23/11/2024

เชียงใหม่- จัดแสดงสินค้า“Lanna Coffee Hub Phase II ทดสอบตลาดผลิตภัณฑ์กาแฟคุณภาพล้านนา

เชียงใหม่- จัดแสดงสินค้า“Lanna Coffee Hub Phase II ทดสอบตลาดผลิตภัณฑ์กาแฟคุณภาพล้านนา

วันที่ 4 กรกฎาคม 2566 เวลา 15.00 นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานเปิดโครงการพัฒนาศูนย์กลางอุตสาหกรรมและธุรกิจกาแฟในภูมิภาค ระยะที่ 2 ( Lanna Coffee Hub Phase II ) กิจกรรมพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์กาแฟคุณภาพล้านนางบประมาณของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 พร้อมด้วย นางพัชรี ใบยา อุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ นายจักริน วังวิวัฒน์ ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัด เชียงใหม่ หัวหน้าส่วนราชการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ณ ศูนย์ประชุมและจําหน่ายสินค้านานาชาติเฉลิม พระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา จังหวัดเชียงใหม่

นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า กาแฟ ถือว่าเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 ซึ่งในปัจจุบันได้รับการยอมรับให้เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมกาแฟในภูมิภาค  หรือ Lanna Coffee Hub โดยได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนากาแฟตลอดทั้ง ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ได้แก่ การคัดเลือกสายพันธ์กาแฟ แปลงปลูก การพัฒนาสายพันธุ์ที่มีคุณภาพ และพื้นที่ปลูก การพัฒนาโรงคั่ว และโรงงานที่ได้มาตรฐานที่เป็นสากล รวมถึงมีกระบวนการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และที่สำคัญคือการพัฒนาศักยภาพของบุคคลากรในตลาดกาแฟ เพื่อให้ได้การรับรองมาตรฐานกาแฟไทย และ Q Grader ด้านกาแฟไทย  เพื่อร่วมกันสร้างกาแฟที่มีรสชาติ และคุณภาพในระดับสากล

ซึ่งเป็นสิ่งที่จังหวัดเชียงใหม่และกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 คาดหวังให้เกิดในพื้นที่ การที่สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดในกลุ่มภาคเหนือตอนบน 1 และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำการพัฒนากาแฟ ทำให้เกิดประโยชน์ด้านการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพราะถือว่ากาแฟเป็นสินค้าเศรษฐกิจ และสามารถพัฒนาให้เป็นกาแฟพิเศษ ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มในผลิตภัณฑ์กาแฟมากขึ้น และส่วนสำคัญคือกาแฟเปรียบเสมือนพื้นที่ที่มีส่วนช่วยเรื่องของระบบนิเวศน์ของป่า เพราะกาแฟจะเติบโตได้ดีคือต้องเติบโตภายใต้ร่วมเงาของต้นไม้ใหญ่ ดังนั้นกาแฟจึงถือว่าเป็นพืชที่ให้ประโยชน์ครอบคลุมในทุกด้าน

นางพัชรี ใบยา อุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า การจัดกิจกรรมในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของในโครงการพัฒนาศูนย์กลาง อุตสาหกรรมและธุรกิจกาแฟในภูมิภาค ระยะที่ 2 ( Lanna Coffee Hub Phase II ) กิจกรรมพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์กาแฟคุณภาพล้านนา ( Lanna Premium Coffee Development ) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้าง มูลค่าเพิ่มให้กับอุตสาหกรรมกาแฟ และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวเนื่อง ให้มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น รวมถึงยกระดับอุตสาหกรรมกาแฟ สินค้าเกษตร อาหาร และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวเนื่อง ให้สอดคล้องกับความต้องการและเป็นที่ยอมรับของตลาดเป้าหมาย และยังเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ ผ่านการผลิตกาแฟชั้นคุณภาพตลอดห่วงโซ่ ไปจนถึง การยกระดับการจัดงานแสดงและจําหน่ายสินค้า เพิ่มช่องทางการตลาดให้กับ ผู้ประกอบการหลังจากวิกฤติ Covid – 19

โดยการจัดกิจกรรมทดสอบตลาดนี้ เป็นกิจกรรมสุดท้ายของโครงการฯ ซึ่งก่อนหน้านี้ได้มีกิจกรรมการฝึกอบรม ระหว่างวันที่ 4 – 25 เมษายน 2566 และกิจกรรมอบรมบ่มเพาะระหว่างวันที่ 31 พฤษภาคม ถึง 10 มิถุนายน 2566 โดยมีผู้เข้าสมัครร่วมกิจกรรมจาก ทั้ง 4 จังหวัด ในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 จํานวน 60 ราย และ คัดเลือกเข้าสู่การบ่มเพาะ 40 ราย เพื่อเข้าสู่การพัฒนาคุณภาพด้านผลิตภัณฑ์ และบริการด้านกาแฟ ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ถึงจะได้รับสิทธิ์ในการ เข้าร่วมงานแสดงสินค้า และ Business Matching ในงาน Lanna Expo 2023

ทั้งนี้ในกิจกรรมทดสอบตลาดนี้จะมีกิจกรรมการแข่งขันด้านรสชาติของกาแฟ จํานวน 2 กิจกรรม คือ การแข่งขัน “ กาแฟอัตลักษณ์ล้านนา” และ “เอสเย็น Only Thailand ใครจะเป็นตัวตึง” และกิจกรรมสาธิตเมนูกาแฟต่างๆ พร้อมการ เสวนาในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับกาแฟ และกิจกรรมการการดูแลรักษ์ผืนป่า เพื่อเป็น ปอดให้กับสังคมต่อไป

นายจักริน วังวิวัฒน์ ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า ภาคเหนือได้รับการคัดเลือกเป็นจังหวัดนําร่องให้ดําเนินโครงการ Thailand Food Valley และเป็นที่น่าชื่นชมที่ภาครัฐและเอกชน ในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งประกอบด้วยสภาอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่
สํานักงานอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ รวมถึง สถาบันการศึกษาในพื้นที่ ได้บูรณาการความ ร่วมมือกัน จนเกิดกิจกรรมดีๆ ในการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการกลุ่มอุตสาหกรรม อาหารและเกษตรแปรรูปภายใต้โครงการ Northern Food Valley มาอย่างต่อเนื่อง

สําหรับโครงการพัฒนาศูนย์กลางอุตสาหกรรมและธุรกิจกาแฟในภูมิภาค ระยะที่ 2 ( Lanna Coffee Hub Phase II ) กิจกรรมพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์กาแฟ คุณภาพล้านนา (Lanna Premium Coffee Development ) ซึ่งดําเนินการโดย สํานักงานอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ ลําพูน ลําปาง และแม่ฮ่องสอน เป็นอีกกิจกรรม ที่สําคัญที่จะช่วยยกระดับอุตสาหกรรมกาแฟ สินค้าเกษตร อาหาร และผลิตภัณฑ์ที่ เกี่ยวเนื่องให้สอดคล้องกับความต้องการและเป็นที่ยอมรับของตลาดเป้าหมาย และยัง เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพิ่มช่องทางการตลาดให้กับผู้ประกอบการหลังจากวิกฤติ Covid – 19 คลี่คลาย

การบูรณาการความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐและ เอกชน ของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 จะช่วยให้โครงการ Northern Food Valley ของจังหวัดเชียงใหม่และกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 ขับเคลื่อนไปได้อย่าง ยั่งยืน เกิดประโยชน์กับผู้ประกอบการตั้งแต่ระดับต้นน้ํา กลางน้ํา ปลายน้ํา ในการ พัฒนาขีดความสามารถทางแข่งขัน โดยการได้รับองค์ความรู้ที่สามารถนําไปต่อยอด และพัฒนาสินค้าตนเองให้เป็นที่ยอมรับยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันยังก่อให้เกิดความ ร่วมมือในรูปแบบของเครือข่ายธุรกิจที่จะช่วยสร้างความมั่นคงกับภาคอุตสาหกรรม เกษตรในภูมิภาคต่อไป

 

วิภาดา/เชียงใหม่

ข่าวที่น่าติดตาม