05/02/2025

เพชรบูรณ์   กรมทางหลวง สรุปผลปรับปรุงถนน ช่วง อ.หล่มเก่า-อ.เมืองเลย ขยาย 4 ช่องจราจร รองรับการจราจรที่เพิ่มขึ้นในอนาคต

S__5537808
เพชรบูรณ์   กรมทางหลวง สรุปผลปรับปรุงถนน ช่วง อ.หล่มเก่า-อ.เมืองเลย ขยาย 4 ช่องจราจร รองรับการจราจรที่เพิ่มขึ้นในอนาคต
วันนี้ (5 กุมภาพันธ์ 2568) เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุมโรงเรียนเมืองราดวิทยาคม อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ กรมทางหลวงได้จัดการประชุมสรุปผลการศึกษาโครงการ (สัมมนา ครั้งที่ 3) โครงการจ้างวิศวกรที่ปรึกษาสำรวจและออกแบบทางหลวง 4 ช่องจราจร บนทางหลวงหมายเลข 21 สาย อ.หล่มเก่า-เลย เพื่อนำเสนอสรุปผลการศึกษาด้านวิศวกรรม มาตรการป้องกัน และแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการ ผลการดำเนินงานการมีส่วนร่วมของประชาชนให้กลุ่มเป้าหมายได้รับทราบ พร้อมทั้งเปิดให้มีการรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน เพื่อนำไปประกอบการปรับปรุงรายละเอียดการออกแบบโครงการ และกำหนดมาตรการป้องกัน และแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการให้มีความเหมาะสมต่อไป โดยได้รับเกียรติจาก นายกองตรี พรพงษ์ ไหมแพง ชาญชัยภัครธากูร นายอำเภอหล่มเก่า เป็นประธานเปิดการประชุม และมีผู้แทนจากหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรธุรกิจเอกชน และภาคประชาชน เข้าร่วมการประชุม
การจัดประชุมในครั้งนี้ บริษัทที่ปรึกษาโครงการ ได้นำเสนอสรุปผลการศึกษาโครงการ โดยมีรายละเอียดต่างๆ ดังนี้ สำหรับพื้นที่ศึกษาโครงการตามแนวทางหลวงหมายเลข 21 อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ – อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย แบ่งพื้นที่ศึกษาออกเป็น 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงที่ 1 มีจุดเริ่มต้นประมาณ กม.293+820 และจุดสิ้นสุดประมาณ กม.354+200 ระยะทาง 60.380 กิโลเมตร ช่วงที่ 2 มีจุดเริ่มต้นประมาณ กม.380+125 และจุดสิ้นสุดประมาณ กม.405+650 ระยะทาง 25.525 กิโลเมตร รวมทั้ง 2 ช่วงมีระยะทางประมาณ 85.905 กิโลเมตร โดยแนวเส้นทางโครงการครอบคลุมในพื้นที่ 2 จังหวัด 4 อำเภอ 9 ตำบล ได้แก่ จังหวัดเพชรบูรณ์ อำเภอหล่มเก่า ตำบลนาซำ จังหวัดเลย อำเภอด่านซ้าย ตำบลโพนสูง ตำบล
ด่านซ้าย ตำบลโป่ง และตำบลโคกงาม อำเภอภูเรือ ตำบลสานตม ตำบลร่องจิก อำเภอเมืองเลย ตำบลน้ำหมาน ตำบลเสี้ยว
สำหรับรูปแบบถนนโครงการที่เหมาะสม สามารถจำแนกตามลักษณะทางด้านกายภาพของสภาพภูมิประเทศตามแนวเส้นโครงการซึ่งสรุปได้ 3 พื้นที่ ดังนี้
1.พื้นที่ราบ แบ่งเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบทางหลวง 4 ช่องจราจร เกาะกลางถมดินปูแผ่นคอนกรีต (Raised Median) ดำเนินการในบริเวณดังนี้ ช่วงที่ 1 กม.294+000 – 300+500 พื้นที่ราบเกษตรกรรม  กม.305+000-307+400 ชุมชนบ้านน้ำพุง กม.312+800 – 315+000 ชุมชนบ้านกกจำปา กม.320+900-323+500 ชุมชนบ้านโป่งชี รวมระยะทาง 13.700 กม. และรูปแบบทางหลวง 4 ช่องจราจร เกาะกลางถมดินปลูกหญ้า (Raised Median) ดำเนินการในบริเวณดังนี้ ช่วงที่ 1 กม.335+600 – 338+000 ชุมชนบ้านโพนสูง กม.338+000 – 342+500 ชุมชนบ้านหนองอุมลัว กม.342+500 – 352+857 ชุมชน ต.โคกงาม ช่วงที่ 2 กม.379+615 – 382+400 ชุมชนบ้านโนนสมบูรณ์ กม.391+850 – 394+100 ชุมชนบ้านภูสวรรค์ กม.397+900 – 399+300 แยกห้วยกระทิง กม.400+650 -406+655 ชุมชนบ้านเสี้ยวใต้  บ้านกอไร่ใหญ่ รวมระยะทาง 29.697 กม.
2.พื้นที่ภูเขา รูปแบบทางหลวง 4 ช่องจราจร เกาะกลางแท่งคอนกรีต (Berrier Median) ดำเนินการในบริเวณดังนี้ ช่วงที่ 1 กม.303+400 – 305+000 บริเวณร้านก๋วยเตี๋ยวชมทุ่ง ถึง ร้านก๋วยเตี๋ยวห้อยขา กม.307+400 – 312+800 บริเวณร้านครัวเข็มทอง ถึงทางเข้า รพสต.บ้านกกจำปา กม.315+100 – 317+400 สวนขุนเขา ถึง แยกทางไปบ้านทุ่งน้ำใส กม.318-600 – 320+900 วัดเครือหงษ์ ถึงร้านธงฟ้าฟ้าใส กม.323+550 – 335+600 บริเวณร้านศิริธิดาการยาง ถึง บ้านโพนสูง ช่วงที่ 2 กม.382+400 – 391+850 ที่พักสงฆ์ป่าทองวิเศษ ถึงน้ำดื่มภูสวรรค์ กม.394+100 – 395+150 เขตบ้านภูสวรรค์ ถึง เขตบ้านโพนป่าแดง รวมระยะทาง 34.150 กม.
3.พื้นที่ย่านชุมชนตามไหล่เขา รูปแบบทางหลวงขนาด 4 ช่องจราจร แยกคันทางต่างระดับ ดำเนินการในบริเวณดังนี้ ช่วงที่ 1 กม.302+075 – 303+400 ชุมชนบ้านกกกะบาก บ้านวังกุ่ม กม.317+750 – 318+600 ชุมชนบ้านโป่ง ช่วงที่ 2 กม.396+100 – 397+750 ชุมชนบ้านโพนป่าแดง กม.399+300-400+650 ชุมชนบ้านเสี้ยว รวมระยะทาง 5.175 กม.
ส่วนรูปแบบจุดตัดทางแยก ได้พิจารณาเสนอรูปแบบทางแยกที่ออกแบบติดตั้งสัญญาณไฟจราจร มี 2 ตำแหน่ง ดังนี้ 1.บริเวณแยกโป่งชี (กม.321+465) โดยออกแบบปรับปรุงทางแยกให้มีสัญญาณไฟจราจร และมีช่องจราจรผ่าน
ตลอดในทางหลวงหมายเลข 21 จากอำเภอภูเรือไปจังหวัดเพชรบูรณ์
2.บริเวณแยกโคกงาม (กม.343+700) โดยออกแบบปรับปรุงทางแยกให้มีสัญญาณไฟจราจร และมีช่องจราจรผ่านตลอดในทางหลวงหมายเลข 21 จากอำเภอภูเรือไปจังหวัดเพชรบูรณ์
นอกจากนี้ มีการออกแบบเพื่อป้องกันเสถียรภาพลาดคันทางให้มีความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่บริเวณนั้นๆ
เพื่อป้องกันความเสียหายต่อลาดคันทาง โดยมีรูปแบบดังนี้ 1.รูปแบบก่อสร้างกำแพงกันดิน (Retaining Wall) เหมาะสำหรับการก่อสร้างบริเวณที่มีการถมดินไม่สูงมากนัก 2.รูปแบบก่อสร้างลาดคันทางดินเสริมกำลัง (Reinforce Soil Slope)
เหมาะสำหรับการก่อสร้างบริเวณที่มีการถมดินสูง 3.รูปแบบก่อสร้างสลักยึดหิน (Soil Nail) เหมาะสำหรับการก่อสร้างบริเวณที่มีการตัดภูเขาหรือตัดหินสูง 4.รูปแบบก่อสร้างกล่องลวดตาข่าย (Gabion) เหมาะสำหรับการก่อสร้างบริเวณใกล้ลำน้ำ
5.รูปแบบก่อสร้างระบบระบายน้ำแบบขั้นบันได (Drain Chute Reinforcement) เหมาะสำหรับการก่อสร้างบริเวณที่มีการถมไม่สูงมาก เพื่อป้องกันการชะล้างของลาดดิน 6.รูปแบบก่อสร้างระบบทางระบายน้ำ (Drain Outlet) เหมาะสำหรับการก่อสร้างบริเวณที่มีการถมค่อนข้างสูง เพื่อป้องกันการชะล้างของลาดดิน
สำหรับรูปแบบจุดกลับรถ แบ่งเป็น 2 ช่วง ได้แก่
ช่วงที่ 1 ที่ปรึกษาได้ออกแบบจุดกลับรถระดับดินในแนวสายทางไว้บริเวณหัว-ท้ายชุมชน จำนวน 17 จุด และ
จุดกลับรถใต้สะพาน จำนวน 9 จุด
ช่วงที่ 2 ที่ปรึกษาได้ออกแบบจุดกลับรถระดับดินในแนวสายทางไว้บริเวณหัว-ท้ายชุมชน จำนวน 13 จุด
ส่วนการออกแบบช่องจราจรไต่ลาดชัน (Climbing Lane) ให้รองรับบริเวณสภาพภูมิประเทศในพื้นที่โครงการที่เป็นทางขึ้นเขาลาดชันเป็นระยะทางยาวต่อเนื่อง โดยออกแบบ ช่วงที่ 1 บริเวณ กม.325+650-326+866 และ
กม.333+000 – 333+575 ช่วงที่ 2 บริเวณ กม.384+360-385+245 และ กม.389+560-390+135 เพื่อให้สามารถรักษาระดับการให้บริการของเส้นทางโครงการได้ และเนื่องจากสภาพภูมิประเทศพื้นที่โครงการเป็นทางลาดชันลงเขาเป็นระยะทางยาวต่อเนื่อง และเพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุ จึงได้ออกแบบที่หยุดรถฉุกเฉิน (Emergency Escape Ramp) บริเวณ ช่วงที่ 1 กม.326+200 และช่วงที่ 2 บริเวณ กม.385+300
ทั้งนี้ โครงการ ได้ดำเนินการศึกษาและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการพัฒนาโครงการ ครอบคลุมทุกกิจกรรมการก่อสร้าง พร้อมทั้งกำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมเพื่อลดผลกระทบต่อประชาชน ชุมชน สังคมและสิ่งแวดล้อมโดยรอบโครงการให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด
ภายหลังการสัมมนาในครั้งนี้ โครงการจะดำเนินการรวบรวมข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน นำมาพิจารณาประกอบการจัดทำรายงานสรุปผลการศึกษาโครงการให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์ และจะนำเสนอสรุปผลการศึกษาในทุกด้านให้ประชาชนได้รับทราบรายละเอียดขั้นตอนการดำเนินงานต่อไป ซึ่งกรมทางหลวงมีแผนดำเนินการก่อสร้างโดยแบ่งเป็น 2 ช่วง ดังนี้ ช่วงที่ 1 จะเริ่มก่อสร้างประมาณปี 2571 – 2574 และคาดว่าสามารถเปิดใช้บริการได้ประมาณปี 2575 ช่วงที่ 2 จะเริ่มก่อสร้างประมาณปี 2569 – 2571 และคาดว่าสามารถเปิดใช้บริการได้ประมาณปี 2572 โดยผู้สนใจสามารถติดตามความคืบหน้าและรายละเอียดของโครงการฯ ได้ 3 ช่องทาง ได้แก่ 1.เว็บไซต์ www.ทล21-หล่มเก่า-เลย.com 2.แฟนเพจเฟซบุ๊ก : ทล21-หล่มเก่า-เลย และ 3.Line Official : ทล21-หล่มเก่า-เลย (@497lrvkz)
**********************************

ข่าวที่น่าติดตาม