23/11/2024

เชียงใหม่-เปิดโครงการบูรณาการเครือข่ายความร่วมมือจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัดและการเลือกสมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติ ภาคเหนือ

เชียงใหม่-เปิดโครงการบูรณาการเครือข่ายความร่วมมือจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัดและการเลือกสมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติ ภาคเหนือ

วันที่ 13 กันยายน 2566 เวลา 9.00 น นายนัยฤทธิ์ จําเล ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ การบูรณาการเครือข่ายความร่วมมือจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัดและการเลือกสมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติ ภายใต้แผนงาน : การจัดการการเลือกตั้งสมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัดและการเลือกสมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติ ปี 2566 กิจกรรม : การถอดบทเรียนการเลือกตั้งสมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัดและการเลือกสมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติ เพื่อเดินหน้าสู่ความยั่งยืน ภายใต้บริบทบทบาทสภาเกษตรกรแห่งชาติ กรณี : ภาคเหนือ (ครั้งที่ 3) ระหว่างวันที่ 12-14 กันยายน 2566 ณ โรงแรมเชียงใหม่ออร์คิด อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

โดยมีร้อยเอกอุบล พุทธิรักษ์ เป็นรองประธานสภาเกษตรแห่งชาติคนที่ 1 นายวันสาทร ศรีสุวรรณ รองประธาน สภาเกษตรกรแห่งชาติคนที่ 2 นายรัตนะ สวามีชัย เลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ ผู้บริหาร ประธานสภาเกษตรกรเกษตรกรจังหวัด และสมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัด ทั้ง 17 จังหวัดภาคเหนือ และผู้มีเกียรติร่วมพิธีเปิดงาน มีนายวิทยา นาระต๊ะ ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวต้อนรับ

นายรัตนะ สวามีชัย เลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวว่า การจัดโครงการ การบูรณาการเครือข่ายความร่วมมือจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัดและการเลือกสมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติ ภายใต้แผนงาน : การจัดการการเลือกตั้งสมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัดและการเลือกสมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติ ปี 2566 กิจกรรม : การถอดบทเรียนการเลือกตั้งสมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัดและการเลือกสมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติ เพื่อเดินหน้าสู่ความยั่งยืน ภายใต้บริบทบทบาทสภาเกษตรกรแห่งชาติ กรณี : ภาคเหนือ (ครั้งที่ 3) มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการสรุปบทเรียนการเลือกตั้งสมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัดและการเลือกสมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติ

สำหรับนำไปปรับปรุงและพัฒนา แนวทางการจัดการการเลือกตั้งในครั้งถัดไป ซึ่งสำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติจะต้องดำเนินการทุกสี่ปี และเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการจัดทำรายงานผลการดำเนินการจัดการการเลือกตั้งฯ ปี 2566 ต่อหน่วยงาน ได้แก่ นายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี สำนักงบประมาณ และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งเพื่อเป็นการทบทวน และสร้างการรับรู้ในบทบาทอำนาจหน้าที่ ของสภาเกษตรกรจังหวัดและสภาเกษตรกรแห่งชาติ ไปสู่การทำหน้าที่ของสมาชิกตามที่กำหนดในพระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติ พ.ศ. 2553 ต่อไป

โดยผู้เข้าร่วมโครงการประกอบด้วย สมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัด สมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติ ประเภทตัวแทนองค์กรเกษตรกร สมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติ ประเภทผู้ทรงคุณวุฒิ หัวหน้าสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัด พนักงานระดับหัวหน้าส่วนหรือหัวหน้าฝ่าย สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัด ผู้บริหารและผู้อำนวยการกอง สำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ผู้บริหารสภาเกษตรกรแห่งชาติ ส่วนราชการเครือข่ายที่ช่วยเหลือสนับสนุนการจัดการการเลือกตั้ง และเกษตรกรเครือข่ายในจังหวัดที่เป็นสถานที่จัดโครงการครั้งนี้

นอกนี้ยังมีการบรรยายพิเศษเกี่ยวกับแนวทางการขับเคลื่อนงานของสภาเกษตรกรแห่งชาติให้ยังเพื่อประโยชน์ของเกษตรกรอย่างแท้จริง การเสวนา และการอภิปรายแสดงความคิดเห็นจากรองประธานสภาเกษตรรแห่งชาติ ประธานสภาเกษตรกรจังหวัด สมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติประเภทตัวแทนองค์กรเกษตรกร ประเภทผู้ทรงคุณวุฒิ และการบรรยายจากอดีตเลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ รวมทั้งมีการแบ่งกลุ่มระดมความคิดเห็นการสรุปผลและการเสนอแนะอีกด้วย

นายนัยฤทธิ์ จำเล ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวว่า กิจกรรมการถอดบทเรียนการเลือกตั้ง เพื่อเดินหน้าสู่ความยั่งยืน ภายใต้บริบทบทบาทสภาเกษตรกรแห่งชาติ โครงการในครั้งนี้ การถอดบทเรียนในการจัดการ การเลือกตั้งสมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัด และการเลือกสมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติ นับว่าเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่ง เนื่องจากฝ่ายสำนักงานจะต้องมีการดำเนินการเพื่อจัดการเลือกตั้งเช่นนี้ทุกสี่ปี ตามวาระของสมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัดและสมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติ และจากการดำเนินการในปีนี้ กว่าจะได้สมาชิกครบถ้วนในระดับสภาเกษตรกรจังหวัดจำนวน 1,733 คน ในระดับสภาเกษตรกรแห่งชาติจำนวน 100 คน มีขั้นตอนและระยะเวลาค่อนข้างยาวนาน ดังนั้น พวกเราจึงจำเป็นต้องร่วมกันถอดบทเรียน เพื่อนำมาพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเลือกตั้งในครั้งต่อไป

รวมถึง การจัดทำรายงานผลการใช้จ่ายเงินงบประมาณ งบกลาง ที่นำมาใช้จ่ายเพื่อจัดการเลือกตั้งก็มีความสำคัญอย่างมากเช่นกัน เพราะจะต้องรายงานนายกรัฐมนตรีรายงานคณะรัฐมนตรี รายงานสำนักงบประมาณ และหน่วยอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เห็นว่าการใช้จ่ายเงินงบประมาณป็นไปอย่างคุ้มค่า เกิดประโยชน์อย่างยิ่งต่อเกษตรกรและภาคเกษตรกรรม


ประเด็นสุดท้าย เมื่อพวกเราเข้ามาทำหน้าที่เป็นตัวแทนของเกษตรกรแล้ว จะทำอย่างไรเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาภาคเกษตรกรรม ให้มีความเข้มแข็ง เพื่อประโยชน์ของเกษตรกรอย่างแท้จริง พวกเราจำเป็นที่จะต้องร่วมกันวางแผน รวมกันถอดบทเรียน และวางแผนการทำงานของพวกเราในอีก 4 ปีต่อไปนี้ ซึ่งเมื่อดำเนินโครงการครบทั้งสี่ภาคเราก็จะได้ทิศทางการทำงานในระดับหนึ่ง พร้อมทั้งมีแนวทางในการพัฒนาเพื่อการจัดการเลือกตั้งในอนาคต

พัฒนชัย/เชียงใหม่

ข่าวที่น่าติดตาม