23/11/2024

ชลบุรี-งานนมัสการ ปิดทอง แห่ สรงน้ำ องค์หลวงพ่อติ้ว วัดหัวถนนประจำปี พุทธศักราช 2567 จัดงานอย่างยิ่งใหญ่

ชลบุรี-งานนมัสการ ปิดทอง แห่ สรงน้ำ องค์หลวงพ่อติ้ว วัดหัวถนนประจำปี พุทธศักราช 2567 จัดงานอย่างยิ่งใหญ่

 

ผู้สื่อข่าวรายงาน ผ่านไปอย่างยิ่งใหญ่ งานนมัสการ ปิดทอง แห่ สรงน้ำ องค์หลวงพ่อติ้ว ประจำปี พุทธศักราช 2567
โดยงานจัดขึ้นในวันที่ 15-19 เมษายน 2567 ที่ผ่านมา ณ วัดหัวถนน อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี ชุมชนลาวโบราณแห่งนี้ เป็นชุมชน ที่มีความรัก ความสามัคคี ซึ่งมี 3 เชื้อชาติ มี ไทย จีน ลาว ที่อยู่ในชุมชนหัวถนนแห่งนี้ การสืบสานศิลปะ วัฒนธรรม มาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะงานแห่องค์หลวงพ่อติ้วที่สืบทอดและรักษามาร่วม 200 กว่าปี ถือเป็นซอฟพาวเวอร์อีกหนึ่งกิจกรรมที่ทางรัฐบาลขับเคลื่อนอยู่ในขณะนี้

โดยงานแห่องค์หลวงพ่อติ้ว จัดขึ้นในวันที่ 19 เมษายน 2567 วันที่อัญเชิญองค์หลวงพ่อติ้วลงจากวิหาร โดย พระครูบุญญาวรคุณ เจ้าคณะตำบลสระสี่เหลี่ยม เจ้าอาวาสวัดหัวถนน และพระภิกษุสงฆ์ร่วมอัญเชิญหลวงพ่อติ้วลงจากวิหาร เพื่อขึ้นราชรถออกแห่ไปตามหมู่บ้าน ระยะทาง 10 กว่ากิโลเมตร โดยมีคลื่นพุทธศาสนิกชน ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น ประชาชน ร่วมงานหลายพันคน ที่มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสืบสานศิลปะวัฒนธรรม ชุมชนลาวโบราณ ชุมชนหัวถนน กว่า 200 ปี พร้อมสงฆ์น้ำองค์หลวงพ่อติ้ว โดยก่อนที่จะอัญเชิญองค์หลวงพ่อติ้วลงจากวิหารเกิดลมและฝนตก ในขณะแดดจ้า และ เมฆบดบังขณะนำองค์ท่านออกแห่ จนนำท่านมาสงฆ์น้ำ แสงแดดจึงออกปกติ สร้างความประหลาดใจและศรัทธาแก่ผู้ร่วมงานเป็นอย่างมาก

โดย พระครูบุญญาวรคุณ เจ้าคณะตำบลสระสี่เหลี่ยม เจ้าอาวาสวัดหัวถนน อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี กล่าวว่า สถานการณ์ของงานเรียบร้อยดีเรียบร้อยดีไม่มีเหตุอะไรที่ต้องกังวลชุมชนหัวถนนมีความรักความสามัคคีกันจากต่างที่ต่างถิ่นมาดูประเพณีบ้านเราตั้งแต่เริ่มวันเปิดงานก็ราบรื่นดี ดินฟ้าอากาศก็เป็นใจวันเปิดก็ไม่ร้อนมากอากาศก่อนเปิดซึ่งอากาศก่อนเปิดร้อนพอถึงใกล้เวลาเย็น งานแต่ละปีนับตั้งแต่อาตมารับตำแหน่งเจ้าอาวาสมา เริ่มตั้งแต่ปีพ.ศ. 2558 จัดในนามของ รักษาการ 2559 มาเรียบร้อยดี เรียบร้อยมาตลอดการทะเลาะวิวาทเหมือนอย่างสมัยก่อน ก็ไม่มีดีขึ้นเยอะมากเลย เมื่อก่อนนี้

ก่อนจะถึงวันแห่คณะกรรมการต้องไปเคลียร์คนทะเลาะวิวาทกัน เดี๋ยวนี้เห็นได้ชัดเจนว่าเอาความสนุกสนานความรื่นเริงแฝงด้วยจารีตประเพณีเก่ากัน ปะแป้งไม่มีการล่วงละเมิด เหมือนอย่างก่อน ทะเลาะกันเพราะเหตุนี้ อีกส่วนหนึ่งก็เกิดความทะเลาะวิวาทด้วยการบาดหมางกันแล้วจากที่อื่น แล้วงานวัดหัวถนนถือว่าเป็นงานสุดท้ายส่งท้ายของชุมชน หัวถนน ที่ถามว่าราบรื่นดีมั๊ย ราบรื่นดีโดยภาพรวมแล้วดีมาก ก็ต้องสืบต่อไปเรื่อยเรื่อยเป็นเรื่องของชุมชนรุ่นต่อรุ่นก็บอกว่าถ้าอยากจะไม่ให้มันศูนย์หายไม่ได้อยู่ที่เจ้าเอาวาส เจ้าอาวาสจะรณรงค์ฝ่ายเดียวไม่ได้ถ้าชาวบ้านไม่ให้การสนับสนุนผู้นำท้องที่ผู้นำท้องถิ่นร่ไม่ร่วมมือมันก็ไปลำบากเพราะเดี๋ยวนี้การบริหารการปกครองมันอยู่ที่ผู้นำท้องที่ผู้นำท้องถิ่นเป็นส่วนใหญ่แต่ก็จะเห็นได้ว่า

ผู้นำท้องที่ผู้นำท้องถิ่นของตำบลหัวถนนเหล่านี้แต่งตัวเครื่องแบบชุดสีกากีมาทุกปี อันนี้ก็แสดงออกถึงความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของชุมชน ซึ่งก็คาดหวังว่า เมื่อสามส่วนบ้าน วัด แล้วก็ได้รับการสนับสนุนด้วยดีจากโรงเรียนจากสามส่วนนี้มีความเป็นปึกแผ่นแน่นแฟ้นจารีตประเพณีงานอะไรที่มันเกี่ยวกับชุมชนก็จะไปรอด แต่จะบอกว่าอีก กี่ 10 ปี บอกไม่ได้แปลว่าอาจจะเปลี่ยนรูปแบบก็อาจจะเปลี่ยนไปตามยุคตามสมัยเหมือนยังการแห่ก็ยังเปลี่ยนแล้วนะ ตอนนี้จากไปตามท้องนารอบหมู่บ้านจริงๆก็เป็นเข้าหมู่บ้านเลยทีนี้เป็นการตกลงกันของผู้นำชุมชนนี่คือลักษณะของความเป็นการร่วมกันรักษาจารีตประเพณี ศิลปวัฒนธรรม ของชุมชนหัวถนน พระครูบุญญาวรคุณ เจ้าคณะตำบลสระสี่เหลี่ยม เจ้าอาวาสวัดหัวถนน อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี กล่าวทิ้งท้าย
…….

ข่าวที่น่าติดตาม