“ จริงจัง แก้ไขปัญหา เพื่อประชาชน ”กองทัพภาคที่ 3 จัดประชุมบูรณาการขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละออง 17 จังหวัดภาคเหนือ ประจำปี 2567
“ จริงจัง แก้ไขปัญหา เพื่อประชาชน ”กองทัพภาคที่ 3 จัดประชุมบูรณาการขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละออง 17 จังหวัดภาคเหนือ ประจำปี 2567
เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2566 พลโท ประสาน แสงศิริรักษ์ แม่ทัพภาคที่ 3/ ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 3 /ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการดับไฟป่า ภาค 3 เป็นประธานการประชุมบูรณาการขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็กในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ ประจำปี 2567 เพื่อเตรียมการรองรับสถานการณ์ไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ประจำปี 2567 ณ ห้องประชุมคชรัตน์ 1 กองบัญชาการกองทัพภาคที่ 3 ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช จังหวัดพิษณุโลก มีหน่วยงานเข้าร่วมประชุม ได้แก่ หน่วยขึ้นตรงกองทัพภาคที่ 3ิ, กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัด 17 จังหวัดภาคเหนือ ,
กองทัพอากาศ , กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, กรมควบคุมมลพิษ, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ,กรมฝนหลวงและการบินเกษตร, สำนักเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน), ตำรวจภูธรภาค 5 และ ภาค 6, ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัสและอากาศยาน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, สำนักงานจัดการทรัพยากรป่าไม้, สำนักงานบริหารพื้นที่อนุรักษ์, สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด/สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด และสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ
สำหรับการประชุมได้แนวทางการเตรียมแผนปฏิบัติการระดับจังหวัดและ กองทัพภาคที่ 3 /กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 3 เสนอแผนการจัด ชป.ลว.ชุดปฏิบัติการลาดตระเวนร่วม จำนวน 69 ชุดปฏิบัติการ สนับสนุนให้กับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ตามนโยบายของรัฐบาลในสร้างการรับรู้ การลาดตระเวน ตรึงกำลัง ในพื้นที่ 9 ป่าแปลงใหญ่เผาไหม้ซ้ำซาก
ด้าน ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพอากาศ และหน่วยเกี่ยวข้อง วางแผนการดำเนินงานตั้งแต่ห้วงก่อนเกิดสถานกาณ์วิกฤต โดยเริ่มติดตามสถานการณ์ ประสานการปฏิบัติกับภาคีเครือข่าย และตรวจสอบความพร้อมของหน่วยปฏิบัติตั้งแต่เดือน ตุลาคม ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2566 ที่ผ่านมา ศูนยุทธการทางอวกาศ / ได้ทำการวิเคราะห์จุดความร้อนที่มีโอกาส เกิดไฟไหม้ ส่งให้ ศูนย์ปฏิบัติการดับไฟป่า กองทัพภาคที่ 3 และ กรมยุทธการทหารอากาศ / วางแผนการฝึกบินควบคุมไฟป่า กองทัพอากาศ ประจำปี 2567 ในเดือน ธันวาคม โดยใช้พื้นที่ จังหวัดเชียงใหม่ และเชียงราย เป็นพื้นที่การฝึก
ในเดือนมกราคม 2567 ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพอากาศ วางแผนพิจารณาในการส่งอากาศยาน ในการบินกระจายเสียงเพื่อรณรงค์ สร้างการรับรู้และเข้าใจ ในการไม่เผาป่า ให้กับประชาชนในพื้นที่ที่ยากแก่การเข้าถึง และยากแก่การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ส่วน เดือน กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม เป็นห้วงที่สถานการณ์รุนแรงที่สุด ในห้วงนี้จะพิจาณาในการส่งอากาศยานประเภท sensor shooter ตามระดับสถานการณ์ และตามที่ได้รับการประสานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการสนับสนุนภารกิจ และ ตั้งแต่เดือน มิถุนายน เป็นต้นไป เป็นห้วงที่สถานการณ์ในภาคเหนือคลี่คลายลง ในห้วงนี้ จะเป็นห้วงของการสรุปผลการปฏิบัติ และปรับปรุงแผนการปฏิบัติการ
ด้านการใช้อากาศยาน ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพอากาศ ได้ประยุกต์ใช้ ขีคความสามารถของกองทัพอากาศ สำหรับภารกิจ ดังนี้
1. การบินกระจายเสียง รณรงค์ สร้างการรับรู้และเข้าใจ ในการไม่เผาป่า ให้กับประชาชนในพื้นที่ที่ยาก แก่การเข้าถึง รับรู้ข้อมูลข่าวสาร โดย อากาศยานแบบ AU-23
2. การบินเพื่อลาดตระเวนค้นหาพื้นที่ไฟป่า โดย อากาศยานแบบ AU-23, อากาศยานแบบ DA-42 และอากาศยานไร้คนขับแบบ Aerostar BP
3. การบินควบคุมไฟป่าโดย BT-67 ที่ติดตั้ง Fire Guardian Tank สามารถบรรทุกน้ำได้ 3000 ลิตรต่อ 1 ครั้ง และ C-130 บรรทุกอุปกรณ์ PCADS โดยบรรทุกได้มากสุด 10 ลูกต่อ 1 ครั้ง, โดย PCADS 1 ลูกบรรจุน้ำผสมสารยับยั้งไฟป่า จำนวน 1000 ลิตร ในการบินควบคุมไฟป่านั้น จะใช้พิจารณาอากาศยานและอุปกรณ์ ตามลักษณะภูมิประเทศและพื้นที่เป้าหมาย / เพื่อสร้างแนวกันไฟ ไม่ให้ลุกลามไปยังพื้นที่ที่กำหนด
4. การบินลำเลียงทางอากาศ เพื่อขนส่งกำลังพล และยุทโธปกรณ์ให้กับหน่วยงานที่ร่วมปฏิบัติภารกิจ และการบินส่งกลับสายแพทย์ทางอากาศ ในกรณีมีผู้ปฏิบัติงานได้รับบาดเจ็บรุนแรง และต้องการการรักษาอย่างเร่งด่วน โดย อากาศยานแบบ C-130 และ เฮลิคอปเตอร์แบบ EC-725
และ 5. การบินค้นหาและช่วยชีวิต ในกรณีหน่วยดับไฟป่าภาคพื้นติดกับดักของไฟ หรือ หลงป่า
โดย เฮลิคอปเตอร์แบบ EC-725
นอกจากนี้ ยังได้ประยุกต์ใช้ขีดความสามารถของหน่วยภาคพื้น เพื่อประกอบกำลังและสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยบิน เช่น 1. ชุดวางแผนร่วม ทำหน้าที่ประสานการปฏิบัติกับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อแบ่งพื้นที่ปฏิบัติงาน กำหนดวงรอบปฏิบัติงาน และวางแผนการปฏิบัติ ร่วมกัน
2. ชุดแปลความภาพถ่าย จะนำภาพถ่ายทางอากาศที่บินค้นหาพื้นที่ไฟป่า วิเคราะห์ขนาดความรุนแรง ทิศทาง และจัดลำดับความสำคัญ และส่งให้กับหน่วยเกี่ยวข้อง เพื่อจัดการกับพื้นที่ไฟป่า
3. ชุดควบคุมห้วงอากาศ เพื่อ monitor และแนะนำการปฏิบัติให้กับอากาศยานจากหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติภารกิจ และ 4. ชุดวิเคราะห์จุดความร้อน จะนำภาพถ่าย Hotspot จากดาวเทียม มาวิเคราะห์และคัดกรองอีกครั้งหนึ่ง เพื่อกำหนดพื้นที่ที่คาดว่าจะเกิดไฟป่า