,965 แห่ง
เมื่อโลกเปลี่ยนไป ทิศทางการจัดการศึกษาแตกต่างออกไปจากเดิม การเรียนในโรงเรียนนอกระบบของเอกชนกำลังกลายเป็นรูปแบบหรือวิถีใหม่ของการจัดการศึกษาที่ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนอย่างแท้จริง และ เป็นเส้นทางสู่การศึกษาในอนาคต (Road to the Future) ปัจจุบันการจัดการศึกษาเอกชนนอกระบบ จัดเป็นการศึกษาทางเลือกที่มีคุณภาพ และมีจุดแข็งในการจัดการ คือมีความคล่องตัว ยืดหยุ่น สามารถจัดการเรียนการสอนตอบสนองความต้องการของผู้เรียนได้อย่างเต็มที่ ผ่านสมาคมที่มีส่วนเกี่ยวข้องร่วมกับสช. ได้มีการกำหนดยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนโรงเรียนเอกชนนอกระบบให้ตอบสนองยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาเเละการพัฒนาประเทศ
ที่ผ่านมาผมได้มีโอกาสทำงานในฐานะประธานคณะอนุกรรมการ กช. นอกระบบ เรื่องแรกๆที่ สช. ผ่านคณะกรรมการ กช. ได้ผลักดันสนับสนุน อาทิ1) การผ่านระเบียบที่ทำให้โรงเรียนเอกชนนอกระบบสามารถร่วมกันจัดการศึกษากับการศึกษาในระบบอื่นๆได้อย่างมีคุณภาพ
2) กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่เปิดให้ประชาชนเรียนนอกระบบมากขึ้น ผู้เรียนจบแล้วมีงานทำ สามารถใช้หนี้กองทุนได้โดยเร็ว รวมทั้งเป็นการกระจายรายได้ไปยังสถานศึกษาขนาดเล็ก หรือโรงเรียนเอกชนที่จัดการศึกษานอกระบบและอาชีพ อาทิโรงเรียนวิชาชีพ ศิลปะและกีฬา สร้างเสริมทักษะชีวิต กวดวิชาและอื่นๆ ซึ่งการให้กู้เพื่อเรียนหลักสูตรระยะสั้นเป็นการตอบสนองทิศทางการพัฒนาประเทศ ภายใต้ฐานเศรษฐกิจ s-curve และ New s-curve ถือเป็นการลงทุนระยะสั้น แต่ได้ผลระยะยาว และยังทำให้โรงเรียนเอกชนนอกระบบเติบโตขึ้นจากเดิมอีกด้วย
ขอชื่นชมและสนับสนุนการทำงานของฝ่ายการศึกษานอกระบบ สมาคมสถานศึกษาเอกชน จ.เชียงใหม่ที่ได้มีการกำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาโรงเรียนเอกชนนอกระบบให้ตอบสนองยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาเเละการพัฒนาประเทศ การจัดกิจกรรมโครงการต่างๆ เพื่อแสดงศักยภาพของนักเรียน ครูผู้สอน และโรงเรียนเอกชนนอกระบบจ.เชียงใหม่ นี่จึงเป็นอีกก้าวหนึ่งของโรงเรียนเอกชนนอกระบบที่กำลังจะเปลี่ยนไป ซึ่งนอกจากจะทำให้การจัดการศึกษาดังกล่าวไม่เหมือนเดิมตามที่เราเคยคุ้นชิน เเต่ก็มั่นใจได้ว่า รูปแบบและวิธีการใหม่ๆเหล่านี้จะทำให้โรงเรียนเอกชนนอกระบบมีคุณภาพเเละดีขึ้นกว่าเดิม
อาจารย์ดวงสมร ไชยรัตน์ ประธานฝ่ายการศึกษานอกระบบ สมาคมสถานศึกษาเอกชน จ.เชียงใหม่ กล่าวว่า สมาคมสถานศึกษาเอกชนจังหวัดเชียงใหม่ ปีบริหาร 2565-2567 กำหนดวิสัยทัศน์สมาคมฯ – พัฒนาการศึกษาเอกชนเชียงใหม่ ให้มีคุณภาพก้าวไกลสู่มาตรฐานสากล และ วางกรอบยุทธศาสตร์ 7 ประการ ได้แก่ เสริมสร้างคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของผู้เรียนสู่สากล,พัฒนาผู้บริหาร ครู และ บุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ ความสามารถ และมีคุณสมบัติที่ดี
,เสริมสร้างสวัสดิการและสวัสดิภาพผู้บริหาร ครู และ บุคลากรทางการศึกษา,เสริมสร้างสัมพันธภาพและความร่วมมือซึ่งกันและกันของสถานศึกษาเอกชน องค์กร และ หน่วยงานต่างๆ,อนุรักษ์และดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมประเพณีภูมิปัญญาไทยและใส่ใจสิ่งแวดล้อม,น้อมนำศาสตร์พระราชามุ่งเน้นคุณธรรมจิตอาสาบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม และบริหารทรัพยากรและงบประมาณให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่า
ฝ่ายการศึกษานอกระบบ สมาคมสถานศึกษาเอกชน จ.เชียงใหม่ จัดการประชุมครั้งนี้ขึ้นเพื่อวางแผนพัฒนาการศึกษาเอกชนนอกระบบจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับยุคสมัย วิสัยทัศน์ และ ยุทธศาสตร์ ของสมาคมฯ ช่วงท้ายของการประชุมจะขอเรียนเชิญท่านได้ให้เกียรติมอบเกียรติบัตรรางวัลต่าง ๆ เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจ ให้กับผู้บริหาร ครูผู้สอน และ นักเรียนของโรงเรียนเอกชนนอกระบบ จ.เชียงใหม่
ผู้ที่ได้รับรางวัล วิริยะอุตสาหะ 1/2566 ได้แก่ 1.นางสาว ปนิตา ทองจำรูญ (Platinum) 2.Boy Michael Wang (Platinum) 3.Miss Risa Sato (Gold) 4. นางสาว ชญานันทน์ ลิ้มสุคนธ์ (Silver) 5. เด็กชาย วิทย์วิสิฐ อำนวยชัยชนะ (Silver) 6. ดร. ภัทรมนัส ศรีตระกูล (Bronze) 7. นางสาว นภัสรพี ชัยวงศ์ (Bronze) 8. นางสาว ชฎาภัส เรืองสังข์ (Bronze)
คุณครูผู้ที่ได้รับรางวัล ครูโรงเรียนเอกชนดีเด่น ประเภทครู บุคลากรทางการศึกษางานวันการศึกษาเอกชน ประจำปี 2566 ได้แก่
1. Dr.Wilaiwan Wannachotphawet 2. Mr. John Quinn
3. Mr. Dean Du Plooy 4. Mr. Pip Masion 5. Mr. Daniel Thomas
6. Mr. Gary Matier 7. Miss Kanokwan Jantawong 8. Mr. Woramet Chaimongkol 9. Miss Anushika Sirinthipaporn
พร้อมกันนี้มอบเกียรติบัตรรางวัลดีเด่น คณะกรรมการฝ่ายการศึกษานอกระบบ สมาคมสถานศึกษาเอกชน จังหวัดเชียงใหม่ อีกด้วย
นภาพร/เชียงใหม่