“ชฎาพร” รอง ผอ.สพป.สงขลา 2 นำทีม ปูพรมสแกน นร.หลุดระบบ เข้าสู่ชั้นเรียน ตามนโยบายรัฐ
![q4_0](https://4forcenews.com/wp-content/uploads/2025/02/q4_0-1.jpg)
“ชฎาพร” รอง ผอ.สพป.สงขลา 2 นำทีม ปูพรมสแกน นร.หลุดระบบ เข้าสู่ชั้นเรียน ตามนโยบายรัฐ
วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568 นางกอบขวัญ แดงบำรุง ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2 มอบหมายนางสาวชฎาพร เสนเผือก รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2 เป็นประธานในการประชุมติดตามเด็กตกหล่นและเด็กออกกลางคันให้นำกลับเข้าสู่ระบบการศึกษา โครงการพาน้องกลับมาเรียน นำการเรียนไปให้น้อง ณ ห้องประชุมโตนงาช้าง
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2 ประกอบด้วย อำเภอหาดใหญ่ อำเภอบางกล่ำ อำเภอรัตภูมิ มีนักเรียนตกหล่น (เด็กในวัยการศึกษาภาคบังคับที่ยังไม่เข้าเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน) จำนวน 6,976 คน นักเรียนออกกลางคัน (มีรายงานการออกกลางคัน เคยมีชื่อในระบบของโรงเรียนแต่หายไปโดยไม่ทราบสาเหตุ) จำนวน 280 คน
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2 ร่วมกับสถานศึกษาในสังกัดได้ดำเนินการติดตาม ค้นหา เด็กทั้งสองกลุ่ม เพื่อให้กลับเข้าระบบการศึกษา ส่วนสาเหตุของการไม่เข้าศึกษาในระบบสาเหตุหลัก ต้องช่วยงานบ้าน ช่วยผู้ปกครอง ย้ายถิ่นฐานตามผู้ปกครอง หาบ้านไม่พบ ไม่มีข้อมูล ไม่ยินดีให้ข้อมูล ไม่พบตัว ผู้ปกครองไม่เห็นคุณค่าของการศึกษาเป็นต้น
ซึ่งขณะนี้ ( ที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568 ) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2 ดำเนินการค้นหา ติดตาม 1.เด็กตกหล่น 81.26 % 2.เด็กออกกลางคัน 86.07 % ขณะนี้กำลังเร่งรัดติดตาม เด็กตกหล่น เด็กออกกลางคัน เพื่อให้ครบ 100 % ภายในสัปดาห์นี้ ส่วนสาเหตุของจำนวนเด็กตกหล่นที่มีอยู่จำนวนมาก สืบเนื่องจากพื้นที่ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2 เป็นชุมชนเมือง มีความหลากหลายของผู้เข้าอยู่อาศัย ประชากรจำนวนมากและมีหน่วยงานการศึกษาซึ่งทับซ้อนกันในเชิงพื้นที่ จึงเป็นสาเหตุมีเด็กตกหล่นจำนวนมาก และค่อนข้างยุ่งยากในการติดตาม
ล่าสุด นางสาวชฎาพร เสนเผือก รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลาเขต 2 นำคณะกรรมการฯลงพื้นที่เขตบริการสถานศึกษาในเครือข่าย เพื่อเข้าพบผู้ปกครอง นักเรียน พูดคุยพบปะ ปัญหา ข้อกำจัดการส่งบุตรหลานเข้าเรียนในชั้นเรียน ระบบการศึกษาโดยสำนักงานเขตพื้นที่ สถานศึกษา ครูลงพื้นที่เข้าถึงบ้านนักเรียนจะรับเข้าสู่ระบบให้ความรู้ ประสบการณ์การจัดการเรียนรู้ การพัฒนาคุณภาพการศึกษา การเสมอภาคทางการศึกษา
ซึ่งการใช้การศึกษาในการพัฒนาประชากรในพื้นที่เป็นแนวทางที่สำคัญยิ่งที่เด็กและเยาวชนจะได้รับการพัฒนาในระดับขั้นพื้นฐานที่รัฐจัดให้ฟรี และสามารถนำการพัฒนาดังกล่าวไปพัฒนาคุณภาพชีวิตประจำวันต่อไป
นางสาวชฎาพรย้ำ การดำเนินการดังกล่าวเป็นการเร่งรัดติดตามเด็กออกกลางคัน และเด็กตกหล่นกลับเข้าสู่ชั้นเรียนระบบการศึกษาเรียนดีมีความสุข